กระจกในที่นี้ หมายถึง กระจกเงา เป็นแก้วชนิดหนึ่ง ทำเป็นแผ่น มีปรอทเคลือบด้านหลัง ใช้ส่องดูหน้าตา กิริยาท่าทาง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของเครื่องแต่งกาย หน่วยงาน บางแห่ง นำกระจก มาติดไว้ บริเวณบันได พร้อมกับ เขียนข้อความติดไว้ว่า “ท่านแต่งกาย เรียบร้อย แล้วหรือยัง” เป็นการเตือนสติ ให้กันและกัน อย่างดี ผู้ส่องกระจก จะได้ สำรวจ ดูสิ่ง ที่ตัวเอง บกพร่อง และแก้ไข ต่อไป ข้อจำกัด ของกระจกเงา อยู่ที่เรา สามารถ ส่องดู ตัวเอง ได้อย่างสะดวกเพียงด้านหน้า ด้านเดียว เท่านั้น
ยังมีกระจก อีกชนิดหนึ่ง สามารถ ใช้ส่องดูตัวเรา ได้ทุกด้าน ทุกเวลา และส่อง ให้เห็น ถึงพฤติกรรม ของเรา ที่แสดง ออกมา ได้อย่าง ชัดเจน และเหมือนจริง มากที่สุด ทางพระ ท่านเรียก กระจกเงา ชนิดนี้ว่า ทิศ ๖ นั่นเอง กล่าวคือ ....
กระจกด้านที่ ๑ ส่องดูด้านบน ในฐานะ เป็นศาสนิกชน สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกันระหว่าง นักบวช กับคฤหัสถ์
กระจกด้านที่ ๒ ส่องดูด้านหน้า สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกัน ระหว่าง บิดามารดา กับ บุตรธิดา
กระจกด้านที่ ๓ ส่องดูด้านขวา สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกัน ระหว่าง ครูอาจารย์ กับ ศิษย์
กระจกด้านที่ ๔ ส่องดูด้านหลัง สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกัน ระหว่าง สามี กับ ภรรยา
กระจกด้านที่ ๕ ส่องดูด้านซ้าย สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกัน ระหว่าง มิตรสหาย
กระจกด้านที่ ๖ ส่องดูด้านล่าง สะท้อนภาพ ให้เห็นหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติ ต่อกัน ระหว่าง ผู้บังคับบัญชา กับ ผู้ใต้บังคับบัญชา
ส่องกระจก ดูรูปร่าง หน้าตา ภายนอก ก็นับว่า ดีอยู่แล้ว ที่ได้เห็น บุคลิก อันแท้จริง ของเรา ยิ่งถ้าได้ส่องกระจก ทั้งหกด้านบ่อย ๆ ด้วยแล้ว ก็จะได้ประโยชน์ มากยิ่งขึ้น เพราะจะช่วย สะท้อนภาพ ของเรา ให้เห็น พฤติกรรม เด่นชัดว่า “เราทำหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เรียบร้อยแล้ว หรือยัง” ติดตามนิทานธรรมะในแบบนิทานสั้นๆ ให้แง่คิดในการดำเนินชีวิตในตอนต่อไปกับ .... นิทานธรรมะบล็อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น