แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

ธรรมะสอนใจ ตอน ผู้กำกับ

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน ผู้กำกับ
   เวลาที่เราดูละครทีวี หรือชมภาพยนตร์เรื่องต่างๆ จะเห็นได้ว่าบทบาทการแสดงของดารานั้น มีอิทธิพลโน้มน้าวจิตใจของเราให้มีอารมณ์ร่วมอย่างน่าอัศจรรย์ และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของตัวละครที่แสดงนั้นก็คือ "ผู้กำกับ" เพราะผู้กำกับคือผู้กำหนดบทบาทการแสดงให้กับดาราแสดงออกมาให้สมบทบาทมากที่สุด
  ในชีวิตเราก็เช่นกัน เราต่างมีผู้กำกับที่คอยดูแลช่วยเหลือให้เราดำรงชีวิตอยู่ในบทบาทที่ดีงามตลอดเวลา ผู้กำกับที่ว่านี้ก็คือ "สติ" สติแปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ เช่น นึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำ คำพูดที่พูดไว้แล้วได้ไม่หลงลืม ระงับยับยั้งชั่งใจได้ ไม่เลินเล่อผลั้งเผลอ
   สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือ ทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ สตินั้น หากนำไปใช้กับทางโลกทั่วไป ก็ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงาน อารมณ์ก็เย็นไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจ ถ้าฝึกฝนจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์ในทางธรรมด้วย กล่าวคือ เห็นความจริงของกายกับจิต ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
   สติ คือ ผู้กำกับที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งทางโลกและทางธรรม ดังนั้น ถ้าหากประสงค์จะประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิต ก็พึงเจริญสติให้เป็นผู้กำกับของชีวิตอย่างเต็มรูปแบบเถิด เพราะ "สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา" วันนี้ท่านมอบหน้าที่ให้ผู้กำกับชีวิตของท่านได้ทำงานแค่ไหน ตัวท่านเองคือผู้ให้คำตอบ ... ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน โจรกลับใจ

ธรรมะสอนใจ

   ธรรมะสอนใจ ประจำวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ตอน โจรกลับใจ ... มีเรื่องเล่าว่า มีโจรกลุ่มหนึ่งเที่ยวปล้นผู้คนไปทั่ว โดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน วันหนึ่งได้วางแผนปล้นครอบครัวของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ระหว่างที่รอจังหวะเข้าปล้นนั้น ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก จึงพากันวิ่งไปหลบฝนที่ใต้ถุนบ้าน ระหว่างนั้นภรรยาได้ลงมาเก็บของที่ใต้ถุน และพบโจรกลุ่มนั้นเข้าพอดี เธอเข้าใจว่าเป็นคนเดินทางทั่วไปที่เข้ามาหลบฝนชั่วคราว จึงโอภาปราศัยด้วยถ้อยคำที่มีไมตรีจิต  และเชิญชวนกินข้าวเย็นด้วยกัน โจรจึงพากันขึ้นไปกินข้าวบนบ้าน และได้พบสามีของหญิงคนนั้น ซึ่งมีอัธยาศัยดีไม่แพ้กัน หลังกินข้าวเสร็จแล้ว พวกโจรก็ล้มเลิกความคิดที่จะปล้นบ้านหลังนั้น และได้บอกความจริงถึงสถานะของตน พร้อมกับขอโทษที่คิดไม่ดี พร้อมทั้งรับประกันว่า จะไม่มีใครมาทำร้ายครอบครัวสามีภรรยาคู่นี้ตั้งแต่บัดนี้ไป จากนั้นจึงลากลับโดยไม่แตะต้องทรัพย์สินแต่อย่างใด
   เรื่องนี้แม้จะเป็นเพียงเรืองเล่า ที่ในสังคมปัจจุบันอาจจะไม่มีจริง แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของน้ำใจไมตรี ที่กระทำไปโดยไม่คิดหวังผลตอบแทน แต่ทำไปเพราะเห็นแก่มนุษยธรรม สามารถทำให้แม้แต่ผู้คิดร้ายกลายเป็นมิตรได้ นอกจากน้ำใจที่แบ่งปันแล้ว คำพูดไพเราะที่เรียกว่า ปิยวาจา ก็ทำให้ผู้คิดร้ายมีจิตใจที่อ่อนโยนได้เช่นกัน รวมความว่า ทั้งน้ำใจไมตรีที่เผื่อแผ่ และคำพูดที่น่ารักนั้น เพียงสองประการนี้ บางทีก็สามารถทำให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ ได้ ในทางกลับกัน หากสามีภรรยาคู่นี้ ละเลยน้ำใจไม่ตรีและคำที่ไพเราะแล้ว โอกาสที่จะถูกทำร้ายจากพวกโจรก็เป็นไปได้สูง
   ดังนั้น ทุกคนจึงควรแสดงน้ำใจ และพูดคุยต่อกันด้วยไม่ตรีจิตให้เป็นนิสัย เพราะในทางพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องของการให้และคำพูดที่ไพเราะไว้ในหลักของสังคหวัตถุธรรม คือ หลักที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและกันไว้ได้เป็นอย่างดี แล้วเมื่อถึงเวลานั้น เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันกับเรื่อง โจรกลับใจ ดังกล่าวข้างต้น ก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ... ติดตาม #ธรรมะสอนใจ #ธรรมะก่อนนอน ได้ที่ ธรรมะสอนใจ 


ธรรมะสอนใจ ตอน เสาหลักของชีวิต

ธรรมะสอนใจ๔

ธรรมะสอนใจ ตอน เสาหลักของชีวิต
  ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จำเป็นต้องมีเสาเป็นหลักค้ำจุนตัวอาคารไว้ ฉันใด ในการสร้างความดีทุกชนิด ก็จำเป็นต้องมีความไม่ประมาทเป็นแกนหลักรองรับ ฉันนั้น ความไม่ประมาทจึงนับว่าเป็นหลักธรรมะสำคัญอย่างยิ่งในการครองตน ครองคน และครองงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมายในทุกด้าน ความไม่ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จำทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมไม่ดีที่ต้องเว้น เอาใจใส่สำนึกอยู่ในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอยู่เสมอ ว่า "ถ้าประมาทในทุกเรื่อง ความรุ่งเรืองก็มิอาจเกิดขึ้นได้" ในปทสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระพุทธองค์ตรัสว่า
   "ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูลย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกับผู้ประมาทเมามัวในชีวิตนั้น บัณฑิตท่านอุปมาไว้ว่า เสมือนผู้ที่ตายแล้วทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่" 

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว

ธรรมะสอนใจ 3

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว
     ปีศาจหลังยาว เป็นปีศาจอีกตัวหนึ่งในกลุ่มปีศาจจำแลง ๖ ตัว เหตุที่ได้ชื่อว่าปีศาจหลังยาว เพราะเมื่อเข้าสิงใครแล้วคนถูกสิงจะกลายเป็นคนเกียจคร้าน เหมือนสำนวนไทยที่ว่า “ขี้เกียจสันหลังยาว” นั่นเอง
        คนเกียจคร้านนั้นเป็นคนอาภัพ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เขาก็เป็นคนที่มีศักยภาพหลายอย่างเหมือนคนอื่น ๆ นั่นแหละ แต่เพราะถูกความเกียจคร้านครอบงำ ความรู้ความสามารถที่จะพึงมีพึงใช้ ก็เลยถูกพันธนาการไว้สิ้น แม้แต่มือและเท้าซึ่งเป็นดุจกลไกวิเศษก็พลอยหมดสภาพลงทุกที สติปัญญาเล่าก็วนเวียนอยู่แต่การคิดหาเหตุผลมาสนับสนุนการไม่ทำงาน เช่น ว่าตอนนี้ยังร้อนอยู่บ้าง หนาวเกินไปบ้าง ยังเช้าอยู่บ้าง เย็นหมดเวลาแล้วบ้าง แล้วผัดผ่อนเข้าข้างตัวเองหาความสบายเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ ความคิดอย่างนี้พอเกิดขึ้นแล้วก็ไปเสริมความเกียจคร้านที่มีอยู่เดิมให้หนักแน่นขึ้นไปอีก และทำนองเดียวกัน ความเกียจคร้านที่ได้กำลังเสริมนี้ก็ไปหนุนความคิดเดิม ๆ ให้หยั่งลึกลงไปอีก หมุนเวียนอย่างนี้ไม่จบสิ้น
       ถ้าพิจารณาให้ดี ความสุขอาจไม่ใช่ความสบาย และความสบายก็อาจไม่ใช่ความสุข เห็นได้จากคนที่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งต้องทิ้งความสบาย ต้องเหนื่อย ต้องร้อน แต่เขาก็มีความสุขกับการทำงานนั้นได้ ส่วนคนที่นั่งกินนอนกินอย่างเดียว ทำอะไรไม่ได้ ต้องถือว่าสบาย แต่ก็ไม่มีความสุข ดังนั้น คนที่มุ่งแต่ความสบายเฉพาะหน้าอย่างเดียว ไม่อยากรับผิดชอบ ไม่อยากทำงาน จึงต้องคิดเสียใหม่ว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นการเดินเข้าไปหาความเสื่อม ไม่ใช่ความสุข เพียงแต่หน้าฉากแฝงความสบายบ้าง ความสนุกสนานบ้าง ความเพลิดเพลินบ้าง เป็นเครื่องล่อใจตามวิสัยเล่ห์กลของปีศาจหลังยาว ซึ่งผู้ที่หวังความเจริญต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ... ธรรมะสอนใจ เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว

ขอแนะนำ "ธรรมะสอนใจ" น่าอ่าน



"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา

ธรรมะสอนใจ

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา
     การเที่ยวกลางคืนนั้น แม้จะทำให้ชีวิตสนุกสนานและผ่อนคลายตามวิสัยปุถุชน แต่ถ้าเที่ยวจนติดโดยเฉพาะในเวลาและสถานที่ที่ไม่สมควร ก็จะเป็นการก้าวพลาดอีกอย่างหนึ่งของชีวิต เพราะบั่นทอนความมั่นคงใน ๓ ด้านใหญ่ ๆ คือ

        ๑. ด้านครอบครัว ครอบครัวเป็นฐานสำคัญของชีวิต การทิ้งครอบครัวไปในยามดึกดื่นค่ำคืนชื่อว่าตั้งอยู่ในความประมาท อีกประการหนึ่งเป็นการบั่นทอนความรักความผูกพันที่จะพึงมีต่อกัน ทำให้ขาดความอบอุ่นและแตกแยกได้

       ๒. ด้านเศรษฐกิจ ได้ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ เพราะต้องใช้จ่ายหมดเปลืองไปโดยง่าย ความเบิกบานหรรษาที่ได้จากการเที่ยวเตร่ก็เป็นเรื่องชั่วครู่ชั่วยาม เป็นความสุขอำพรางเกิดแล้วก็หายไป แต่เงินที่หมดนั้นหมดจริง หนี้ที่เกิดขึ้นก็เกิดจริง ซึ่งจะต้องตามแก้ด้วยความยากลำบาก

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอนปีศาจสุรา

"ธรรมะสอนใจ"

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอนปีศาจสุรา
     คนไทยจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า ในโลกนี้มีสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวอาศัยอยู่ด้วย สิ่งนั้นคือผีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปีศาจ ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของผีหรือปีศาจนั้น คือการเข้าสิงคน ทำให้คนที่ถูกสิงมีอาการต่าง ๆ บางคนพอถูกสิงก็ขอกินนั่นกินนี่ บางคนแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ผู้ถูกสิงไม่รู้ตัวว่าทำหรือพูดอะไรออกไป ต่อเมื่อผีที่สิงอยู่ออกไปแล้วนั่นแหละจึงอยู่ในสภาพปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

        ปรากฏการณ์ของปิศาจดังกล่าว แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ แต่ก็ทำให้เห็นข้อเปรียบเทียบอย่างหนึ่งว่า อาการที่ทำอะไรไปโดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวบ้างแต่ควบคุมตนเองไม่ได้ เพราะมีอีกสิ่งหนึ่งบงการอยู่นั้น ไม่ได้มีเฉพาะอาการของคนที่ถูกผีเข้าสิงเท่านั้น ความจริงแล้วเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่ดื่มสุราเกินประมาณ คนโบราณจึงเปรียบผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอบายมุขว่าเหมือนผีเข้าสิง เช่น ผีสุรา ผีการพนัน เป็นต้น ในข้อเท็จจริง สุรานั้นมีแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กดประสาท เมื่อดื่มมากเกินควร มักทำให้ขาดความยั้งคิด ก่อการทะเลาะวิวาท บั่นทอนกำลังกายกำลังสติปัญญา ทั้งเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายหลายชนิด ที่สำคัญทำให้ขาดสติ อาจทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ตัวเหมือนคนที่ถูกผีเข้าสิงก็ได้

นิทานธรรมะ ตอน ช้างกับมดแดง

นิทานธรรมะสั้นๆ

นิทานธรรมะ ตอน ช้างกับมดแดง
      มีนิทานเล่าว่า ช้างตัวหนึ่ง ทะนงตนว่าเป็นสัตว์ใหญ่และมีพละกำลังเหนือกว่าสัตว์ทุกประเภท จึงมักเที่ยวระรานสัตว์น้อยใหญ่ในป่าอยู่เสมอ วันหนึ่ง ขณะที่มันกำลังหากินอยู่นั้น ไปพบรังมดแดงรังหนึ่งเข้า จึงใช้งวงกระชากลงมา หมายขยี้ให้แหลกทั้งรัง ด้วยสัญชาตญาณการป้องกันตัว มดแดงทั้งรังจึงพากันกรูเข้ากัดงวงช้าง บางส่วนก็กรูเข้าไปกัดในรูจมูกและส่วนอื่น ๆ ทำให้ช้างเกเรได้รับความเจ็บปวดจนต้องหนีไปในที่สุด

       ถึงเรื่องนี้จะเป็นแค่นิทาน แต่ก็เปี่ยมไปด้วยสาระสำคัญ เพราะชี้ไปที่ฐานของการอยู่รอด อันได้แก่ ความสามัคคี การรวมพลัง ที่ทำให้มดแดงตัวเล็ก ๆ ยังสามารถเอาชนะสัตว์ใหญ่อย่างช้างได้

       ในหมู่มนุษย์ ความสามัคคีนั้น ย่อมเกิดได้เพราะการกระทำ ๓ ทาง คือ

นิทานธรรมะ ตอน บันไดชีวิต

นิทานธรรมะก่อนนอน เรื่อง บันไดชีวิต

นิทานธรรมะ ตอน บันไดชีวิต ... ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน หรือตึกชั้นสูง ๆ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ บันไดขึ้น-ลง ถึงแม้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก การก่อสร้างอาคารหรือตึกชั้นสูง ๆ มักจะติดลิฟต์เพื่อความสะดวก รวดเร็วและประหยัดเวลาในการขึ้น-ลงก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยอันตราย เช่น ถ้าไฟดับลิฟต์ค้าง ต้องติดอยู่ข้างใน ดีไม่ดีอาจถึงตายได้ เมื่อบันไดมีไว้สำหรับขึ้น-ลง ผู้ใช้บันไดก็ต้องมีความระมัดระวังในการใช้ คือถ้าเดินไม่ระมัดระวังมัวแต่ไปมองทางอื่นก็อาจจะสะดุดบันไดทำให้ได้รับความบาดเจ็บหรือตกบันไดได้ บางคนเกิดคึกคะนองแทนที่จะขึ้น-ลงทีละขั้น แต่กลับก้าวกระโดดข้ามขั้น จึงมีโอกาสถึงที่หมายได้เร็วเท่า ๆ กับมีโอกาสตกบันไดได้ง่ายด้วย

       ในการดำเนินชีวิตของคนเราก็เหมือนกับการก้าวขึ้นสู่บันได พระพุทธศาสนาได้แบ่งชีวิตของคนออกเป็น ๓ ขั้น หรือ ๓ วัย คือ

นิทานธรรมะ ตอน ประกันชีวิต

นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ตอน ประกันชีวิต ... เป็นที่ทราบกันว่า การประกันชีวิต ก็คือการส่งเบี้ยประกันให้บริษัทที่รับประกัน แล้วได้รับความคุ้มครองตามวงเงินและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจะทำให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปของค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อยู่ข้างหลังได้วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการประกันชีวิตด้วยวัตถุ เป็นวิธีการทางโลก
       แต่ยังมีการประกันชีวิตที่ดีกว่านั้น ก็คือการประกันชีวิตด้วยคุณธรรม เป็นวิธีการทางธรรม ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง เป็นสุข และก้าวหน้าอย่างแท้จริงโดยการสร้างหลักประกัน ๓ อย่างขึ้นในตัวเอง คือ

นิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี

นิทานธรรมะคติสอนใจ

นิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี
  มีความเชื่อกันว่า ผีเป็นสิ่งที่ลึกลับมองไม่เห็นตัว มีทั้งดีและร้าย อาจให้คุณหรือโทษแก่คนได้ และโดยปริยาย ผี หมายถึง สิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เหตุนั้น ในหมู่คนที่เชื่อเรื่องผี จึงนิยมนำแผ่นผ้าลงอักขระภาษาขอมไปติดไว้เหนือประตูทางเข้าบ้านเรือน เพื่อใช้เป็นยันต์กันผี มิให้เข้าไปทำร้ายคนในบ้าน
   ผีตามความเชื่อจะมีจริงหรือไม่ คงหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ยาก แต่ที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนก็คือผีโดยปริยายที่หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี หรือ สิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นผีในชีวิตจริง ซึ่งในปัจจุบันมีมาก เช่น บุหรี่ เป็นต้น ที่ทำให้คนสูบได้รับพิษ คนใกล้ชิดได้รับภัย ข้อนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากนัก เพราะมีหลักฐานที่เป็นหลักคำสอนในทางศาสนา ที่สอนว่าสิ่งเสพติดให้โทษเป็นอบายมุข เป็นหนทางนำชีวิตไปสู่ความเสื่อม หลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า บุหรี่เป็นสาเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดลมอักเสบ แก่เร็ว ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น และหลักฐานรายงานจากองค์การอนามัยโลกที่เคยระบุว่า ปัจจุบันมีประชากรโลกเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ ๕ ล้านคน หรือคิดเฉลี่ยเสียชีวิต ๑ คน ในทุกๆ ๖ วินาที ดังนั้น ในช่วง ๒ นาทีที่ท่านกำลังอ่านนิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี ในขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตจากพิษภัยบุหรี่จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน
   ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักในพิษภัยของผีชนิดนี้มากขึ้น มีการออกฎหมายกำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ไว้อย่างชัดเจน มีการนำสติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ไปติดไว้ตามประตู ตามที่ทำงานบ้าง สาธารณะสถานต่างๆ บ้าง เพื่อเป็นการห้ามสูบบุหรี่ในที่นั้นๆ หรือบอกใบ้ให้รู้ว่า ที่นั้นๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งถ้าพิจารณาในแนวคิดทางธรรมแล้ว สติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ ก็คล้ายๆ กับยันต์กันผีที่ช่วยป้องกันโทษ ซึ่งมิใช่เฉพาะแก่ผู้สูบเท่านั้น แต่แก่คนรอบข้างเขาด้วย อย่างไรก็ตามสติ๊กเกอร์ดังกล่าว อาจไม่มีผล ถ้าคนคิดจะสูบเสียอย่าง เว้นแต่ว่า จะติดให้หนักแน่นที่ใจคนสูบเท่านั้น จึงจะเห็นผลได้อย่างแท้จริง ... นิทานธรรมะ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget