แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

นิทานธรรมะ เรื่อง เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 1 การนอนจนตะวันโด่ง


เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 1 การนอนจนตะวันโด่ง
   ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์คนหนึ่ง เกิดความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเฉพาะเรื่องคุณธรรม ความดีทั้งนั้น ก็คงจะทรงทราบแต่เรื่องความดีความเจริญเท่านั้น ไม่ทรงทราบถึงเรื่องความพินาศเสียหาย จึงเข้าไปกราบทูลถามว่า พระองค์ทรงทราบ เรื่องความพินาศเสียหายบ้างหรือไม่ พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า พระองค์มิใช่ทรงทราบ แต่เรื่องความดีความเจริญอย่างเดียว แม้เรื่องความพินาศเสียหายก็ทรงทราบ ครั้นแล้วจึงตรัสบอก เหตุแห่งความพินาศเสียหาย รวม 6 ประการ และทรงย้ำว่า ถ้าใครประพฤติเหตุทั้ง 6 ประการนี้ จะต้องพบกับ ความพินาศอย่างแน่นอน
       เหตุแห่งความพินาศ 6 ประการ คือ
       1. การนอนจนตะวันโด่ง

       2. ความเกียจคร้าน
       3. ความดุร้าย
       4. การผัดวันประกันพรุ่ง
       5. การเดินทางไกลคนเดียว
       6. การเป็นชู้กับคู่ครองผู้อื่น
       เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 1 คือการนอนจนตะวันโด่งนั้น แปลว่า นอนตื่นสาย แต่ความหมายโดยตรง ก็คือ การเป็นคนเห็นแก่นอน จริงอยู่แม้การนอน จะเป็นความจำเป็น สำหรับชีวิต แต่ถ้านอนมากเกินไป ก็จะเป็นโทษได้เหมือนกัน ทางการแพทย์ กล่าวไว้ว่า ตามปกติทารกที่เกิดใหม่ นอนวันละ ๑๘ ถึง ๒๐ ชั่วโมง เด็กที่กำลังเจริญเติบโต นอนวันละ ๑๒ ถึง ๑๔ ชั่วโมง ผู้ใหญ่วัยทำงาน นอนวันละ ๗ ถึง ๙ ชั่วโมง และคนสูงอายุ นอนวันละ ๕ ถึง ๗ ชั่วโมง ส่วนนักปราชญ์ ทางธรรมกล่าวไว้ว่า กลางคืน ๑๒ ชั่วโมงนั้น ผู้รับผิดชอบการแผ่นดิน นอนเพียง ๓ ชั่วโมง นักปราชญ์ราชบัณฑิตนอน ๖ ชั่วโมง พ่อค้า นักธุรกิจนอน ๙ ชั่วโมง และสัตว์เดรัจฉาน นอนทั้ง ๑๒ ชั่วโมง
       เท่าที่รู้สึกกันทั่วไปนั้น การนอนตื่นสาย ทำให้เสียโอกาส ที่จะทำมาหากิน แข่งขันกับคนอื่น แต่อันที่จริง โทษของการนอนตื่นสาย หรือเห็นแก่นอน ยังมีอีกมาก งานบางอย่าง เช่น อยู่เวรยาม หรือรักษาความปลอดภัย ถ้าเห็นแก่นอนละก็ ความพินาศบังเกิดแน่นอน และตามที่ผู้รู้   ทั้งทางโลกทางธรรม กล่าวไว้นั้น ยิ่งนอนมากเท่าใด คุณค่าของชีวิต และโอกาสที่จะทำประโยชน์ ให้แก่ตัวเองและสังคม ก็ยิ่งมีน้อยลงเท่านั้น ความไร้ประโยชน์นั่นเอง คือ ความพินาศของชีวิต ดังนั้น ใครไม่อยากพินาศ ก็จงอย่านอนตื่นสาย หรือเห็นแก่นอน เป็นอันขาด

...ติดตามนิทานธรรมะในแบบนิทานสั้นๆ ให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต

ในตอนต่อไปกับ .... นิทานธรรมะบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget