แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง คน ๔ ประเภท

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง คน ๔ ประเภท
   สังคม หน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น สำนักงาน บริษัท ก็จะต้องมีคนมากมายหลากหลายรูปแบบ แต่โบราณได้แบ่งไว้  ๔  ประเภท ด้วยกัน คือ คนฉลาดและขยัน คนฉลาดแต่ขี้เกียจ คนโง่และขี้เกียจ และสุดท้ายคือ คนโง่แต่ขยัน มีลักษณะและความแตกต่าง ดังต่อไปนี้

   คนประเภทที่ ๑  คนฉลาดและขยัน  คนประเภทนี้ ถ้าส่งเสริมให้ดีแล้วต่อไปภายภาคหน้า จะได้เป็นเจ้าคนนายคน เป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ จึงควรเลี้ยงไว้ และไม่ควรเลี้ยงไว้ห่างสายตา แต่อย่าให้ใกล้ชิดเกินไป เพราะอันตราย
  คนประเภทที่  ๒  คนฉลาดแต่ขี้เกียจ คนประเภทนี้ควรให้ทำงานในเรื่องที่เกียวกับการใช้หัวคิด หรือวางแผนจะเหมาะที่สุด เพราะเป็นคนเก่ง คิดไว แต่การปฏิบัติต้องมีคนช่วย
  คนประเภทที่  ๓  คนโง่และขี้เกียจ คนประเภทนี้พอเอาไปเป็นแรงงานได้ แต่ต้องคอยจับตาดู คอยแนะนำให้ทำตาม หรือให้มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งเท่านั้น ปล่อยให้ทำเองไม่ได้
  คนประเภทที่  ๔  คนโง่แต่ขยัน  คนประเภทนี้มักสร้างความวุ่นวายให้กับสังคม อันตรายต่อสังคมและองค์กร ไม่ว่าจะให้อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใด ก็ก่อความวุ่นวาย เดือดร้อนได้ง่าย
ในสังคมหรือองค์กรไหนก็ตาม ย่อมจะมีคน ๔  ประเภทนี้อยู่ด้วยเสมอ การจะใช้งานคนในสังคมหรือองค์กรนั้นๆ ให้สอดคล้องกับลักษณะนิสัยหรือคุณภาพของคน จึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังมีคำกล่าวว่า put the right man on the right job เพราะการเลือกคนได้เหมาะกับงาน ก็มีแต่ความสำเร็จ ในทางตรงกันข้าม การเลือกใช้คนไม่ถูกกับงาน ก็มีแต่จะล้มเหลว และเป็นอันตรายทั้งแก่สังคมและองค์กรในวงกว้างเช่นกัน แล้วท่านล่ะ คิดว่าอยู่ในประเภทไหน... ธรรมะก่อนนอน เรื่อง คน ๔ ประเภท

นิทานคุณธรรม เรื่อง กระจกใจ

นิทานคุณธรรม เรื่อง กระจกใจ
   มีเรื่องเล่าว่า สามีภรรยาคู่หนึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านหลังหนึ่งในตัวเมือง ทุกๆ เช้า ผู้เป็นภรรยาจะแอบดูเพื่อนบ้าน ผ่านกระจกหน้าต่างชั้นบน และคอยรายงานให้สามีฟังเสมอๆ ว่า เพื่อนบ้านคนนี้ คนนั้น ซักผ้าไม่เป็นเลย เสื้อผ้าสกปรกเหลือเกิน ไม่รู้ว่าใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือใช้วิธีซักอย่างไร ฝ่ายสามีก็มักจะกล่าวแก่ภรรยาเสมอๆ ว่า อย่าไปสนใจคนอื่นเลย เราซักผ้าของเราให้สะอาดก็แล้วกัน แต่ภรรยาก็ยังคอยแอบดูเพื่อนบ้านผ่านกระจกหน้าต่างชั้นบนอยู่ทุกเช้า และคอยรายงานให้สามีฟังทุกครั้งเช่นเคย
   ต่อมา วันหนึ่ง ภรรยาได้วิ่งลงมารายงานสามีด้วยท่าทางประหลาดใจว่า วันนี้เกิดอะไรขึ้นไม่รู้ เสื้อผ้าของเพื่อนบ้านขาวสะอาดผิดปกติ อยากจะรู้เหลือเกินว่า เขาเปลี่ยนมาใช้ผงซักฟอกยี่ห้ออะไร หรือทำอย่างไร ฝ่ายสามีหัวเราะแล้วกล่าวว่า เมื่อเช้าฉันตื่นแต่เช้ามืดและไปเช็ดกระจกหน้าต่างชั้นบนจนใสสะอาด ก่อนหน้านี้กระจกมันสกปรก เมื่อเธอมองออกไปภายนอกก็เลยพลอยเห็นแต่ความสกปรกไปด้วย...



   ในแง่คิดทางธรรม คนเราจะมองคนอื่นผ่านกระจก คือ จิตใจตนเอง ถ้าจิตใจของเราใสสะอาด เราก็จะเห็นแต่ความดีความงามของคนอื่น และมองเห็นสิ่งรอบๆ ตัวดีงามไปด้วย แต่ถ้าจิตใจของเราขุ่นมัว เราก็จะเห็นแต่ความไม่ดีไม่งามของคนอื่น และมองเห็นสิ่งรอบๆ ตัวไม่ดีไม่งามไปด้วย การที่เราได้เห็นความดีหรือความไม่ดีรอบๆ ตัวเรา แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เราเห็นมันเกิดขึ้นในจิตใจของเรานี่เอง ดังนั้น เราจะต้องพยายามฝึกจิตใจ ทำใจให้ใสสะอาด ปราศจากกิเลสให้มากที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้จิตใจขุ่นมัว จะส่งผลให้เราคิดชั่ว ใช้อารมณ์ มองเห็นแต่สิ่งที่ไม่ดีไม่งามอยู่ตลอดเวลา และ เป็นทุกข์ติดตามมา แต่ถ้าฝึกจิต ทำใจให้สะอาด จะส่งผลให้เราคิดดี ใช้ปัญญา มองสิ่งต่างๆ ในแง่ดี และมีความสุขในที่สุด


ธรรมะก่อนนอน เรื่อง ความซื่อสัตย์ใกล้ตัว

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง ความซื่อสัตย์ใกล้ตัว #$ ตามปกติสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัว เรามักจะมองเห็นหรือได้ยินได้ฟังก่อนสิ่งที่อยู่ไกลตัวเสมอ ความซื่อสัตย์ก็เช่นกัน หากเราสังเกตุก็จะพบอยู่ใกล้ๆ ตัวเราเช่นกัน ยกตัวอย่าง ซื่อสัตย์ต่อหน่วยงาน องค์กร ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ซื่อสัตย์ต่อผู้ร่วมงาน ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เป็นต้น ในแง่ทางธรรม บุคคลจะดำรงอยู่ในความซื่อสัตย์อย่างยั่งยืนและมีความสุขได้ ย่อมต้องอาศัยคุณธรรมอื่นช่วยหนุน คุณธรรมที่ว่านี้ เรียกว่า ธรรมฉันทะ แปลว่า ความรัก ความพอใจและความชอบ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ ถ้าเริ่มด้วยความรัก และพอใจแล้ว ก็จะดึงสิ่งที่ดีงามอย่างอื่นเข้ามารวมอยู่ด้วยกัน เช่น ดึงความพากเพียรพยายามออกมาช่วย ดึงความอดทนและความเฉลียวฉลาดเข้ามาเป็นพวก เป็นต้น ข้อนี้พึงเห็นตัวอย่างจากชายหนุ่มที่รักสาวย่อมจะไม่กลัวผีหลอก แม้จะต้องเดินผ่านป่าช้าในเวลาค่ำคืนเพื่อไปพบคนรัก ฉันใด การดำรงตนมั่นคงอยู่ในความซื่อสัตย์ก็ฉันนั้น ถ้ามองให้เห็นคุณประโยชน์จนเกิดความรักและพอใจแล้ว ในการปฏิบัติ แม้จะเผชิญกับสถานการณ์ยั่วยุหรือยั่วยวน ก็ไม่สามารถทำให้เสื่อมจากความซื่อสัตย์ไปได้เลย


   ความซื่อสัตย์นี้ แม้เราจะได้ยิน ได้ฟัง มาอย่างหลากหลาย แต่ทุกๆ ด้าน ความซื่อสัตย์ล้วนมีรสเป็นอย่างเดียวกัน นั่นคือ มีเกียรติ์ มีชื่อเสียง ได้รับความยกย่องน่านับถือ คำสรรเสริญเล่าลือเป็นรส ดังคำพระทีว่า "สัจเจนะ กิตติง ปัปโปติ แปลได้ว่า คนได้เกียรติเพราะซื่อสัตย์" ดังนั้น การดำรงอยู่ในความซื่อสัตย์ ก็เป็นการสร้างเกียรติให้แก่ตนเองโดยตรงนั่นเอง

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง ทางก้าวหน้าสำหรับคนทำงาน

   +++ ทุกคนในโลกนี้ไม่ว่าจะทำงานอะไรก็ตาม ทั้งงานรัฐ บริษัทเอกชน หรือแม้แต่งานส่วนตัว ย่อมปรารถนาความสำเร็จ ความก้าวหน้าด้วยกันทั้งสิ้น เช่น ได้เลือนยศ ได้เงินเดือนสูงขึ้น ได้รางวัล ได้โบนัส หากทำการค้าขายก็อยากให้สินค้าของตนขายดิบขายดี มีกำไรเป็นกอบเป็นกำ เป็นต้น ทางศาสนามองว่า คนที่ปรารถนาความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ควรยึดมั่นในหลักธรรม ๗ ประการ ได้แก่


๑.  อุฏฐานะ หมายถึง มีความเพียร คือ ขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๒.  สติ  หมายถึง มีสติ คือ ระมัดระวังตนอยู่ตลอดเวลา ควบคุมสติอารมย์ไว้ได้ คิดก่อนทำ ก่อนพูด
๓.  สุจิกัมมะ หมายถึง มีการงานสะอาด คือ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใด ไม่ก่อทุกข์ ก่อโทษแก่ใคร ประกอบแต่งานที่สุจริต งานที่ชอบด้วยกฏหมาย และ
ศีลธรรม
๔.  นิสัมมการี หมายถึง มีความรอบคอบ คือ มีความละเอียดรอบคอบ ใคร่ครวญพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
๕.  สัญญตะ หมายถึง มีความสำรวม คือ มีกริยามารยาทเรียบร้อยน่าเลื่อมใส สงบเสงี่ยมเจียมตน ไม่โอ้อวดตัว ไม่ข่มเหงผู้อื่นด้วยกริยาอาการ หรือคำพูด ไม่ดูหมิ่นคนอื่นที่ด้วยกว่าตนทั้งฐานะ และการศึกษา
๖.  ธัมมวิหารี หมายถึง เป็นอยู่โดยธรรม คือ มั่นคงอยู่ในศีลธรรม ยึดธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
๗.  อัปปมัตตะ หมายถึง ไม่ประมาท คือ ไม่หลงมัวเมา หรือประมาทเลินเล่อ จนงานที่รับผิดชอบเกิดความผิดพลาดเสียหาย 

ความเจริญก้าวหน้าเป็นสิ่งที่ต้องการของคนทำงานในทุกยุคทุกสมัย วิธีการที่นำไปสู่ความเจริญก้าวหน้านั้นก็แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับคนทำงานที่ยึดมั่น ดำรงตนอยู่ในหลักธรรม ๗ ประการข้างต้น ดังกล่าวแล้ว มีแต่ความเจริญก้าวหน้าถ่ายเดียวแบบยั่งยืนตลอดไป



ธรรมะก่อนนอน เรื่อง ชีวิตนี้สั้นนัก


คำว่า ชีวิตนี้...สั้นนัก ในทีนี้หมายถึง โอกาสในการสร้างความดีของมนุษย์เรามีอยู่อย่างจำกัด เพราะชีวิตขึ้นอยู่กับกาลเวลา เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ชีวิตของมนุษย์เราย่อมลดลงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้ชีวิตมา จำเป็นต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และอยู่ดีมีความสุข อีกทั้งใช้ชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัด สร้างคุณงามความดี เมื่อชีวิตจะต้องต่อสู้ดิ้นรนแข่งกับเวลาอย่างนี้แล้ว หากมัวแต่นึกถึงเรื่องราวต่างๆ ที่ตนเองไม่ชอบใจ เช่น คนโน้นเคยด่าเรา เคยทะเลาะกับเรา เราไม่ชอบหน้าคนโน้นคนนี้ นอกจากจะเป็นการเสียเวลาโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังทำให้ลืมหน้าที่ของตนเองว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำอีกด้วย และการย้ำคิดย้ำทำใเรื่องไม่ดีเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เสียเวลาแล้ว ยังทำให้เสียสุขภาพจิตอีกด้วย
   ฉะนั้น ทางพุทธศาสนาจึงสอนย้ำเสมอว่า ชีวิตนี้สั้นนัก เป็นการเตือนสติให้เราตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในวัยและในชีวิต ดังนี้


๑.  ปฐมวัย ต้องขยันศึกษาหาความรู้ หรือเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา เพราะการศึกษา คือ เครื่องมือนำไปสู่การสร้างโอกาสที่สำคัญที่สุดในชีวิต
๒.  มิชฌิมวัย ต้องขยันทำงานหาทรัพย์ รู้จักเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้ และใช้จ่ายทรัพย์อย่างประหยัด และรู้พอเพียงสมกับฐานะของตนเอง
๓.  ปัจฉิมวัย ขยันสร้างบุญกุศล หาความสงบสุขทางใจ อันเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อไปสู่ภพภูมิที่ดีเมื่อเราละจากโลกนี้ไป
สรุปได้ว่า เราจะทำอะไรต้องรีบทำ เพราะชีวิตนี้สั้นนัก สมดังคำประพันธ์ที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า
เวลาและวารี มิได้มีจะคอยใคร เรือเมล์และรถไฟ มันก็ไปตามเวลา
โอ้ เอ้ และอืดอาด ก็จะพลาดปรารถนา ชวดแล้วจะโศกา อนิจจาเราช้าไป



นิทานคุณธรรม เรื่อง ความลับไม่มีในโลก


นิทานคุณธรรม เรื่อง ความลับไม่มีในโลก
   มีเรื่องเล่าไว้ในชาดกว่า อาจารย์ท่านหนึ่งต้องการจะยกลูกสาวให้แต่งงานกับลูกศิษย์ผู้มีคุณธรรม จึงออกอุบายว่า ให้ศิษย์แต่ละคนไปขโมยของจากพ่อแม่หรือญาติพี่น้องมาให้ได้มากที่สุด ลูกศิษย์แต่ละคนต่างก็ไปขโมยของมาให้อาจารย์ตามที่จะขโมยได้ บางคนขโมยของมีราคามาก บางคนขโมยของมีราคาปานกลาง และบางคนขโมยของมีราคาน้อย แต่มีศิษย์คนหนึ่งกลับมามือเปล่า เมืออาจารย์สอบถาม ก็ได้รับคำตอบจากเขาว่า เหตุที่เขาไม่กล้าขโมยของ เพราะเขาเชื่อว่า ความลับในการทำชั่วไม่มีในโลก ไม่ว่าในบ้านหรือในป่า แม้ผู้อื่นจะไม่เห็น แต่ตัวเองก็ยังมองเห็น และตัวเองนั่นแหล่ะย่อมรู้ว่า ทำดีหรือชั่ว อาจารย์ได้เห็นความมีคุณธรรมของศิษย์ผู้นั้นแล้ว จึงยกลูกสาวให้ ทั้งยังยกย่องเขาให้เป็นแบบอย่างของการเป็นคนดีมีคุณธรรมแก่ศิษย์อื่นๆ อีกด้วย


จากเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า คนทำความชั่วในที่ลับด้วยคิดว่าไม่มีใครรู้ โดยเฉพาะความชั่วร้าย เช่น ฆาตรกรรม หรือการปล้นจี้ เป็นต้น ในที่สุดความชั่วนั้นก็จะเปิดเผยออกมาจนได้ คนที่ทุจริตคิดไม่ซือตรงนั้น แม้เบื้องต้นจะไม่มีใครพบเห็น หรือจับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เพราะคนที่ทำความชั่วทุกคน ย่อมจะพยายามทำอย่างรอบคอบถี่ถ้วนเป็นที่สุด แต่สุดท้ายความลับในการทำความชั่วก็ถูกเปิดเผยออกมาจนได้ ไม่เร็วก็ช้า จากนิทานคุณธรรม เรื่อง ความลับไม่มีในโลก เกี่ยวข้องกับหลักธรรมะตรงๆ ๒ ประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี คือ หิริ ความละอายแก่ใจ ไม่กล้าทำชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลจากการทำชั่วจะตามสนอง จึงจำเป็นในทุกสถานและในกาลทุกเมื่อ ดังนั้น ก่อนจะทำอะไรลงไป จึงควรระลึกถึงคำพระที่ว่า นัตถิ โลเก ระโหนามะ ซึ่งแปลว่า ความลับไม่มีในโลก แล้วชีวิตจะปลอดภัยทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ในชาตินี้และชาติหน้า


"ธรรมะกับชีวิต" ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตอน ถ้วยกาแฟ

"ธรรมะกับชีวิต" ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
"ธรรมะกับชีวิต" ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตอน ถ้วยกาแฟ ... ในงานเกษียณอายุของอาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่ง บรรดาศิษย์เก่าที่จบการศึกษาได้ถือโอกาสกลับมาพบปะชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก หลังจากการสังสรรค์ผ่านไปพักใหญ่ เมื่อวงสนทนาเปลี่ยนมาเป็นเรื่องการครองชีพ ความเครียดก็เกิดขึ้น บางคนบ่นน้อยใจในโชควาสนา บางคนก็พูดถึงภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทุกวัน บางคนโหมงานหนักจนสุขภาพย่ำแย่ บางคนก็อับอายเรื่องฐานะไม่กล้าพูดคุยกับเพื่อนฝูง ฝ่ายอาจารย์ใหญ่ได้แต่ยืนฟังอย่างสงบ ครั้นถึงเวลาเลี้ยงกาแฟ ท่านเดินเข้าไปในห้องครัว แล้วออกมาพร้อมกับกาแฟเหยือกโตและถ้วยกาแฟหลายใบ มีทั้งแบบพื้น ๆ ธรรมดาราคาถูก และที่สวยงามราคาแพง แล้วบอกให้ลูกศิษย์เลือกถ้วยกาแฟจัดการรินกาแฟดื่มกันตามใจชอบ

       ทุกคนต่างพากันเลือกถ้วยกาแฟที่สวย ๆ ราคาแพง ไม่มีใครอยากได้แบบที่เป็นธรรมดาราคาถูกสักคนเดียว เมื่อลูกศิษย์ต่างมีถ้วยกาแฟอยู่ในมือครบแล้ว อาจารย์ใหญ่จึงพูดขึ้นว่า "คนเรามักจะเลือกสิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด โดยลืมคิดถึงความต้องการที่แท้จริง และนี่คือที่มาของความเครียดและปัญหาทั้งหลายในชีวิต ความจริงขณะนี้สิ่งที่พวกเธอต้องการแท้จริงคือกาแฟ ไม่ใช่ถ้วยกาแฟ แต่จิตสำนึกกลับทำให้พวกเธอยึดติดกับถ้วย ชีวิตก็เช่นกัน หากตระหนักในความต้องการแท้จริงของชีวิต ไม่หลงติดแค่ส่วนประกอบก็จะไม่ต้องเป็นทุกข์ เพราะส่วนประกอบแม้จะขาดหายไปบ้าง ก็ไม่ทำให้เนื้อหาจริง ๆ ของชีวิตเปลี่ยนไป"


       เรื่องข้างต้นนี้เป็นอุทาหรณ์ในประเด็นของเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี คือถ้าเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงจะเป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของชีวิตว่าต้องการอะไร เมื่อได้มาตามนั้นก็สร้างความรู้สึกว่าพอเพียงแล้ว พอเหมาะพอสมแล้ว ชีวิตก็เป็นสุข เหมือนเมื่อความต้องการที่แท้จริงอยู่ที่การดื่มกาแฟ เมื่อได้ถ้วยกาแฟที่พอเหมาะพอสม ก็พอเพียงแล้วสำหรับการดื่มกาแฟให้มีความสุข ไม่ต้องไปดิ้นรนให้เดือดร้อนวุ่นวายไปอีกเปล่า ๆ


ธรรมะกับความรัก ตอน ศัตรูชีวิต

ธรรมะคู่ชีวิต
ธรรมะกับความรัก ตอน ศัตรูชีวิต
      คำว่า ศัตรู หมายถึงข้าศึก ปรปักษ์ ผู้จองเวร มีบทบาทในการทำลายล้าง รบกวนความสงบสุขของ ผู้อื่น เมื่อใครมีศัตรู ชีวิตจะประสบความเดือดร้อน อยู่ไม่เป็นสุข การมีศัตรูแม้เพียงคนเดียวก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะสามารถเบียดเบียนทำลายล้างจนชีวิตต้องหายนะได้ อุปมาเหมือนกับไฟ แม้เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำลายได้กว้างไกล ศัตรูนั้นมี ๒ ประเภท คือ

        ๑. ศัตรูภายนอก ได้แก่ผู้ที่สร้างความเดือดร้อนซึ่งอยู่นอกตัวเราทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือภัยพิบัติจากธรรมชาติ เป็นศัตรูที่มาในรูปของศัตรู สามารถมองเห็นด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู มีตัวตนสัมผัสได้ จึงสามารถหาทางหลบหลีก หรือวางแผนต่อสู้ป้องกัน ทำให้ชีวิตปลอดภัย หรืออย่างน้อยก็ได้รับความเดือดร้อนน้อยลง

         ๒. ศัตรูภายใน ได้แก่กิเลสที่อยู่ในใจที่คอยชักนำให้กระทำความชั่วต่างๆ กล่าวโดยประเภทมี ๓ คือ โลภะ ได้แก่ความละโมบอยากได้ในทางทุจริต โทสะ ได้แก่ความคิดประทุษร้ายอาฆาตแค้นผู้อื่น และ โมหะ ได้แก่ความหลงไม่รู้จริง เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด ศัตรูชนิดนี้เป็นศัตรูของชีวิตที่มาในรูปของมิตร น่ากลัวยิ่งกว่าศัตรูใดๆ เพราะจะหลอกล่อให้ผู้นั้นสมัครใจที่จะทำลายตัวเองจนย่อยยับ

        คนที่เอาชนะศัตรูภายนอก แม้จะชื่อว่าเป็นคนเก่ง เป็นวีรบุรุษ แต่ทางธรรม ยังไม่ถือว่าเป็นยอดนักรบ เพราะเป็นชัยชนะที่อาจกลับแพ้ได้ ชนะแล้วก็ยังเป็นทุกข์ ส่วนผู้ที่เอาชนะศัตรูภายใน ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูชีวิตได้ คือไม่ถูกโลภะ โทสะ โมหะครอบงำย่ำยีนั่นแหละ จึงเป็นยอดนักรบที่แท้จริง เพราะจะไม่มีโอกาสกลับแพ้ได้เลย เป็นชัยชนะที่กำจัดเวรภัยได้ราบคาบ พระพุทธเจ้าจึงทรงสรรเสริญไว้ว่า "อัตตา หะเว ชิตัง เสยโย - ชนะตนนั่นแลประเสริฐที่สุด"

ธรรมะกับชีวิต ตอน เรื่องของเวลา

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง เรื่องของเวลา
ธรรมะกับชีวิต ตอน เรื่องของเวลา ... ธรรมะกับชีวิตประจำวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ นำเสนอในตอน เรื่องของเวลา ... มีบางคนกล่าวว่า "ในโลกนี้ ไม่มีความยุติธรรมเลย มีแต่อิทธิพล ของเส้นสายและทรัพย์สินเท่านั้น" ซึ่งก็อาจมีส่วนจริงอยู่บ้าง แต่ความจริงยังมีสิ่งหนึ่ง ซึ่งให้ความยุติธรรมแก่ทุกคน สิ่งนั้นก็คือ "วันและเวลา" นั่นเอง เพราะวันหนึ่งของแต่ละคนก็มี ๒๔ ชั่วโมง เดือนหนึ่งก็มีคนละ ๓๐ วัน และปีหนึ่งก็มีคนละ ๓๖๕ วันเท่านั้น จึงไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันเลย      
     บุคคลผู้มองไม่เห็นคุณค่าของเวลา มักใช้ชีวิตด้วยความประมาท เกียจคร้านการงาน ปล่อยให้ชีวิต สิ้นเปลืองไป กับการเล่น การกิน การเที่ยวมัวเมาเพลิดเพลิน กับความสนุกสนานไปวันๆ  ซึ่งท่านเรียกบุคคล ประเภทนี้ว่า   "ผู้ตกเป็นเหยื่อของกาลเวลา" ในไม่ช้าก็จะเดือดร้อน และเสียใจในภายหลัง เพราะวันเวลา เมื่อล่วงเลยไปแล้ว ไม่อาจหมุนกลับมาอีก ดังคำกลอนสอนใจที่ว่า "เวลาและวารีมิได้ยินดีจะคอยใคร เรือเมล์ และรถไฟ มันก็ไปตามเวลา" ส่วนผู้ไม่ประมาท ย่อมมองเห็นคุณค่าของเวลา คือเห็นเวลาทุกนาที เป็นเงินเป็นทอง มีความขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ ไม่ท้อถอยง่าย รู้จักใช้เวลาแต่ละวินาทีให้คุ้มค่า คือให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทั้งแก่ตัวเองและส่วนรวม ซึ่งท่านเรียกว่า "ผู้ไม่ยอมให้เวลากลืนกินตน" ย่อมจะมีชีวิตที่สุขสมบูรณ์ ในบั้นปลายอย่างแน่นอน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า "ผู้ที่เห็นคุณค่า ของเวลา มีความเพียร ไม่ท้อถอย แม้จะมีอายุเพียงวันเดียว ก็ยังดีกว่า คนมีอายุตั้ง ๑๐๐ ปี แต่มีความเกียจคร้านเป็นอุปนิสัย"


     ความจริงปรากฏว่า การที่เจ้าชายสิทธัตถะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงบำเพ็ญเพียร จนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด ก็เพราะทรงเห็นคุณค่าของกาลเวลานั่นเอง หรือแม้แต่การที่สามัญชน คนธรรมดา ได้พยายามศึกษาเล่าเรียน จนจบการศึกษา ทำงาน และมีความก้าวหน้าในชีวิตการงาน โดยลำดับ เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กร ของประเทศชาติ ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุ คือการมองเห็นคุณค่าของกาลเวลาทั้งสิ้น
     ดังนั้น ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าและเป็นคนที่มีคุณค่าต่อสังคม จึงควรพยายามสร้างตัว ด้วยจิตสำนึก เรื่องกาลเวลาเสียแต่บัดนี้


ธรรมะก่อนนอน เรื่อง กากับนกเค้า

ธรรมะก่อนนอน ตอน กากับนกเค้า

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง กากับนกเค้า &*& มีเรื่องเล่าในชาดกว่า ครั้งหนึ่งพวกนกมาประชุมกันเพื่อคัดเลือกหัวหน้า ฝูงนกเสนอให้นกเค้าขึ้นเป็นหัวหน้า แต่มีกาตัวหนึ่งค้านว่า นกเค้าไม่เหมาะที่จะเป็นผู้นำเพราะมีหน้าตาน่ากลัว ทำให้นกเค้าโกรธจัดที่ถูกกาว่าร้ายเช่นนั้น จึงบินไล่จิกกาออกไปนอกที่ประชุม สุดท้ายพวกนกจึงได้เลือกหงส์ทองขึ้นเป็นหัวหน้า ส่วนกากับนกเค้าก็กลายเป็นศัตรูต่อกันข้ามภพข้ามชาติมาจนถึงปัจจุบัน

        ความพยาบาทจองเวรกันนั้น ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับสัตว์หรือคนก็ตาม ล้วนแต่เป็นไปเพื่อหายนะทั้งสิ้น อุบายวิธีที่จะระงับยับยั้งเวรนั้นนับว่าสำคัญยิ่ง ทางศาสนาท่านสอนวิธีการหยุดการจองเวร โดยการให้อภัย ให้อโหสิกรรมต่อกัน วิธีอื่นนอกจากนี้ถึงจะมี แต่ก็ให้ผลได้ไม่เด็ดขาดเท่ากับ การให้อภัยหรือให้อโหสิกรรมต่อกัน ในทางปฏิบัติ การให้อภัย หรือให้อโหสิกรรม ก็นับว่าทำได้ยากพอสมควร ส่วนหนึ่งก็เพราะมีโทสะมานะทิฐิในใจของแต่ละคนมาขวางกั้นไว้ และอีกส่วนหนึ่งก็เพราะขาดความอดทนอดกลั้น ขาดความรักความบริสุทธิ์ใจต่อกัน จึงทำให้เวรนั้นยังคงดำเนินต่อไป ยิ่งถ้าเป็นเรื่องของคนหมู่มากมีเวรต่อกันด้วยแล้ว ความยากลำบากในการปฏิบัติ รวมถึงความเดือดร้อนแก่ตนเอง และผู้ไม่เกี่ยวข้องก็มากเท่าทวีคูณตามไปด้วย การระงับเวรด้วยการไม่จองเวรแต่เพียงข้อเดียวอาจไม่ได้ผลในกรณีของคนหมู่มาก จึงจำต้องใช้อุบายวิธีอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การหันหน้าเข้าหากัน เลือกมองแต่แง่ดีของกันและกัน เป็นต้น เวรนั้นจึงจะมีโอกาสสงบระงับได้


       กากับนกเค้าที่ทะเลาะกันอยู่ จนถึงปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะทะเลาะเพราะเหตุที่เลือกหัวหน้า หรือเหตุอื่นใดก็ตาม ถึงแม้จะยังเป็นศัตรูต่อกันอยู่ก็สร้างความเสียหายเพียงแคบ ๆ แต่ถ้ามนุษย์ทะเลาะกัน จองเวรต่อกันแล้ว หายนะที่จะเกิดขึ้นย่อมจะรุนแรงกว่าสัตว์ สุดที่จะประมาณได้ ดังนั้นทางหนึ่งที่จะป้องกันหายนะทั้งหลายได้ ก็คือการให้อภัย ให้อโหสิกรรม ไม่จองเวรต่อกันนั่นเอง



นิทานคุณธรรม เรื่อง พระเลี้ยงลิง

นิทานคุณธรรม ตอน พระเลี้ยงลิง

นิทานคุณธรรม เรื่อง พระเลี้ยงลิง *!* มีเรื่องเล่าว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นยุคที่บ้านเมืองมีความสงบสุขมาก ความสงบสุขเรียบร้อยของบ้านเมืองส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนมีระเบียบวินัย ข้อบังคับใดที่ทรงวางไว้ใครจะมาล่วงละเมิดไม่ได้ และเพราะเหตุที่บ้านเมืองมากไปด้วยระเบียบวินัยนี้เอง ทำให้ประชาชนบางพวกไม่พอใจ จึงขอให้พระเถระรูปหนึ่งไปเข้าเฝ้าเพื่อขอให้ทรงลดหย่อนเรื่องระเบียบวินัยลงเสียบ้าง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงรับสั่งว่าจะขอผัดผ่อนไปก่อนสัก ๗ วัน แล้วจึงจะให้คำตอบ และก่อนที่พระเถระจะกลับ ทรงถวายลิงตัวหนึ่งแก่พระเถระโดยขอร้องว่าอย่าล่ามโซ่ เมื่อพระเถระนำลิงมาเลี้ยงที่วัดโดยไม่ล่ามโซ่ก็สร้างความโกลาหลวุ่นวายขึ้นตามประสาลิงจนพระเถระทนไม่ไหว สามวันต่อมาจึงนำลิงไปส่งคืน สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงตรัสว่า “พระคุณเจ้าเอาลิงตัวเดียวไปเลี้ยงโดยไม่ล่ามโซ่ มันยังทำความเดือดร้อนถึงเพียงนี้ แต่โยมเลี้ยงคนทั้งประเทศ ถ้าโยมปกครองคนทั้งประเทศโดยไม่ใช้กฎหมายและระเบียบวินัยแล้ว บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร” เมื่อได้ฟังดังนั้น พระเถระก็ยอมรับความจริงว่า การปกครองคนหมู่มาก จำเป็นต้องมีกฎหมายและระเบียบวินัย มิฉะนั้นบ้านเมืองจะวุ่นวายเหมือนการเลี้ยงลิงโดยไม่ล่ามโซ่นั่นเอง

        เรื่องนี้สอนให้เห็นชัดว่าความมีระเบียบวินัยเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการอยู่ร่วมกัน เพราะระเบียบวินัยเป็นเครื่องฝึกให้คนรู้จักระวังตัว รู้จักควบคุมตัวเอง และรู้จักเชื่อฟัง ไม่ก่อปัญหาแก่คนอื่น คนมีระเบียบวินัยจึงเป็นคนที่มีคุณสมบัติในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ใช่แต่เท่านั้น ระเบียบวินัยยังเป็นเครื่องหนุนให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปอย่างถูกต้องสุจริต และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย ทางพระจึงสอนว่า วินัยที่ศึกษาและปฏิบัติดีแล้วเป็นมงคลยิ่งของชีวิต


ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ธรรมะพาสร้างเงินเหลือเก็บ

ธรรมะกับชีวิต ตอน ธรรมะพารวย

@@@ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ธรรมะพาสร้างเงินเหลือเก็บ ...  ท่านทั้งหลายเคยได้ยินประโยคนี้หรือไม่ “งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข” คำขวัญดังกล่าวนี้ แสดงให้ทราบชัดว่า เงินมีความสำคัญในชีวิตของคนเรา ปัญหาสำคัญเกี่ยวกับเรื่องเงินก็คือ มีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุทำให้มักจะไม่มีรายเหลือ วิธีแก้ปัญหานี้ มีท่านผู้รู้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจไว้ ๗ วิธี คือ
       ๑. ให้ตัดส่วนเกิน หมายความว่า ให้ตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตออก เช่น เครื่องดองของเมา เป็นต้น ถ้าตัดส่วนเกินออกไปได้ ก็จะทำให้มีเงินเหลือจากส่วนนี้อย่างแน่นอน
       ๒. อย่าเพลินใช้จ่าย เมื่อมีรายได้ เช่น ได้รับเบี้ยเลี้ยง หรือเงินเดือนมา อย่ารีบใช้จ่ายด้วยความอยาก แต่ให้ถามตนเองก่อนว่า จำเป็นหรือไม่ การไม่รีบซื้อหรือดึงเวลาไว้ระยะหนึ่ง ภายหลังความอยากจะค่อย ๆ ลดลงเอง
       ๓. ให้ยินดีในสิ่งที่ตนได้ พอใจในสิ่งที่ตนมี สิ่งของอะไรที่ตนมีอยู่ ถ้ายังมีสภาพพอใช้ได้อยู่ ก็ให้ใช้สิ่งนั้นไปก่อน อย่าอับอายเพราะเห็นว่าเป็นของเก่าหรือตกรุ่น
       ๔. ให้ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกเดือน ให้ทำรายการรับและรายจ่ายแต่ละเดือนให้เป็นระบบ เพื่อคอยเตือนสติว่ายังมีเหลืออยู่เท่าไหร่ จะได้ไม่เผลอตัว
        ๕. อย่าลืมคำเตือนของพระ ที่เตือนว่า ความยากจนเป็นทุกข์ในโลก การกู้หนี้ก็เป็นทุกข์ในโลก
       ๖. ทุกขณะให้มีเงินติดกระเป๋าไม่มาก ในแต่ละวันให้มีเงินติดตัวเท่าที่จำเป็น บวกกับเงินสำรองที่จำเป็นต้องใช้ถ้ามีปัญหาฉุกเฉินเฉพาะหน้า การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการฝึกวินัยในการใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
       ๗. ให้เหลือฝากทุกเดือน หมายความว่า ในแต่ละเดือนให้มีเงินเหลือเก็บหรือมีรายเหลือ ซึ่งการที่จะมีรายเหลือนั้น เพียงเราปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง ๖ ข้อข้างต้นอย่างจริงจัง ก็เห็นผลได้แล้ว
      อันว่า เงินนั้น วิธีที่จะได้มานั้นแสนลำบาก แต่กลับใช้ไปอย่างง่ายดาย ถ้ามีวิธีข้างต้นเป็นบัญญัติ ๗ ประการ คอยกำกับจิตใจ คอยเตือนสติเอาไว้ คิดว่าอย่างน้อยก็คงจะทำให้เราๆ ท่าน มีพอกิน พอใช้ และมีเหลือเก็บบ้าง ไม่มากก็น้อย ... ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ธรรมะพาสร้างเงินเหลือเก็บ

#ธรรมะก่อนนอน! เรื่อง วิธีมองคน

ธรรมะก่อนนอน ตอน วิธีมองคน
     $ธรรมะก่อนนอน ประจำวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่อง วิธีมองคน >>> ถ้าพิจารณาตำรายาแผนโบราณของไทย จะเห็นได้ว่าต้นไม้ทุกชนิด หากนำมาศึกษาวิจัยอย่างดีแล้ว จะมีสรรพคุณนำมาเป็นตัวยาได้ โดยแต่ละชนิดต่างก็มีสรรพคุณแตกต่างกันไป กล่าวคือ บางต้นสรรพคุณอยู่ที่เปลือก บางต้นสรรพคุณอยู่ที่ใบ บางต้นสรรพคุณอยู่ที่แก่น บางต้นสรรพคุณอยู่ที่ราก บางต้นสรรพคุณอยู่ที่เมล็ด บางต้นมีสรรพคุณทั้งห้า คือทุกส่วนของต้นไม้นั้นล้วนมีสรรพคุณเป็นยาทั้งสิ้น เป็นต้น เมื่อนำจุดดีของไม้แต่ละชนิดมาปรุงรวมกันเข้า ก็จะได้ยาที่มีสรรพคุณรักษาโรคร้ายต่างๆ ให้หายได้ แต่การค้นหาจุดดีที่เป็นตัวยาทุกส่วนในต้นเดียวกัน นั้น ย่อมเป็นการยาก
     คนเราก็เช่นกัน เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบ จะเห็นว่าแต่ละคน ล้วนมีดีอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น เพียงแต่จุดดีของเขา แตกต่างกันไป กล่าวคือ บางคนมีการศึกษาดี บางคนพูดดี บางคนทำงานดี บางคนมีความซื่อสัตย์ หรือบางคน มีความกล้าหาญ เป็นต้น แต่การที่จะหา ความดีทุกอย่าง จากคนๆ เดียว ย่อมเป็นเรื่องยาก การตระหนักถึงข้อเท็จจริงได้ เช่นนี้ จะช่วยทำให้การดำเนินชีวิตในสังคม เป็นไปอย่างถูกต้อง เพราะจะทำให้ เกิดผลดี ๓ ประการคือ
     ๑. ในฐานะผู้ปกครอง หรือผู้บริหาร จะทำให้สามารถดูคนออกและใช้คนเป็น คือ ใช้ให้เหมาะสมกับงาน แต่ละประเภท ดุจแพทย์ผู้ชำนาญ สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรชนิดต่างๆ ได้ครบถ้วน
     ๒. จะเป็นเหตุให้เกิดเมตตา และให้อภัยเมื่อผู้อื่นทำผิดพลาด คือ เลิกล้มความคิดให้ผู้อื่นเป็นไปตามความต้องการของตน
     ๓. เป็นเหตุให้มีสติย้อนระลึกถึงตนเองว่า มีฐานะเช่นเดียวกับผู้อื่น คือมีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี และคิดปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นได้ตามลำดับ
 การ "มองผู้อื่นในแง่ดี" มากเกินไป อาจเป็นความประมาท และเกิดความเสียหายได้ แต่การ "มองแง่ดีของผู้อื่น" นั้น มีประโยชน์อย่างเดียว เพราะจะทำให้เข้าใจ เพื่อนมนุษย์ได้ถูกต้องขึ้น และสามารถหยิบ "แง่ดี" ของผู้อื่นมาใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ตนได้ ดังคำภาษิตของท่าน พุทธทาส ภิกขุที่กล่าวไว้ว่า
จะหาคนมีดีโดยส่วนเดียว
อย่าไปเที่ยวค้นหาสหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคยมองแต่ดีมีคุณจริง

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ภาวนา

ธรรมะกับชีวิต ตอน ภาวนา
### ธรรมะกับชีวต เรื่อง ภาวนา ... เมื่อเอ่ยถึงคำว่า ภาวนา ก็อาจมีคำถามตามมาว่า ภาวนาคืออะไร ใครควรภาวนา ภาวนาแล้วได้อะไร บางครั้งก็พาลเข้าใจไขว้เขวไปว่า การภาวนาเป็นเรื่องของคนแก่หรือนักบวช เท่านั้น ความจริงแล้ว ภาวนามีความหมายว่า การทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้น ได้แก่ การทำความดีต่าง ๆ ให้เกิดมีขึ้นที่กาย วาจา ใจ ของเรานั่นเอง คำพูดหลาย ๆ คำ เช่น การศึกษา การอบรม การสัมมนา การวิจัย เป็นต้น ล้วนมีความหมายเดียวกับการภาวนาทั้งสิ้น จุดมุ่งหมายที่ตรงตัวในการภาวนาก็คือ การกำจัดความโง่เขลาออกจากใจ หรือวิธีแก้โง่นั่นเอง ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่ไม่อยากโง่ จะต้องหมั่นภาวนาในเรื่องต่อไปนี้คือ

  • การศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ นับเป็นขั้นต้นของภาวนา พยายามหาความรู้ ใส่ตัว ความรู้ที่จำเป็นโดยย่อมี ๒ อย่างคือ ความรู้ทางโลกและความรู้ทางธรรม จะเรียกว่า วิชาชีพ และวิชาประคองชีพก็ได้ ผู้รู้ท่านเปรียบเทียบไว้น่าฟังว่า วิชาชีพเหมือนอาหาร วิชาประคองชีพ เหมือนยากันบูด จะขาดเสียมิได้
  • การวิจัยงานที่ทำ หมายถึง การหัดทำงานด้วยปัญญา คิดอ่านหาวิธีทำให้ ก้าวหน้ากว่าเดิม หัดยกเลิกเพิกถอนการกระทำที่งมงายเสีย ทำด้วยเหตุผล ไม่เอาแต่ใจตัวเป็นใหญ่
  • สมถะ คือ การทำใจให้หายว้าวุ้น พบกับความสุขสงบ เริ่มด้วยหัดสงบกาย ต่อจากนั้นก็หัดสงบวาจา สุดท้ายก็หัดสงบใจ
  • วิปัสสนา คือ การใช้ปัญญาศึกษาให้รู้แจ้งสภาวะทั้งหลายตามความเป็นจริง เมื่อ รู้แจ้งแล้วก็จะปฏิบัติต่อเรื่องนั้น สิ่งนั้นได้ถูกต้องตามที่ควรเป็น

        สรุปก็คือ เรียน วิจัย สงบจิต พิจารณาความจริง นี่แหละคือ สิ่งที่เป็นงานของภาวนา ซึ่งจะเห็นได้ว่า มิใช่เรื่องยากเย็น เกินความสามารถที่จะทำได้แต่ประการใดเลย เมื่อภาวนาบ่อยเข้าก็กลายเป็นความชำนาญ ถึงขั้นสามารถปฏิบัติได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ อันจะนำความสงบเย็น ความสุข และความเจริญมาสู่ตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ธรรมะก่อนนอน ตอน เรื่องของลุงบุญ

ธรรมะก่อนนอน เรื่องของลุงบุญ

ธรรมะก่อนนอน ตอน เรื่องของลุงบุญ
       กาลครั้งหนึ่ง ลุงบุญอุ้มลูกชายวัย ๔ ขวบ ขึ้นรถยนต์โดยสารปรับอากาศเพื่อเดินทางไปทำธุระ ณ ที่แห่งหนึ่ง เมื่อขึ้นไปแล้วได้สังเกตเห็นเบาะว่างอยู่ที่หนึ่งจึงพาลูกไปนั่ง ขณะนั่งลงได้เบียดถูกชายคนหนึ่งซึ่งนั่งอยู่เบาะติดกัน ลุงบุญรีบกล่าวคำขอโทษ พอสิ้นเสียงคำขอโทษ ชายคนนั้นต่อยที่ต้นแขนของลุงบุญพร้อมพูดว่า "นี่น่ะขอโทษ" ลุงบุญทั้งเจ็บและโกรธ พยายามเปลี่ยนความโกรธให้เป็นความเมตตากรุณา คิดว่า "ชายคนนี้คงจะโกรธใครมา หรือมีเรื่องไม่สบายใจอยู่ก่อน พอถูกเราเบียดจึงระบายความโกรธใส่เรา เขาได้ต่อยเราแล้วคงจะสบายใจขึ้น" พอลุงบุญนึกมาถึงตรงนี้ ความโกรธและความเจ็บค่อย ๆ จางหายไป เกิดความสบายใจขึ้นแทนที่ ลุงบุญโดยสารรถคันนั้นไปถึงจุดหมายปลายทางโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอะไรเกิดขึ้น ลุงบุญใช้วิธีคิดอันมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน ทำให้สามารถเอาชนะความโกรธและเกิดความสบายใจขึ้นมาแทนที่ สมจริงดังพระพุทธพจน์ว่า "โกธัง ฆัตวา สุขัง เสติ แปลว่า ฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข"
        วิธีคิด คือ การทำงานของจิตอย่างหนึ่ง ทั้งนี้สุดแต่ใครจะกำหนดกรอบความคิดของตนไปทางใด กล่าวคือ เมื่อบุคคลประสบกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าเขาใช้วิธีคิดที่มีโทสะเป็นพื้นฐาน เหตุการณ์นั้น ๆ ก็จะลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่โต นำโทษทุกข์มาให้ แต่ถ้าเขาใช้วิธีคิดอันมีเมตตากรุณาเป็นพื้นฐาน เหตุการณ์นั้น ๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย สงบเย็น เกิดประโยชน์สุขขึ้นมาแทนที่

ธรรมะสอนชีวิต เรื่อง วางใจ

ธรรมะสอนชีวิต ตอน วางใจ
      ธรรมะสอนชีวิต ประจำวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๙ เรื่อง วางใจ ... หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี สอนไว้ตอนหนึ่งว่า ผู้ใดยึดในทุกข์ ก็ประดุจโดนงูเห่ากัด ผู้ใดยึดในสุข ก็เหมือนจับงูเห่าข้างหาง และอาจจะโดนมันแว้งกัดในภายหลัง คำสอนดังกล่าวให้แนวคิดว่า ทุกข์สุขเปรียบประดุจงูเห่า แม้แต่คนที่ประสบกับความสุข ก็ยังต้องมีสติระมัดระวังอยู่เสมอ ไม่จำต้องกล่าวถึงคนที่กำลังมีทุกข์

       ในทางธรรม ความทุกข์เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดรู้ เมื่อรู้แล้วก็หาวิธีแก้ไข ถ้ามัวโศกเศร้ารำพัน ท้อแท้เสียใจอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป ชีวิตก็ไม่แยกออกจากทุกข์ เรียกว่ายึดในทุกข์ ต้องอยู่กับความเจ็บปวดทรมานเหมือนโดนงูเห่ากัด แต่ถ้าได้สุขแล้วไม่รู้เท่าทันก็จะลืมตัวจนเกิดการยึดมั่นในสุข ไม่ได้แบ่งจิตไว้รองรับเมื่อคราวสุขนั้นสิ้นไป เมื่อเวลานั้นมาถึงก็ต้องเป็นทุกข์อยู่ดี ไม่ต่างกับจับงูเห่าข้างหาง ถึงจะไม่โดนกัดในทันทีแต่ไม่ช้าก็ต้องมีภัยเป็นแน่

       เฉพาะตัวเรื่องจริง ๆ ของสุขหรือทุกข์ไม่ได้มีอิทธิพลต่อมนุษย์เสมอไป การยืนกลางแดดห้านาทีสิบห้านาที บางคนเป็นทุกข์จนทนไม่ได้ แต่บางคนทนได้สบาย ๆ เรื่องเดียวกันแท้ ๆ แต่ทำให้คนสองคนเป็นทุกข์ไม่เท่ากัน นอกจากเหตุผลในด้านสุขภาพร่างกายแล้ว ก็มีเหตุผลด้านจิตใจนี่แหละเป็นตัวกำหนด คือถ้าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นก็จะต้องรู้จักวางจิตใจให้ถูก ไม่เก็บมายึด มาปรุงแต่ง ในทางที่จะเพิ่มปัญหาขึ้นไปอีก แล้วเมื่อนั้นปัญหาก็จักน้อยลงเอง ... สาธุ

#ธรรมะสอนชีวิต

ธรรมะสอนชีวิต ตอน วันสงกรานต์

ธรรมะสอนชีวิต เรื่อง วันสงกรานต์

{ธรรมะสอนชีวิต} ตอน วันสงกรานต์ ... วันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่แบบดั้งเดิมของไทย ต่อมาภายหลังแม้จะกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามสากลนิยมแล้วก็ตาม แต่ชาวไทยก็ยังถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันสำคัญยิ่งวันหนึ่ง เมื่อวันสงกรานต์เวียนมาถึงต่างก็พร้อมใจกันจัดกิจกรรมดี ๆ ขึ้นมากมาย เช่น การทำบุญตักบาตร ถือศีล ฟังธรรม นำอัฐิบรรพชน ญาติมิตรที่ล่วงลับมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ก่อพระเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ ปล่อยนกปล่อยปลา รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ นำผ้าใหม่มาเปลี่ยนให้ท่าน เป็นต้น นอกจากนั้นก็จะเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน แม้จะล่วงล้ำก้ำเกินกันบ้างก็ยอมอภัยไม่ถือสา ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ส่วนใหญ่ก็แสดงออกถึงความเป็นคนมีหลักธรรมประจำใจทั้งสิ้น ที่เห็นได้ชัดเจนคือ "ได้แสดงกตัญญู ได้รู้เมตตา ได้สามัคคี ได้มีน้ำใจ และได้ให้อภัยแก่กัน"
      ได้แสดงกตัญญู คือได้แสดงออกถึงการรู้คุณของพระรัตนตรัย บิดามารดา ญาติมิตร และผู้ที่เคารพนับถือ
       ได้รู้เมตตา คือได้สัมผัสกับความรักความเมตตาที่มีให้แก่กัน
      ได้สามัคคี คือได้แสดงออกถึงความพร้อมเพรียงความสมัครสมานกลมเกลียวของครอบครัว ชุมชน และหมู่คณะ
       ได้มีน้ำใจ คือได้ปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความมีน้ำใจต่อผู้อื่น
      ได้ให้อภัยแก่กัน คือความไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน จะหนักนิดเบาหน่อยก็รู้จักให้อภัยกันได้
       เพราะการ "ได้แสดงกตัญญู ได้รู้เมตตา ได้สามัคคี ได้มีน้ำใจ และได้ให้อภัยแก่กัน" นี่แหละ จึงทำให้วันสงกรานต์มีความหมายยิ่งขึ้น เป็นวันที่สะท้อนให้เห็นถึงความงดงามแห่งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สามารถอวดชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ ... นี่ต่างหากจึงถึงเป็นแก่นสารของวันสงกรานต์อย่างแท้จริง!

"ธรรมะก่อนนอน" ตอน วันเกิด

"ธรรมะก่อนนอน" เรื่อง วันเกิด
"ธรรมะก่อนนอน" ตอน วันเกิด &&& เมื่อถึงวันเกิด จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่หาโอกาสทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น ตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา หรือบริจาคทรัพย์เป็นสาธารณกุศล เป็นต้น วันเกิดจึงจัดเป็นวันที่มีประโยชน์วันหนึ่ง เพราะได้กระทำสิ่งที่เป็นสาระแก่ตัวเองและคนอื่น ๆ แม้จะเป็นเพียงปีละครั้งก็ตาม

        ในทัศนะทางศาสนาวันเกิดมีอยู่ ๒ ลักษณะ คือวันเกิดรูปกายและวันเกิดธรรมกาย วันเกิดรูปกาย ก็คือวันที่เราเกิดจากท้องแม่นั่นเอง ซึ่งทุกคนต้องผ่านการเกิดลักษณะนี้เหมือนกันหมด ส่วนวันเกิดธรรมกายก็คือวันที่คุณงามความดีทั้งหลายเกิดขึ้นในใจของเรา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากเรามีรูปกายแล้ว เช่น เกิดความรู้สึกละอายชั่วกลัวบาป เกิดเมตตากรุณาต่อกัน เป็นต้น จนสูงสุดคือการเกิดมรรคผลนิพพานที่ทำให้สิ้นกิเลสสิ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง การเกิดทั้ง ๒ ลักษณะนี้ ถือว่าเกิดได้ยาก เพราะการที่รูปกายจะอุบัติแต่ละครั้งนั้น มีสัตว์ทั้งหลายแย่งกันเกิดจำนวนมาก แต่ก็เกิดได้เพียงชีวิตเดียว นอกจากนั้นในวันเกิดก็เป็นวันที่แม่และลูกต้องเสี่ยงอันตรายไม่ต่างอะไรกับทหารที่เข้าสู่สนามรบ แม้เมื่อเกิดมาแล้วการที่จะดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัยจนสิ้นอายุขัยจริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ยาก การเกิดของรูปกายจึงต้องมีบุญเก่าหนุนเนื่องพอสมควรจึงจะเกิดและดำรงอยู่ได้ตลอด ส่วนการเกิดขึ้นของธรรมกายโดยเฉพาะมรรคผลนิพพานนั้น ที่ว่ายาก เพราะนอกจากต้องอาศัยบุญเก่าอย่างมากหนุนเนื่องแล้ว ยังต้องอาศัยความเพียรพยายามในการปฏิบัติอีกด้วย จึงจะสร้างให้เกิดขึ้นได้ แต่เมื่อสร้างให้เกิดขึ้นได้แล้ว ชีวิตก็มีคุณค่ามหาศาล สามารถทำประโยชน์ได้มากทั้งแก่ตนเองและสังคมส่วนรวม

       วันเกิดนอกจากเป็นวันที่ต้องทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลแล้ว ควรเป็นวันที่ระลึกถึงชีวิตที่ได้มายากแสนยากอีกด้วย และควรถือโอกาสทบทวนคุณงามความดีว่าได้เกิดขึ้นแล้วมากน้อยเพียงใด หากปฏิบัติได้เช่นนี้วันเกิดจะเป็นวันที่มีคุณค่าแก่ชีวิตอย่างสูงสุดทีเดียว /// "ธรรมะก่อนนอน" ตอน วันเกิด


นิทานก่อนนอน ตอน วัดร้าง

นิทานก่อนนอน เรื่อง วัดร้าง
นิทานก่อนนอน ตอน วัดร้าง %!% นิทานก่อนนอนประจำวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๙ นำเสนอ ตอน วัดร้าง ... มีวัดร้างแห่งหนึ่ง ไม่มีใครรู้ว่าเหตุใดจึงร้างและร้างมาแต่เมื่อใด ภายหลังเมื่อชุมชนหนาแน่นขึ้น จึงมีการบูรณะให้เป็นวัดขึ้นมาใหม่ และเพื่อเป็นหลักประกันว่าวัดจะไม่ร้างอีก ทั้งญาติโยมและคณะสงฆ์จึงเลือกเอาเฉพาะพระที่มีความสามารถเด่นเป็นพิเศษมาจำพรรษา ได้พระที่เก่งด้านปฏิบัติธรรมรูปหนึ่ง เก่งทางด้านก่อสร้างรูปหนึ่ง และเก่งทางด้านเทศนาสั่งสอนอีกรูปหนึ่ง ทั้งสามรูปต่างทุ่มเทความรู้ความสามารถเต็มที่ วัดก็เจริญขึ้นจนวัดอื่นเทียบไม่ติด เป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนทั้งใกล้ไกล
        วันหนึ่ง พระทั้งสามรูปมานั่งวิเคราะห์กันว่า การที่วัดเจริญขึ้นอย่างมากเช่นนี้เป็นเพราะอะไร รูปที่หนึ่งบอกว่าเป็นเพราะการเทศนาสั่งสอนของผม จึงทำให้ญาติโยมเลื่อมใสศรัทธา เข้าวัดทำบุญสุนทานกันไม่ขาด วัดจึงเจริญขึ้นอย่างที่เห็น รูปที่สองแย้งขึ้นว่าอันการสั่งสอนให้เกิดความรู้อย่างเดียวนั้น พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่าเป็นแค่ใบลานเปล่า หาประโยชน์ไม่ได้ การที่ผมนำญาติโยมปฏิบัติกรรมฐานนี่ต่างหาก ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนาแล้วพากันอุปถัมภ์บำรุงวัดของเรา เรื่องอื่นนอกจากปฏิบัติกรรมฐานแล้วไม่มีประโยชน์ที่เป็นสาระทั้งสิ้น ทำให้รูปที่สามขัดขึ้นด้วยความไม่พอใจว่า คุณพูดอย่างนั้นก็ไม่ถูก วัดนี้ถ้าผมไม่เป็นผู้นำการก่อสร้างและพัฒนาขึ้นมา มันก็ต้องเป็นวัดร้างอยู่อย่างนั้น ทั้งสามรูปต่างถกเถียงยืนยันเฉพาะเหตุผลในแง่มุมของตน จนเกิดความขัดแย้งไม่ลงรอยกันตั้งแต่บัดนั้น และกลายเป็นความร้าวฉานที่รุนแรงขึ้นตามลำดับ จนการบริหารงานของวัดดำเนินการต่อไม่ได้ วัดก็เริ่มโทรม ญาติโยมก็เสื่อมศรัทธา ในที่สุดเลยกลายเป็นวัดร้างลงอีกครั้งหนึ่ง

       เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผูกขึ้นเพื่อสอนคน ให้เห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า คนเก่งมักมีด้านมืด อันได้แก่การหลงเข้าไปในความเก่งของตัว ทำให้ถูกครอบงำด้วยทิฐิมานะ คนเก่งจึงต้องคู่กับการมีสติรู้ตัวและปัญญารู้คิด เหตุการณ์เช่นเดียวกับเรื่องวัดร้างจึงจะไม่เกิดขึ้น ... นิทานก่อนนอน ตอน วัดร้าง

ธรรมะกับชีวิต ตอน วัฒนมุข

ธรรมะกับชีวิต 11

ธรรมะกับชีวิต ตอน วัฒนมุข *#$# คำว่า อบายมุข เป็นคำที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี อบายมุขนั้น แปลว่า ทางแห่งความเสื่อม เช่น เสื่อมจากทรัพย์ เสื่อมชื่อเสียง เสื่อมสุขภาพ เป็นต้น ทางแห่งความเสื่อมนั้นท่านแนะให้ระวังไว้หลายอย่าง เช่น การเสพสุราและของมึนเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่ว เกียจคร้านการงาน เป็นต้น แต่น้อยคนนักที่จะคุ้นเคยหรือได้ยินคำว่า วัฒนมุข ที่แปลว่า ทางแห่งความเจริญ เช่น เจริญด้วยอายุ เจริญด้วยสันติสุข เจริญด้วยทรัพย์ เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยธรรม เจริญด้วยความสำเร็จ เป็นต้น วัฒนมุขนั้นมี ๖ ประการ คือ

นิทานคุณธรรม ตอน วจีประหาร

นิทานคุณธรรม เรื่อง วจีประหาร

นิทานคุณธรรม ตอน วจีประหาร #$#  ในครั้งพุทธกาล ชายคนหนึ่งไม่พอใจพระพุทธเจ้าที่ทรงให้ญาติของตนบวชเป็นภิกษุ จึงเข้าไปเฝ้าแล้วด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย พระพุทธเจ้าทรงรอจนชายคนนั้นด่าจบ จึงตรัสถามว่า “ท่านเคยจัดของต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมที่บ้านบ้างหรือไม่” เมื่อเขาตอบว่า “เคย” จึงตรัสถามอีกว่า “ถ้าแขกไม่บริโภค ของเหล่านั้นจะตกเป็นของใคร” เขาตอบว่า “เป็นของข้าพเจ้าตามเดิม” พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกัน ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าตอบ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธตอบ เราไม่รับคำด่าของท่าน ฉะนั้น คำด่าเป็นต้น ย่อมตกเป็นของท่านตามเดิม”
       เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า การทำลายกันด้วยวาจาจะก่อทุกข์ได้ ก็ต่อเมื่อผู้ถูกด่ารับไว้เท่านั้น ถ้าไม่รับไว้ คำด่านั้นก็ไม่มีพิษสงอะไรกับจิตใจ ความโกรธ ความรุ่มร้อนต่าง ๆ จะถูกจำกัดขอบเขตให้อยู่เฉพาะในตัวของผู้สร้างมันขึ้นมาเท่านั้น เข้าทำนองของของตน เมื่อไม่มีผู้รับ ก็ต้องเป็นของตนวันยังค่ำ แม้คำเท็จ คำส่อเสียด เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน ในชีวิตจริง การจะมีสติและปฏิบัติได้อย่างนั้นอาจดูเหมือนเหลือวิสัย แต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า โดยปกติหากมีใครยื่นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาให้ ก็ต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นอะไร ใช้ประโยชน์ด้านไหน ดีหรือชั่ว ควรรับไว้หรือไม่ แล้วเหตุใด เมื่อมีผู้หยิบยื่นวาจาเป็นเครื่องประหารตัวเองมาให้ จึงจะรีบรับเอาด้วยความเต็มใจเล่า ทั้งที่พระพุทธองค์ก็ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างมาแล้ว
     เมื่อพูดถึงการประหัตประหารกันแล้ว คนส่วนมากมักนึกถึงการประหัตประหารกันด้วยกำลังทางกายและด้วยอาวุธต่าง ๆ แต่การใช้วาจาเป็นอาวุธสำหรับประหาร เรียกว่า วจีประหาร ก็สามารถประหัตประหารสร้างความหายนะแก่กันได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่าอาวุธอย่างอื่น โดยเฉพาะในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารเช่นปัจจุบันนี้

ธรรมะกับชีวิต ตอน หลุมฝังศพของคนเป็น

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง หลุมฝังศพของคนเป็น

ธรรมะกับชีวิต ตอน หลุมฝังศพของคนเป็น %%% นักปราชญ์กล่าวเป็นคติเตือนใจไว้ว่า "ความเกียจคร้านคือ หลุมฝังศพของคนเป็น" ความเกียจคร้าน หรือความขี้เกียจ หมายถึง ความไม่อยากทำหน้าที่การงาน ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับ ความขยันหมั่นเพียร ถามว่า ทำไมความเกียจคร้าน จึงเป็นดุจหลุมฝังศพของคนเป็น ตอบว่า เพราะบุคคลผู้เกียจคร้าน ถึงจะมีชีวิตอยู่ ก็เหมือนคนที่ตายแล้ว กล่าวคือ จะมีแต่ความล้มเหลว เอาดีในชีวิต และหน้าที่การงานไม่ได้เลย บุคคลผู้เกียจคร้านจึงหมดค่า เป็นที่น่ารังเกียจ เป็นเสนียดของสังคม ดังคำคมที่ว่า "ไม้เช็ดก้นดีกว่าคนขี้เกียจ คนขี้เกียจเป็นเสนียดสังคม, ขี้เกียจเป็นแมลงวัน ขยันเป็นแมลงผึ้ง" ดังนั้น ในทางพระพุทธศาสนาจึงจัดว่า ความเกียจคร้านเป็นอบายมุข คือ ทางแห่งความเสื่อมประการหนึ่ง
     ลักษณะของคนเกียจคร้าน ตามทรรศนะทางพระพทุธศาสนามี ๔ ประการคือ.-
     ๑. เกียจคร้าน (กุสีตะ) คือ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ เช่น ได้รับมอบหมายหน้าที่ การงานใดแล้ว ก็ปล่อยปละละเลย ไม่ทำหน้าที่การงานนั้น จนเกิดผลเสียหายแก่หน้าที่ การงาน
     ๒. ประพฤติทุจริต (ทุจจริตะ) คือ ประพฤติเสีย สร้างเหตุไม่ดี แต่อยากได้รับผลดีเหมือนคนอื่น
     ๓. ทำงานย่อหย่อน (สิถิละ) คือ ทำอะไรก็ทำล่นๆ ไม่ทำจริงๆ แต่อยากได้รับผลสำเร็จ
     ๔. ทำงานคั่งค้างอากูล (อากุละ) คือ ชอบผัดวันประกันพรุ่ง อ้างโน่น อ้างนี่ แล้วไม่ทำงาน

     วิธีแก้ความเกียจคร้าน คือ.-
     ๑. อย่าผัดวันประกันพรุ่ง - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่การงานแล้ว ควรรีบทำในทันที อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เช่นว่า เอาไว้พรุ่งนี้ก่อนค่อยทำ เป็นต้น
     ๒. รู้หน้าที่  - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่การงานแล้ว ควรศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจ และพยายามทำให้เรียบร้อยดีที่สุด และให้ทันเวลา
     ๓. สำนึกในหน้าที่ - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่ การงานแล้ว ควรมีความขยันหมั่นเพียรเอาใจใส่ มีความสำนึกว่า "เรามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้สำหรับเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว ก็เพราะหน้าที่การงานนี้ จึงเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของเรา"

    ดังนั้น ผู้หวังความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และหน้าที่การงาน จึงควรละนิสัยขี้เกียจ แล้วปลูกฝัง ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบในหน้าที่เสียตั้งแต่วันนี้ ... ธรรมะกับชีวิต

ธรรมะกับชีวิต ตอน โลกร้อน

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง โลกร้อน

ธรรมะกับชีวิต ตอน โลกร้อน ... เมื่อพูดถึงโลก คนส่วนมากก็มักนึกถึงโลกที่มีสัณฐานกลม ๆ หมุนรอบตัวเอง ๑ รอบใช้เวลา ๑ วัน หมุนรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบใช้เวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ที่กำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้น น้อยคนนักที่จะนึกถึงโลกอื่นซึ่งความจริงก็มีปัญหาไม่แพ้กัน
     คำว่าโลก แปลว่าสิ่งที่จะต้องเสื่อมสลายไป ในทางธรรมแบ่งไว้ ๓ ประเภท คือ สังขารโลกหนึ่ง โลกคือสังขาร ได้แก่สิ่งที่เกิดจากการปรุงแต่ง เช่นร่างกายและจิตใจ สัตว์โลกหนึ่ง โลกคือหมู่สัตว์ ได้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย และโอกาสโลก โลกคือแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่ ที่ว่าโลกร้อนนั้นมิใช่เฉพาะโลกคือแผ่นดินที่อาศัยอยู่นี้เท่านั้น แต่โลกคือสังขารและโลกคือหมู่สัตว์ แม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวกับปัญหาทางด้านอุณหภูมิอย่างที่เกิดในปัจจุบัน แต่เมื่อตกอยู่ในภาวะที่จะต้องเสื่อมสลายไม่เที่ยงแท้ ก็กลายเป็นเรื่องที่กระทบต่อชีวิต ถ้าบริหารจัดการไม่ดี จะทำให้เกิดสภาวะที่เรียกว่าร้อนยิ่งไปกว่าเรื่องโลกร้อนที่กำลังวิตกกันอยู่นี้เสียอีก รวมความว่าโลกทั้ง ๓ นี้ ทางศาสนาถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องบริหารจัดการด้วยกันทั้งสิ้น มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นโลกร้อนขึ้นได้
    วิธีบริหารจัดการโลกนั้น หากเป็นสังขารโลก ท่านสอนให้รู้เท่าทันความเป็นไปของมัน พยายามถอนความยึดมั่นถือมั่นเสียบ้าง จึงจะคลายทุกข์คลายร้อนได้ หากเป็นสัตว์โลก ท่านสอนให้มีเมตตาธรรมมีความรักใคร่ปรารถนาดีเป็นเครื่องป้องกันความเร่าร้อนวุ่นวายในการอยู่ร่วมกัน ในส่วนของโอกาสโลก ที่กำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกทีนั้น เมื่อสาเหตุหลักมาจากการกระทำของคน การบริหารจัดการ จึงขึ้นอยู่กับทุกคนที่จะต้องให้ความร่วมมือในมาตรการต่าง ๆ เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด และหยุดการสร้างมลพิษ เป็นต้น หากทำได้ก็จะเป็นการชะลอความเสื่อมสลายและความร้อนของโลกได้อย่างแน่นอน

ธรรมะกับความรัก ตอน โลกร่มเย็นด้วยกตัญญูกตเวที

ธรรมะกับความรัก เรื่อง โลกร่มเย็นด้วยกตัญญูกตเวที
ธรรมะกับความรัก ตอน โลกร่มเย็นด้วยกตัญญูกตเวที &*& มีคำที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี” คำกล่าวนี้นอกจากมุ่งเชิดชูคนที่มีความกตัญญู คือ รู้จักบุญคุณของผู้อื่น และกตเวที คือตอบแทนบุญคุณของผู้ที่ทำอุปการะแก่ตนโดยตรงแล้ว ยังให้แง่คิดที่เป็นเครื่องเตือนใจอีก ๒ ประการ ได้แก่

"ธรรมะก่อนนอน" เรื่อง โลกยามเช้า

"ธรรมะก่อนนอน" ตอน โลกยามเช้า

"ธรรมะก่อนนอน" เรื่อง โลกยามเช้า ธรรมะก่อนนอน ประจำวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ นำเสนอเรื่อง โลกยามเช้า ...  โลกในเวลารุ่งอรุณ ไม่ว่าจะมองไปทางทิศใดก็สามารถเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจน ไม่ต้องคาดคะเน หรือมองเห็นผิดพลาดเหมือนเวลากลางคืน อีกทั้งอากาศก็เย็นสบายให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต ครั้นพอตะวันลับขอบฟ้าไปแล้ว ความงดงามบนผืนโลกที่เรามองเห็นและชื่นชมอยู่ในยามเช้าก็ถูกปกคลุมด้วยความมืดแห่งราตรีกาล แม้จะมีแสงจันทร์หรือดวงดาวช่วยส่องให้สว่างอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้เห็นได้เพียงเลือนลาง ไม่ชัดเจนเท่าแสงอาทิตย์
        ภายในจิตใจของคนเราก็เช่นเดียวกัน เวลาใดมีความปลอดโปร่งแจ่มใส ไม่เศร้าหมองขุ่นมัว ก็เหมือนโลกในยามเช้าที่มีแสงสว่าง มีบรรยากาศที่สดชื่น คนที่มีอารมณ์เหมือนโลกยามเช้าเช่นนี้ แม้เขาจะอยู่ในกระท่อมซอมซ่อหรืออยู่ในสภาพที่สวมใส่เสื้อผ้าที่เก่าขาดวิ่น ก็มีความเบิกบานใจ ใจที่เบิกบานแจ่มใสนี้มีสภาพเป็นกุศล เป็นทางแห่งปัญญาและเอื้อต่อการรู้จักผิดชอบชั่วดี มีความรังเกียจละอายต่อการทำความชั่วทุกชนิด แต่ถ้าคราใดจิตใจถูกปกคลุมมืดมิดไปด้วยอำนาจของกิเลส มีโลภะ เป็นต้น ก็จะเป็นจิตใจที่ขาดพลัง ทำให้เห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เลือนลางหรือเห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น เห็นสิ่งสกปรกเป็นสะอาด เห็นบาปเป็นบุญ เห็นคุณเป็นโทษ เห็นผิดเป็นถูกไปได้
         ดังนั้น จึงควรสำรวจตัวเองอยู่ทุกขณะแล้วพยายามปรับจิตใจให้เป็นเหมือนโลกยามเช้าเพื่อชีวิตจะได้พบแต่สิ่งที่ดีงามในทุก ๆ วัน

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง เลือกกินเลือกใช้

ธรรมะก่อนนอน ตอน เลือกกินเลือกใช้

ธรรมะก่อนนอน เรื่อง เลือกกินเลือกใช้
      ในอดีต สิ่งอุปโภคบริโภคที่กระตุ้นจิตใจให้เกิดความต้องการมีน้อย มนุษย์จึงไม่ประสบปัญหาเรื่องการจับจ่ายใช้สอยกันมากนัก แต่ปัจจุบัน สิ่งอุปโภคบริโภคที่กระตุ้นความต้องการมีมากขึ้น ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย ถ้าพิจารณาจริง ๆ สิ่งอุปโภคบริโภคดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งเร้าเท่านั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการใช้จ่ายอย่างเกินความจำเป็นมี ๓ ประการ คือ
       ๑. สาเหตุจากความต้องการของคน ขึ้นชื่อว่าคนนั้นมักมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อตอนมีรายได้น้อยจะซื้อหาอาหารที่ไหนรับประทานก็ได้ขอให้ท้องอิ่มก็พอ เรียกว่าอยู่ง่ายกินง่าย ต่อมามีรายได้เพิ่มขึ้นก็ไม่อยากรับประทานอาหารแบบเดิมอีกต่อไป ต้องเปลี่ยนเป็นอาหารตามร้านหรูหรามีราคาแพงขึ้น ทั้ง ๆ ที่ร้านเดิม ก็อิ่มพอกัน มีคุณค่าทางอาหารพอกัน
       ๒. สาเหตุจากการเข้าใจโลกหรือมองโลกที่ไม่เหมาะสม คือเข้าใจว่า แบบแผนการดำรงชีวิตที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ที่มีลักษณะกระตุ้นเร้าให้เกิดการบริโภคและใช้จ่ายมากขึ้นนั้น เป็นแบบแผนที่ถูกต้อง ควรถือเป็นวิธีดำเนินชีวิตของคนปกติทั่วไป จึงพยายามที่จะดำเนินชีวิตตามแบบแผนนั้น ในที่สุดก็ต้องใช้เงินเกินกว่ารายได้ที่มี
       ๓. สาเหตุจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การที่คนเรามีการสื่อสารกับคนในสังคมและต้องการเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มคนในสังคม ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ชีวิตและการบริโภคอย่างสิ้นเปลืองได้ เช่น เห็นว่าถ้าใครใช้สินค้าตราอักษรอย่างนั้น หรือไปในสถานที่แห่งนั้นแล้วเป็นคนมีระดับ มีหน้ามีตา ก็ต้องพยายามทำอย่างนั้นบ้าง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของคนอื่น จึงมีคนจำนวนไม่น้อยที่แม้จะรู้ว่าต้องใช้จ่ายสูงและสิ้นเปลือง แต่ก็ยับยั้ง ชั่งใจไม่ได้
       ถ้ารู้เท่าทันสาเหตุของปัญหาแล้วรู้จักทำตัวเองเสียใหม่ โดยใช้ปัญญาและเหตุผลเป็นฐาน ก็จะทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถที่จะเลือกกินเลือกใช้ตามเหตุผลและความถูกต้องด้วยตนเอง ไม่กินใช้ไปตามแรงดึงดูดของสิ่งล่อ เมื่อนั้นแหละ ปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
**ธรรมะก่อนนอน

ธรรมะกับความรัก ตอน ลูกกตัญญู

ธรรมะกับความรัก เรื่อง ลูกกตัญญู

ธรรมะกับความรัก ตอน ลูกกตัญญู !!! ผู้ที่เป็นลูกทุกคน ย่อมมีหน้าที่ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ การตอบแทนพระคุณนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากในความรู้สึกของคนทั่วไป เพราะสามารถพบเห็นเข้าใจกันได้โดยสามัญ แต่ถ้าถามว่าพระพุทธศาสนาได้วางหลักการตอบแทนพระคุณท่านไว้อย่างไรบ้าง หลายท่านอาจจะนึกไม่ออก จึงขอนำวิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ปรากฏในสิงคาลกสูตร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของลูกกตัญญูมาแสดงไว้ดังนี้
       ๑. ท่านเลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ คือ เลี้ยงดูท่านเหมือนที่ท่านเลี้ยงดูเรามา โดยเฉพาะในยามที่ท่านไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ อย่าให้เข้าทำนองว่าลูกกี่คนพ่อแม่เลี้ยงได้หมด แม้จะยากลำบากเพียงใดก็ไม่ย่อท้อ แต่พ่อหรือแม่เพียงคนเดียว ลูกกลับเลี้ยงท่านไม่ได้ ปล่อยให้ท่านอดอยากไร้ที่พึ่ง น่าเศร้าใจยิ่งนัก
       ๒. ช่วยทำกิจของท่าน คือ เมื่อกิจอย่างใดอย่างหนึ่งของท่านเกิดขึ้น ก็ขวนขวายช่วยเหลือไม่ดูดาย ถือเสมือนเป็นกิจของตนหรือสำคัญยิ่งกว่ากิจของตน ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องจุกจิก เสียเวลา น่ารำคาญ
       ๓. ดำรงวงศ์ตระกูล คือ งดเว้นจากการกระทำซึ่งจะเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติของวงศ์ตระกูล ปฏิบัติในสิ่งที่จะเชิดหน้าชูตาให้ท่านเกิดความภาคภูมิใจ เป็นสุข และปลื้มปีติ
       ๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมที่จะรับทรัพย์มรดก คือ ปฏิบัติตัวให้ท่านไว้วางใจ เบาใจว่าจะสามารถรักษาทรัพย์สมบัติที่ท่านหามาด้วยความเหนื่อยยากได้ ไม่ประพฤติล้างผลาญ
       ๕. เมื่อท่านล่วงลับทำบุญอุทิศให้ คือ เมื่อท่านสิ้นไปแล้ว ก็ตอบแทนพระคุณท่านด้วยผลแห่งบุญกุศล หากท่านประสบทุกข์จะได้พ้นจากทุกข์ หากประสบสุขก็จะได้มีความสุขยิ่งขึ้นไป
       มนุษย์ทุกคนเมื่อเกิดมาแล้ว จะไม่ยอมเป็นลูกของใครเลยนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ และความเป็นลูกที่ติดตัวเราทุกคนอยู่นี้ก็เป็นของศักดิ์สิทธิ์ คือถ้าปฏิบัติถูกจะเกิดสิริมงคลอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะพลังความรักที่บริสุทธิ์ของพ่อแม่ยิ่งใหญ่และมีอานุภาพเพียงใด พลังแห่งความกตัญญูก็ทรงอานุภาพปานกัน ความเป็นลูกกตัญญูจึงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวที่ไม่ต้องไปแสวงหาจากที่อื่นเลย


ธรรมะกับชีวิต ตอน ลีลาชีวิต

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ลีลาชีวิต

ธรรมะกับชีวิต ตอน ลีลาชีวิต ... คำว่าลีลา หมายถึงท่าทางหรือท่วงทำนองของการกระทำ ชีวิตของทุกคนที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ก็ล้วนมีลีลาแตกต่างกันไปตามฐานะ เพศ และอาชีพ จึงยังไม่มีใครกล้าชี้ชัดลงไปว่าลีลาชีวิตของใครจะดีกว่ากัน เพราะทุกลีลาชีวิตก็ย่อมมีข้อดี ข้อด้อย หาสมบูรณ์แบบได้ยาก แต่เมื่อว่าโดยรวมแล้ว ท่านกำหนดลีลาชีวิตที่เป็นหลักใหญ่ ซึ่งเป็นลีลาที่สอดคล้องกับห้วงเวลาของชีวิตของคนเราไว้เป็น ๓ ระยะ คือ
       ๑. ลีลาชีวิตในประถมวัย เป็นระยะที่ต้องเน้นบทบาทหน้าที่ไปในเรื่องการศึกษาเล่าเรียน จึงต้องขวนขวายหาความรู้ไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการทิ้งความรู้ก็คือการทิ้งสมบัติภายในที่สามารถนำไปใช้สอยได้ตลอดชีวิต
       ๒. ลีลาชีวิตในมัชฌิมวัย ต้องให้ความสำคัญกับการประกอบหน้าที่การงานโดยอาศัยทั้งความรู้ที่ศึกษาเล่าเรียนมา และไหวพริบปฏิภาณ รวมทั้งกำลังกาย และกำลังใจที่กำลังอยู่ในระยะเข้มแข็งสมบูรณ์เต็มที่ เป็นเครื่องมือ
       ๓. ลีลาชีวิตในปัจฉิมวัย ต้องเก็บเกี่ยวบุญกุศลและความสงบร่มเย็นให้แก่ตนเอง เผื่อแผ่ความดีงามให้แก่ผู้อื่น และวางตัวให้สมเป็นปูชนียบุคคลของคนรุ่นหลัง
       อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า ถ้ายังเด็กอยู่จะทำบุญกุศลไม่ได้ ถ้ายังอยู่ในวัยทำงานจะศึกษาเล่าเรียนไม่ได้ เพียงแต่ต้องไม่ทิ้งหลักใหญ่ที่ควรยึดไว้เป็นเป้าหมายชีวิตในแต่ละช่วงจังหวะ มิฉะนั้น ท่วงทำนองหรือการกระทำนั้นก็จะเป็นลีลาที่ผิด รวมถึงผิดเวลา อันเป็นการทำให้ชีวิตพลาดจากประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ลิ้น

ธรรมะกับชีวิต ตอน ลิ้น

ธรรมะกับชีวิต เรื่อง ลิ้น ...  อีสปเป็นนักเล่านิทานเป็นคติสอนใจที่มีชื่อเสียง ตามประวัติกล่าวว่า เขาทำงานเป็นทาส วันหนึ่ง นายใช้ให้ไปหาซื้อของที่ดีที่สุดมาปรุงอาหาร อีสปซื้อลิ้นโคมาให้นายทุกวัน จนนายประหลาดใจจึงถามว่าลิ้นโคดีวิเศษอย่างไร ถึงได้ซื้อมาทุกวัน อีสปอธิบายว่า ลิ้นเป็นของประเสริฐสุด รักกันก็เพราะลิ้น ช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็เพราะลิ้น ลิ้นเป็นสิ่งที่มีอานุภาพสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ และทำให้โลกนี้เป็นที่น่ารื่นรมย์ ด้วยเหตุนี้ ลิ้นจึงเป็นของดีที่สุด เมื่อนายได้ฟังคำอธิบายของอีสปจึงสั่งใหม่ว่า ตั้งแต่นี้ไปให้ซื้อของที่เลวที่สุดมาปรุงอาหาร อีสปก็ซื้อลิ้นโคมาอีก ครั้นนายถามก็อธิบายว่า อะไรในโลกนี้จะเลวไปกว่าลิ้นเป็นไม่มี ทำให้คนเกลียดชังกันก็เพราะลิ้น ทะเลาะวิวาทกันก็เพราะลิ้น ติดคุกติดตะรางหรือบางครั้งถึงตายก็เพราะลิ้น ด้วยเหตุนี้เอง ลิ้นจึงเป็นของเลวที่สุด
      การพูดจาปราศรัยเป็นเรื่องต้องระมัดระวัง และควรฝึกฝนอบรมให้ดีงามอยู่เสมอ ด้วยหลักปิยวาจา ๕ ประการ คือ ๑. เนฬา พูดไม่มีโทษภัย ๒. กัณณะสุขา เจรจาให้เสนาะหู ๓. หะทะยังคะมา ทุกผู้ดื่มด่ำจับใจ ๔. พะหุชะนะมะนาปา คนส่วนใหญ่ชอบ ๕. โปรี อยู่ในกรอบของภาษาชนเมือง และเว้นอัปปิยวาจา อย่างเด็ดขาด นั่นคือ คำด่า คำประชด คำกระทบกระแทก คำแดกดัน และคำหยาบคาย
       เมื่อเรามีของที่มีทั้งด้านดีที่สุดและเลวที่สุดอยู่ในตัวอย่างนี้แล้ว ก็จงมีสติเลือกใช้แต่เฉพาะด้านที่ดีที่สุดเถิด เพราะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ตนเองและหมู่คณะอยู่กันอย่างเป็นสุข มีความเข้าอกเข้าใจและเป็นไปเพื่อความสามัคคีอันเป็นที่ปรารถนาของทุกคน

นิทานคุณธรรม ตอน ลิงแย่งผลไม้

นิทานคุณธรรม เรื่อง ลิงแย่งผลไม้

มีลิงตัวเล็ก ๆ สองตัวไปพบผลไม้ใหญ่หนึ่งผล ลิงทั้งสองจึงกระโดดเข้าตะครุบพร้อม ๆ กัน แล้วก็ยื้อแย่งผลไม้นั้นไปมา ต่างฝ่ายก็พูดว่า "ผลไม้นี้ของฉัน ฉันเห็นก่อน" ถกเถียงกันอยู่พักใหญ่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ ถึงแม้ลิงตัวหนึ่งจะเกิดความคิดว่า "เราควรแบ่งผลไม้กันคนละครึ่งดีกว่า" แต่ก็เกิดปัญหาอีกว่าจะมอบให้ใครเป็นคนแบ่ง เพราะถ้าให้ลิงตัวหนึ่งเป็นคนแบ่ง ลิงอีกตัวก็กลัวว่าตัวจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ได้ส่วนแบ่งที่น้อยกว่า แล้วลิงทั้งสองก็เถียงกันอีกว่า "ฉันแบ่งเอง ฉันแบ่งเอง" ในที่สุดก็ตกลงใจไปหาลิงตัวใหญ่ให้เป็นคนแบ่งผลไม้ให้
           ฝ่ายลิงตัวใหญ่กล่าวว่า "เราจะแบ่งให้เจ้าได้เท่า ๆ กันอย่างยุติธรรม" ว่าแล้วก็แบ่งผลไม้ออกเป็นสองชิ้น ชิ้นใหญ่ไว้ในมือขวา ชิ้นเล็กไว้มือซ้าย แล้วก็มองดูผลไม้ทั้งสองชิ้น เมื่อเห็นชิ้น ในมือขวา ใหญ่กว่า ก็กัดกินชิ้นนั้นเพื่อให้เท่ากับชิ้นในมือซ้าย พอกินเสร็จก็มองดูผลไม้ทั้งสองชิ้นอีกครั้ง และเห็นว่าชิ้นในมือซ้ายกลับใหญ่กว่า ก็กัดกินชิ้นนั้นทำเช่นนี้จนผลไม้หมดเกลี้ยงทั้งสองชิ้น ปล่อยให้ลิงตัวเล็กทั้งสองตัวนั่งมองหน้ากัน แล้วก็ทำตาปริบ ๆ ด้วยความเสียดาย
           ถ้าลิงทั้งสองอาศัยความสามัคคีปรองดองกัน สามารถรอมชอมกันได้ ไม่ห่วงแต่ว่าจะได้มากหรือน้อย มีความไว้วางใจกัน ให้เกียรติกัน ยอมให้ใครก็ได้เป็นผู้แบ่งปัน หรือถ้ามีความสันโดษ คือยินดีในส่วนที่ตนได้ พอใจในส่วนที่ตนมี เป็นต้น ลิงตัวเล็กทั้งสองย่อมได้ลิ้มรสผลไม้อันโอชะนั้นอย่างแน่นอน แต่เป็นเพราะขาดความสามัคคี มีแต่ระแวงซึ่งกันและกัน อาศัยแต่ความโลภเป็นที่ตั้ง มันจึงสูญเสียผลไม้ที่ควรได้อย่างน่าสงสาร ... นิทานคุณธรรม ตอน ลิงแย่งผลไม้

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget