แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา (ผู้ที่เจอปัญหาชีวิตแสนสาหัส...แต่ผ่านพ้นมาได้)

นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา


นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา 
(ผู้ที่เจอปัญหาชีวิตแสนสาหัส...แต่ผ่านพ้นมาได้)
     นิทานธรรมะ นำเสนอนิทานธรรมะสั้นๆ มีคติสอนใจ เป็นกำลังให้กับทุกๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่มีกำลังพบเจอมรสุมชีวิตรุมเร้า มองไม่เห็นทางออก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชีวิต ปัญหารัก ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องปากท้อง นิทานธรรมะบล็อก อยากบอกว่า ทุกๆ ปัญหามีทางออกเสมอ ขอเพียงเราใช้สติไตร่ตรองให้ดี พินิจพิเคราะห์ แล้วค่อยๆ แก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง ไปทีละขั้น  ปัญหานั้นๆ จะผ่านไปได้ด้วยดี จากหนักอาจกลายเป็นเบา จากเบาเป็นหมดปัญหาไปเลยก็มี โดยนิทานธรรมะในวันนี้ นำเสนอในตอน  ปฏาจารา นางต้องเจอกับปัญหาชีวิตรุมเร้าหลายๆ ด้าน จิตใจบอบซ้ำเป็นที่สุด นางต้องเป็นคนเสียสติ แต่ท้ายที่สุดแล้วพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมโปรด สุดท้ายก็บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้เลย กับ นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ปฏาจารา

     ปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีสมบัติ ๔๐ โกฏิ มีรูปงาม ตระกูลสูง แต่พบรักกับหนุ่นรับใช้ในบ้าน และหนีออกไปครองรักกันสองคน ใช้ชีวิตด้วยการทำไร่ไถนา เก็บผักหักฟืน แม้จะยากลำบากแต่ก็มีความสุข จนกระทั่งมีลูกคนหนึ่ง

       เมื่อตั้งครรภ์ครั้งที่สองและใกล้คลอด นางอ้อนวอนให้สามีพากลับไปหาพ่อแม่ แต่ถูกห้ามจึงพาลูกน้อยหนีไปตามลำพัง สามีตามมาทันเมื่อพลบค่ำ ระหว่างนั้น พายุฝนได้กระหน่ำลงมาอย่างหนัก นางเจ็บท้องใกล้คลอดอย่างกะทันหัน สามีจึงฉวยมีดวิ่งออกไปหาตัดกิ่งไม้มาทำที่พักชั่วคราว ขณะตัดไม้ เขาถูกงูพิษกัดจนสิ้นชีวิตลง ฝ่ายนางปฏาจาราก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างทุกข์ทรมาน ทารกทั้งสองถูกพายุฝนพัดกระหน่ำจนนางไม่อาจทนรอสามีต่อไปได้ จึงกอดลูกทั้งสองไว้มือหนึ่งแล้วคลำทางไปในป่า ตามหาสามีท่ามกลางราตรีมืดมิดและพายุฝนที่บ้าคลั่ง พอสว่างจึงพบร่างไร้วิญญาณของสามี

นิทานธรรมะ ตอน ความสำคัญของวันลอยกระทง

วันลอยกระทง

นิทานธรรมะ ตอน ความสำคัญของวันลอยกระทง
  มีคำคมที่กล่าวกันว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" หากถามว่า อะไรเป็นลายของไทย คำตอบที่ถูกต้องก็คือ "วัฒนธรรมประเพณีไทย" นั่นเอง เป็นเอกลักษณ์หรือเป็นลายของไทย
  การลอยกระทง จัดว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย ประการหนึ่ง ซึ่งประชาชนคนไทยได้อนุรักษ์และสืบสานต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จวบจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญๆ ดังนี้
   ๑.เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย และบูชาพระมหาจุฬามณี อันเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีของพระพุทธเจ้า ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
  ๒.เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อแม่น้ำที่ได้ใช้อุปโภคมาทั้งชีวิต และขอขมาโทษที่มนุษย์ได้ล่วงเกินด้วยการทิ้งสิ่งปฏิกูลโสโครก ลงในแม่น้ำ ทำให้แม่น้ำสกปรก
  ๓.เพื่อลอยบาปเคราะห์ ทุกข์ โศก โรค ภัย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้พ้นออกไปจากตัว ฝากไปกับกระทงนั้น
  ๔.เพื่อเป็นการเสริมสร้างศิลปะอันเกิดจากการประดิษฐ์กระทง และเสริมสร้างความรู้รักสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ เช่น มีการประกวดนางนพมาศ เป็นต้น
  ๕.เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยว และความรื่นเริงสนุกสนาน ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น มีการแข่งเรือและประกวดโคมไฟ เป็นต้น
  ๖.เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของชาติ ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป

นิทานธรรมะ ตอน พุทธอุทาน

นิทานธรรมะก่อนนอน ตอน พุทธอุทาน

นิทานธรรมะ ประจำวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ ตอน "พุทธอุทาน" ... มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า พระเทวทัต ได้พยายามทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ว่าจ้างนายขมังธนู ให้ไปลอบปลงพระชนม์ ครั้งที่ ๒ แกล้งกลิ้งก้อนหินใหญ่หวังให้หล่นไปทับ และครั้งที่ ๓ ให้ปล่อยช้างไป หวังให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้ง ๓ ครั้ง จึงได้แยกตัวออกจากพระพุทธเจ้าไปตั้งสำนักของตัวเอง ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า "กรรมดีคนดีทำได้ง่าย กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก กรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่วพระอริยะเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก"
   จากพุทธอุทานข้างต้นนี้ให้ข้อคิดว่า ปริมาณของความดีและความชั่วที่ปรากฏในสังคมนี้ สะท้อนถึงสภาพจิตใจของผู้คนในสังคมนั้นด้วย หมายความว่า เวลาใดที่ใจรักดีใฝ่ดี ละอายชั่วกลัวบาป เวลานั้นคนก็พากันทำดี โดยมิต้องบังคับ เพราะใจเป็นบุญกุศล อยากจะทำเอง แต่ยามใดที่ถูก โลภ โกรธ หลง ครอบงำจนหักห้ามใจไม่อยู่แล้ว

นิทานธรรมะ เรื่อง บัวแล้งน้ำ

นิทานสั้นๆ

นิทานธรรมะ เรื่อง บัวแล้งน้ำ
     คำว่า "บัว" เป็นชื่อพรรณไม้น้ำชนิดหนึ่ง มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวน้ำ คนไทยเชื่อว่าดอกบัว เป็นดอกไม้ชั้นสูงใช้บูชาพระ สักการะสิ่งที่เคารพนับถือ แม้ยามไม่มีดอกบัวคนไทยก็ยังทำกระพุ่มมือประนมเป็นรูปดอกบัวแทน นอกจากนี้ดอกบัวยังสื่อความหมายแทนใจอีกด้วย
     ธรรมชาติของบัวนั้น จะเจริญเติบโตแตกหน่อออกใบและมีดอกอยู่ได้ ก็เพราะมีน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าบัวกอใดไม่มีน้ำ หล่อเลี้ยงลำต้น บัวกอนั้นก็จะค่อยๆ เหี่ยวลงในระยะแรก ถ้าขาดน้ำเป็นเวลา หลายวันติดต่อกัน ก็จะกลายเป็น บัวแล้งน้ำ ซึ่งต้องแห้งตาย ในที่สุดอย่างแน่นอน
     จิตใจของคนเรา ก็มีลักษณะคล้ายกับบัว คือจะอยู่ในสภาพตกต่ำ เศร้าหมอง โหดร้าย หรือเห็นแก่ตัว เมื่อยามมี เมตตา ความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน อนึ่ง ถ้าขาดเมตตาธรรมดังกล่าว ก็จะทำให้ไม่มีใคร อยากคบค้าสมาคมด้วย และหากเป็นผู้ใหญ่ ก็คงไม่มีใครอยากพึ่งบารมี เพราะความเป็นคนแล้งน้ำใจนั้นเอง
     ในอดีต มีอุปมาภาษิตบทหนึ่งว่า "นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้ ย่อมขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้" แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จำต้องให้ความสำคัญ กับพวกพ้องบริวาร เพิ่มเข้าไปอีก เป็น "นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้และบริวาร ย่อมขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้" และบริวารดังกล่าว จะเกิดความนิยมชมชอบ เคารพนับถือ ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้น มีเมตตา แสดงน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นก่อน เขาจึงจะได้รับเมตตา และน้ำใจไมตรีตอบมา ดังคำพูดว่า "บริวารมาเพราะน้ำใจมี บริวารหนีเพราะน้ำใจลด บริวารหมดเพราะน้ำใจแห้ง"
     ฉะนั้น ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงควรมีเมตตา แสดงน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ อย่ามองข้ามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะเป็นเหมือนอาการของ บัวแล้งน้ำ ซึ่งรอวันเหี่ยวแห้งตายอย่างมิต้องสงสัย ... นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน บารมีไม่ถึง

นิทานสั้นๆ เรื่อง บารมีไม่ถึง

นิทานธรรมะ ตอน บารมีไม่ถึง ... มีเรื่องที่กล่าวขานกันอยู่บ่อยครั้งว่า บุคคลผู้นั้นผู้นี้แต่เดิมเป็นคนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงดี พอได้ลาภก้อนโตหรือได้รับการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไม่นานนัก บางท่านเกิดเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ สามวันดี สี่วันไข้ บางท่านต้องล้มหมอนนอนเสื่อ บางท่านเป็นหนักถึงขั้นเสียชีวิตก็มี คนทั่วไปมักวิพากษ์วิจารณ์กันเสมอ ๆ ว่า เป็นเพราะแพ้ภัยตนเองบ้าง เป็นทุกขลาภบ้าง เป็นเพราะพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกบ้าง เป็นเพราะไม่ยอมดูฤกษ์ดูยามตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่บ้าง หรือเป็นเพราะบารมีไม่ถึงบ้าง จึงทำให้สงสัยว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร

       พระพุทธศาสนามีหลักอยู่ว่า บรรดาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีเรื่องใดที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยและมีที่ไปที่มา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราจะสามารถสืบสาวให้รู้ถึงสาเหตุหรือมองย้อนได้ตลอดสายของเรื่องนั้น ๆ ได้หรือไม่เท่านั้น

       สำหรับลาภยศหรือตำแหน่งอันมีเกียรติต่าง ๆ ตามที่ชาวโลกนิยมยามที่ชาวโลกนิยมยมจะมีข้อแม้หรือกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รองรับอยู่ ใครก็ตามที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ย่อมมีสิทธิ อันชอบธรรมที่จะได้หรืออยู่ในฐานะตำแหน่งนั้นได้ และถ้าเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า นายดึง ลูกน้องดัน คนเสมอกันสนับสนุน ด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นเรื่องง่าย แต่ในทางพระพุทธศาสนาสอนว่า มีความรู้ดี มีความสามารถดี มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่านั้นยังไม่เพียงพอ จะต้องมีความประพฤติดีงามรวมอยู่ด้วย ความประพฤติดีงามดังกล่าว มิได้หมายเฉพาะความดีงามในชาตินี้เท่านั้น ยังรวมถึงความประพฤติดีงามที่เรียกว่า ปุพเพกตปุญญตา คือความเป็นผู้ได้เคยทำความดีงามหรือทำบุญมาแต่ชาติปางก่อน จึงจะไม่มีปัญหาและอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวาง

       ดังนั้น ก่อนที่อยากจะได้หรืออยากจะเป็นอะไร ควรระลึกไว้เสมอว่า ความรู้ ความสามารถ ที่เรียกว่า ศักยภาพ และคุณความดีหรือบุญบารมี เรามีพอหรือยัง ถ้าแม้นว่าความรู้ก็ดี ความสามารถก็มาก แต่ยังไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ก็ขอให้คิดเสียว่า บารมียังไม่ถึง เพราะถ้ายังฝืนได้หรือฝืนเป็นโดยที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควรได้ อาจจะแพ้ภัยตนเอง ทำให้เสียใจไปตลอดชีวิตก็ได้ ... นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา

นิทานธรรมะสั้นๆ

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา
      การบูชามี ๒ ประเภท คือ ๑. บูชาด้วยเครื่องสักการะ เรียกอามิสบูชา ๒. บูชาด้วยประพฤติตามคำสอนเรียกปฏิบัติบูชา ทุกคนสามารถจะบูชาได้ทั้งสองอย่างในโอกาสเดียวกัน เช่น ขณะที่บูชาด้วยเครื่องสักการะ ก็ถือเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติด้วย เพราะนั่นคือการแสดงออกถึงความเป็นคนกตัญญู
      การบูชาบุคคลที่ควรบูชาด้วยอามิสนั้น หากบูชาถูกบุคคลจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ เช่น ในสมัยพุทธกาล มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อสุมนะ มีหน้าที่ต้องนำดอกมะลิ ๘ ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน วันหนึ่ง เขาถือดอกมะลิเดินไปพระราชวัง เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมจำนวนมาก ก็มีจิตเลื่อมใส จึงคิดว่า แม้พระราชาจะทรงประหารหรือจะเนรเทศเราจากเมืองไปก็ตาม เราจะนำดอกมะลินี้ไปบูชาพระพุทธเจ้าให้ได้ จึงยอมสละชีวิตของตน โดยโปรยดอกมะลิทั้งหมดบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้นำไปถวายพระราชา เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่องก็ทรงเลื่อมใสในการบูชาของเขา ได้พระราชทานช้าง ม้า ทาส ทาสี และนารีผู้ประดับด้วยเครื่องประดับสวยงามพร้อมเงินทองอีกมากมาย การบูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงมีอานิสงส์มากเช่นนี้ และนี่เป็นเพียงการบูชาด้วยอามิสเท่านั้น หากบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนย่อมจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่านี้แน่นอน ดังตัวอย่างที่พระอริยสาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติบูชาและถึงฝั่งแห่งความพ้นทุกข์มาเป็นจำนวนมากแล้ว
       แต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่า การจะเทิดทูนบูชาใครพึงพิจารณาให้รอบคอบด้วย เพราะถ้าบูชาคนผิด จะกลายเป็นยกย่องคนไม่ดี ทำให้ตัวเองพลอยเดือดร้อนหรือเป็นอัปมงคลไปด้วย เพราะการบูชาที่เป็นมงคลต้องเป็นการ "บูชาบุคคลที่ควรบูชา" เท่านั้น ... นิทานธรรมะ

Buddha Boy found after retreating into jungle

Buddha Boy found after retreating into jungle

By Thomas Bell, Nepal Correspondent
Last Updated: 12:50AM GMT 27 Dec 2006

Nepal's mysterious "Buddha Boy" has reappeared nine months after he went missing in the southern jungle.
Ram Bomjon, now 16, became an international celebrity when he meditated beneath a tree for 10 months, supposedly without food or water, drawing hundreds of thousands of pilgrims who believed that he was a reincarnation of the Buddha.
He was discovered on Christmas Eve by hunters in a forest about 10 miles from the spot where he once meditated. Upendra Lamichane, a journalist, said the boy was brandishing a sword and told him: "Even Gautam Buddha [the original Buddha] had to protect himself." Bomjon is apparently concerned about the threat posed by wildlife.
He left his original meditation place because he was disturbed by the crowds of worshippers. He told Lamichane he had survived on herbs while in the jungle.

นิทานธรรมะ ตอน บุญบันดาล

นิทานธรรมะคติสอนใจ

นิทานธรรมะ ตอน บุญบันดาล
มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า สาวน้อยคนหนึ่ง ระหว่างที่เดินทางกลับจากการถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระอรหันต์ ได้ถูกงูพิษกัดตายแล้วไปเกิดใหม่เป็นเทพธิดา เมื่อรู้ว่าได้สมบัติเพราะบุญนั้น เทพธิดาจึงไปทำการรับใช้พระอรหันต์องค์นั้นถึงกุฎี เพื่อรักษาสมบัติที่ได้แล้วให้มั่นคงยิ่งขึ้น แต่พระอรหันต์เห็นว่าไม่เหมาะที่ผู้หญิงจะอยู่สองต่อสองกับพระ จึงแนะนำนางให้ทำบุญโดยวิธีอื่นที่ถูกต้องต่อไป
        เหตุผลประการหนึ่งที่ศาสนาแนะให้ทำบุญคือความดีนั้น เพราะบุญสามารถบันดาลชีวิตผู้ทำให้เจริญได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ในพระไตรปิฎก ได้แสดงผลของบุญที่สะสมเป็นประจำจนเป็นกองบุญแล้วว่า สามารถบันดาลสิ่งที่ยากลำบากทุกอย่างได้นับตั้งแต่มีรูปงาม จนถึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด คนที่มีรูปสวย รวยทรัพย์ นับวิชา มีมารยาท ชาติผู้ดี เป็นต้น ตามหลักศาสนาก็ถือว่ามีบุญเก่าส่งผลให้ทั้งสิ้น แม้แต่คุณสมบัติภายในของแต่ละบุคคล เช่น สติปัญญาที่เฉียบแหลม ความละอายชั่วกลัวบาป ความสามารถที่ดี เป็นต้นที่เป็นต้นทุนในการสร้างชีวิตในปัจจุบัน ก็เพราะบุญปรุงแต่งมาให้ ฉะนั้น บุญถึงแม้จะต้องฝืนใจทำบ้าง แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยินดีทำด้วยศรัทธา เพราะที่ใดที่มีคนมีบุญอาศัยอยู่มาก ๆ ที่นั้นย่อมมีแต่ความเจริญ ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
       เรื่องบุญบันดาลตามคัมภีร์ที่กล่าวมาอาจไม่ทันสมัย แต่เรื่องที่คนปัจจุบันเปลี่ยนชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือเพราะถูกรางวัลที่ ๑ ก็ดี เรื่องของคนที่ตกระกำลำบากแล้วมีผู้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ล้วนสะท้อนบุญบันดาลได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น การสร้างบุญที่แต่ละคนมีความพร้อมทำแล้วมีความสุข จึงควรถือว่าทำเพื่อตนเองโดยแท้ ดังคำของพระที่ว่า "การสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำความสุขมาให้" ... นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน เบรกมือ

นิทานสั้นๆ ตอน เบรกมือ

   นิทานธรรมะ ตอน เบรกมือ ... เบรกเป็นเครื่องมือสำหรับห้ามล้อรถยนต์ โดยทั่วไปมี ๒ ลักษณะ คือ ๑. เบรกหลัก หรือเบรกเท้า เป็นเบรกที่ใช้ขณะรถวิ่งแล้วต้องการให้รถหยุด ๒. เบรกสำรอง หรือเบรกมือ ใช้ขณะรถจอดอยู่กับที่เป็นส่วนใหญ่ ในการใช้เบรก โดยเฉพาะเบรกมือนั้น มีบางครั้งที่ผู้ขับขี่ขับรถไปโดยลืมปลดเบรกมือ บางรายกว่าจะรู้ตัวรถก็วิ่งไปไกลหลายกิโลเมตรแล้ว ทำให้ผ้าเบรกไหม้มีกลิ่นเหม็น สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เกิดความสึกหรอของเครื่องยนต์มากกว่าปกติ
       ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายการลืมปลดเบรกมือ นั่นคือ บางคนมีความกระตือรือร้นขยันออกกำลังกายทุกเช้าเย็นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ขณะเดียวกันก็สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหรือเที่ยวกลางคืนดึก ๆ ดื่น ๆ ไปด้วย เมื่อพฤติกรรมสวนทางกันเช่นนี้ จึงเป็นการยากที่จะทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงตามที่ต้องการได้ มิหนำซ้ำบางรายนอกจากสุขภาพจะไม่แข็งแรงแล้ว ยังอาจทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมมากกว่าเดิมอีกทั้ง ๆ ที่ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ การกระทำอย่างนี้จึงไม่ต่างไปจากคนขับรถขณะที่เท้าเหยียบคันเร่งเพื่อให้รถวิ่งไปข้างหน้า แต่มือก็ดึงเบรกมือขึ้นไว้ตลอดทาง ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติและชำรุดเสียหายในที่สุด
       ผู้รักชีวิต เป็นห่วงสุขภาพแล้วหมั่นออกกำลังกาย นับว่าเป็นเรื่องที่ดี น่ายกย่อง แต่อย่าลืมปลดเบรกมือ ด้วยการลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด ตลอดจนอบายมุขทุกชนิดเสียบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องบั่นทอนสมรรถภาพของร่างกายและจิตใจอย่างมาก จะบั่นทอนเกิดความเสียหายอย่างไร ขอให้นึกถึงตอนขับรถยนต์แล้วลืมปลดเบรกมือก็จะทราบว่าเกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน ... อ่านนิทานธรรมะ นิทานสั้นเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี เพราะไม่ใช่แค่นิทานสั้นๆ ให้ความสนุก แต่ยังให้ข้อคิด มีคติธรรมคำสอน ตามแนวทางแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่า เป็นนิทานธรรมะคติสอนใจ นิทานธรรมะสั้น อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลิน อ่านตอนไหนก็สนุก อ่านตอนไหนก็เพลิน  ทั้งหมดนี้มีใน นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน บวชไม่ศึกษ์

นิทานสั้นๆ เรื่อง บวชไม่ศึกษ์

"นิทานธรรมะ ตอน บวชไม่ศึกษ์"
      มีข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้ให้ข้อคิดเชิงเปรียบเทียบไว้ดีมากเกี่ยวกับคำว่า " บวชไม่ศึกษ์ " คือบวชแล้วไม่ศึกษาเล่าเรียนหลักคำสอนและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เมื่อเป็นเช่นนี้เขาย่อมไม่ได้ความรู้ในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ไม่เข้าใจหลักคำสอน ไม่รู้ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดทั้งไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา คนที่บวชแล้วไม่ศึกษาเล่าเรียนและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน ท่านเรียกว่า โมฆบุรุษ แปลว่า คนว่างเปล่า คือไม่ได้รับอะไรเลย เปรียบเหมือนคนที่จะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมข้าวของใส่กระเป๋าเรียบร้อยแล้ว ไปที่สถานีขนส่งแต่ไม่ยอมขึ้นรถ ได้แต่เดินวนเวียนไปมาอยู่ในบริเวณสถานี เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ไม่มีวันจะไปถึงเชียงใหม่ได้อย่างแน่นอน
       เรื่องเปรียบเทียบเชิงคำสอนนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า การตั้งเป้าหมายอะไรไว้ จะไม่สำเร็จด้วยการคิดเพียงอย่างเดียว ต้องลงมือกระทำทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม ดังคำสอนที่เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้สมบูรณ์ และการทำจิตใจให้ผ่องใส จากหลักคำสอนที่เป็นหลักการสำคัญนี้ทำให้เราทราบว่า การตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์อะไรไว้ จะต้องลงมือทำให้ครบถ้วนกระบวนการ จึงจะสำเร็จ ในการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน โดยเนื้อแท้แล้วเราทุกคนล้วนมีเป้าหมายอยู่ในใจแล้วว่าจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จตามนโยบายบริษัท ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา ตลอดทั้งรักษาและปฏิบัติตัวอยู่ใน ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ข้อกฏหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ดีที่สุด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ตั้งเป้าหมายไว้เหมือนกัน แต่ไม่ตั้งใจทำ ถ้าจะเรียกล้อตามคำที่พูดกันว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" ก็ล้อเป็นคนประเภท "คิดใหม่ แต่ทำเก่า" ได้แก่ คิดได้แต่ไม่คิด คือไม่ใส่ใจงาน คิดได้แต่ไม่บอก คือไม่ประสานติดต่อ และคิดได้แต่ไม่ทำ คือไม่พอใจที่จะลงมือทำ คนประเภทนี้ก็เหมือนคนที่ไปถึงสถานีต้นทางแต่ไปไม่ถึงปลายทาง หรือจะเรียกว่าเป็นพวกบวชไม่ศึกษ์ก็คงไม่ต่างกันเลยแม้แต่น้อย จริงมั้ยครับทุกๆ ท่าน ... นิทานธรรมะ


นิทานธรรมะ ตอน นกแขกเต้า

นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง นกแขกเต้า

นิทานธรรมะ ตอน นกแขกเต้า ... มีเรื่องเล่าว่า นกแขกเต้าฝูงหนึ่งบินไปกินข้าวในที่นาแห่งหนึ่งอยู่เป็นประจำ และในเวลากลับนกแขกเต้าตัวหนึ่งจะคาบเอารวงข้าวกลับไปด้วยวันละ ๓ รวง ชาวนาเกิดความสงสัยจึงดักจับนกตัวนั้นมาถาม นกแขกเต้าตอบว่า ข้าวทั้ง ๓ รวงที่คาบไปนี้ รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือเอาไปให้พ่อแม่กิน เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราจนเติบโต จึงเป็นหนี้บุญคุณที่ต้องตอบแทน อีกรวงหนึ่งเอาไปให้เขากู้ คือเอาไปให้ลูกหลานกิน ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้กำเนิดก็ต้องเลี้ยงดูเขาให้ดี ต่อไปเขาจะได้กลับมาเลี้ยงดูเราบ้าง ส่วนอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้ คือเอาไปฝากเพื่อนนกด้วยกัน เพราะบางตัวแก่ชรา บางตัวพิการ ต้องอดอยากน่าสงสาร จึงคาบเอาไปฝากนกพวกนี้ด้วย
        ชาวนาได้ฟังคำอธิบายแล้วก็เกิดความเลื่อมใสว่า นกตัวนี้เป็นสัตว์ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีคุณ มีความเมตตากรุณาต่อลูกหลาน ทั้งมีความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนนกด้วยกัน จึงยกนาข้าวส่วนหนึ่งให้พร้อมกับกล่าวว่า ขอให้เจ้าและญาติมิตรทั้งปวงมากินข้าวในที่นาแห่งนี้ได้ตามปรารถนาเถิด

นิทานธรรมะ ตอน หนี้

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง หนี้

นิทานธรรมะ ตอน หนี้
       เมื่อกล่าาวถึงคำว่า หนี้ ถ้ามองในแง่บุคคล จะประกอบด้วยกลุ่มชน ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าหนี้ กับฝ่ายลูกหนี้ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม พอเข้ามาสู่ระบบหนี้แล้ว ก็มักจะเกิดความกลัวด้วยกันทั้งนั้น คือ ฝ่ายเจ้าหนี้กลัวว่าจะถูกโกง ฝ่ายลูกหนี้กลัวจะหาเงินมาใช้คืนไม่ทันกำหนด กลัวถูกทวง จึงเกิดความทุกข์ใจว่า ยืมเขามาใช้ประเดี๋ยวก็หมด แต่เวลาใช้คืนกว่าจะหมด ช่างนานจริงๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว วันเวลาก็คงดำเนินไปเป็นปกติ แต่ทีผิดปกติ ก็คือ ความรู้สึกของลูกหนี้ต่างหาก
        กล่าวโดยภาพรวม อาจจะแบ่งหนี้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ หนี้สิน กับหนี้กรรม
       หนี้สิน ได้แก่ทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ที่เรียกว่า เจ้าหนี้ และผู้รับที่เรียกว่า ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องใช้หนี้ หรือตอบแทนให้เหมาะสม กับสภาพความเป็นหนี้ จึงจะเป็นไทแก่ตัวเอง แต่ถ้าใช้หนี้ไม่หมด ด้วยความจงใจก็ดี ด้วยความพลั้งเผลอก็ดี จะแปรสภาพไปเป็นหนี้ประเภทที่ ๒ คือ หนี้กรรม หรือภาษาพระท่าน เรียกว่า เศษกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ผู้ทำยังปลดเปลี้องหรือรับผล ของการกระทำนั้นไม่หมด หรือไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือเศษที่จะคอยตามให้ผล ตามเก็บหนี้ข้ามภพข้ามชาติ จนกว่าจะหมด ไม่มีทางที่จะหลบหลีกได้ ดังมีคำกลอนเตือนใจว่า

นิทานธรรมะ ตอน หนามยอกเอาหนามบ่ง

นิทานธรรมะ

"นิทานธรรมะ ตอน หนามยอกเอาหนามบ่ง"
                เมื่อเราเดินทางเข้าไปในป่า ถ้าหากถูกหนามตำเท้า ย่อมทำให้เกิด ความเจ็บปวด และเป็นทุกข์ วิธีที่จะปลดเปลื้องทุกข์ ให้หมดไปก็คือ ต้องเอาหนามนั้นออก มิฉะนั้น จะกลัดหนอง และอักเสบอย่างรุนแรง ยากแก่การรักษา ปัญหาอยู่ที่ว่า สถานการณ์ในป่า เช่นนั้น เราจะหาเข็มที่ไหน มาบ่งหนามออกได้ นอกเสียจากเอาหนาม ที่มีความแหลมคม ชนิดเดียวกันนั่นเองบ่งออก ความเจ็บปวดเป็นทุกข์ จึงจะบรรเทาและหายได้ ลักษณะอย่างนี้ ภาษิตโบราณ เรียกว่า "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
                 ปัจจุบันนี้มีหนามอีกชนิดหนึ่ง ที่กำลังทิ่มตำคนให้เป็นทุกข์อย่างไม่รู้ตัว หนามที่ว่านี้ เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า "ตัณหา" แปลว่า ความอยาก บุคคลที่มีความอยาก อยากมีนั่น อยากมีนี่ หรืออยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ เกินฐานะกำลังและความสามารถของตนเอง และดิ้นรนแสวงหาเพื่อตอบสนองความอยาก ด้วยวิธีการที่ผิดๆ ก็เสมือนว่าบุคคลนั้น กำลังถูกหนาม คือ ความอยาก ทิ่มตำให้ได้รับความเจ็บปวดเป็นทุกข์อยู่ เช่น อยากเป็นเศรษฐี มีเงิน มีรถ ก็แสวงหาด้วยการเล่นหวย หรือไปจี้ ปล้น คนอื่น เป็นต้น แทนที่จะตั้งใจทำงาน อดออมและประหยัด ชีวิตก็ยุ่งยากเพราะความอยากไม่ถูกทางของตนนั่นเอง หนาม คือ ความอยาก หนามชนิดนี้จะค่อยๆ ทิ่มตำชีวิตของบุคคลผู้ขาดปัญญา ให้เป็นทุกข์ และเดือดร้อนเรื่อยๆ จนเสียอนาคตในที่สุด ทางออกก็คือ จะต้องรีบรักษา วิธีการรักษาที่ดีก็คือ ต้องเอาหนาม คือความอยากนั่นเอง เป็นแรงผลักดันตนเอง ให้รับผิดชอบ และใช้สติปัญญาให้มากขึ้น พร้อมปฏิบัติด้วยวิธีที่เป็นไปได้ เช่น อยากมีเงิน ต้องแสวงหา อยากมีการศึกษา ก็ต้องหมั่นเรียน อยากมียศและศักดิ์ศรี ก็ต้องมีความระมัดระวังให้มากขึ้น ถ้าเอาความอยากเป็นฐานสร้างพลัง ให้เกิดการกระทำที่ถูกและสุจริตอย่างนี้ ชีวิตของผู้นั้น ก็จะพ้นจากความทุกข์และขีดอันตราย จะกลายสภาพเป็นการเสริมสร้างอนาคต ให้แข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้น

นิทานธรรมะ ตอน น้ำขึ้นให้รีบตัก

นิทานธรรมะสอนใจ เรื่อง น้ำขึ้นให้รีบตัก

นิทานธรรมะ ตอน น้ำขึ้นให้รีบตัก ... มีสำนวนไทยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก" ความหมายก็คือเมื่อมีโอกาสดี ๆ ควรรีบทำทันที ไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ มิฉะนั้น อาจทำให้พลาดจากประโยชน์ที่ควรมีควรได้ สำนวนไทยบทนี้เตือนใจได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างอนาคต
       อนาคตของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ เป็นเรื่องไม่แน่นอน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคิดไว้ เมื่อมีโอกาสหรือเมื่อโอกาสมาถึง ก็ไม่ควรทิ้งโอกาสนั้นหรือใช้โอกาสนั้นไปในทางเสพเสวยความสุขสบายเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรมองเห็นความมั่นคงของชีวิตในอนาคตเป็นเป้าหมายสำคัญ มองเหตุการณ์และเวลาที่มาถึงว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าประดุจน้ำที่กำลังขึ้น แล้วใช้เหตุการณ์หรือเวลานั้นเองสร้างชีวิตให้มั่นคง จนแน่ใจได้ว่าปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น ตนได้จัดการแสวงหาไว้เพื่อตนเองและครอบครัวแล้ว ในอนาคตแม้จะประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็จะไม่เดือดร้อนจนเกินไป
       สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการสร้างอนาคตนั้นคือการตัดสินใจ คนที่ได้รับความสำเร็จในชีวิต มักมีจุดเริ่มต้นจากการตัดสินใจที่ดี คาดการณ์อนาคตได้แม่นยำ แล้วรีบดำเนินการทันทีเมื่อมีโอกาสโดยไม่ลังเล เพราะการไม่ตัดสินใจเมื่อมีโอกาสหรือตัดสินใจผิด เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวในชีวิต ฉะนั้น หากประสงค์ที่จะมีชีวิตที่มั่นคง พึ่งตนเองได้ในอนาคตแล้ว ก็ควรรีบตัดสินใจทำสิ่งที่มีคุณค่าให้กับชีวิตทุกครั้งเมื่อโอกาสมาถึง เข้าทำนองที่ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก" นั่นเอง  ต้องการอ่านนิทานธรรมะ ที่นี่มีนิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน ขอแนะนำนิทานธรรมะยอดนิยม  นำเสนอนิทานธรรมะสั้น ๆ เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะที่ไม่ได้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังสอดแทรกหลักธรรมะ นึกถึง "นิทานธรรมะ" ต้องที่ นิทานธรรมะบล็อก

ธรรมคติสอนใจ ตอน ตายอมตะ

นิทานธรรมะ ตอน ตายอมตะ

ธรรมคติสอนใจ ตอน ตายอมตะ @นิทานธรรมะ
      เมื่อพูดถึงความตายคนส่วนใหญ่ไม่อยากฟังหรือสนทนาด้วย เพราะเห็นว่าความตายเป็นเรื่องอัปมงคล เป็นสิ่งไม่ดี ไม่อยากคิดหรือพูดถึง แต่พระพุทธศาสนาสอนในทางตรงกันข้าม คือให้หมั่นระลึกถึงความตายอยู่เสมอ และการระลึกถึงความตายนี้ถือว่าเป็นกุศล ไม่ใช่อัปมงคล เพราะทำให้เกิดคติเตือนใจให้ไม่ประมาทในวัย ในชีวิต ในความไม่มีโรค และไม่หวาดกลัวหรือหวั่นวิตกเมื่อความตายมาถึง เรื่องที่ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทและมีสติมั่นไม่พรั่นพรึงต่อความตายนั้น ไม่ว่าจะตีความในแง่ไหนก็ไม่สามารถเป็นอัปมงคลไปได้ เพียงแต่ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อกลัวตายก็ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่กลัวนั้นเกิดขึ้น รังเกียจที่จะพูดที่จะเห็น ที่สุดไม่อยากแม้แต่จะนึกถึง การพูดถึงเรื่องความตายจึงเป็นอัปมงคลเฉพาะในแง่ความรู้สึกของคนเท่านั้น ไม่ใช่ในแง่ข้อเท็จจริง
       ความตายนั้นท่านไม่ได้สอนให้กลัว แต่สอนให้สู้ด้วยความไม่ประมาท รีบสร้างคุณประโยชน์ สร้างความดีไว้ให้มาก เมื่อร่างกายแตกดับ จะได้เหลือคุณความดีไว้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นที่อาลัยเคารพรักแก่ผู้อยู่เบื้องหลัง จะเห็นได้ว่าบางท่านแม้หาชีวิตไม่แล้ว คนอยู่หลังก็ยังสร้างรูปเหมือนหรืออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชาแทนผู้ที่ตาย เช่นนี้ก็คือตายแต่ตัว แต่ชื่อเสียงความดีไม่ได้ตายไปด้วย เรียกว่าตายแบบไม่ตายหรือตายอมตะ ดังคำพระยืนยันว่า รูปัง ชีระติ มัจจานัง นามะโคตตัง นะ ชีระติ อันหมายถึง ถึงร่างกายเสื่อมสิ้นไป แต่ชื่อเสียงและความดีไม่มีวันแตกดับ
      ไหน ๆ ทุกคนจะต้องตายแน่ ๆ อยู่แล้ว จะไม่ลองสู้เพื่อให้ตายแบบอมตะดูบ้างหรือ  ต้องการอ่านนิทานธรรมะ ที่นี่มีนิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน ขอแนะนำนิทานธรรมะยอดนิยม  นำเสนอนิทานธรรมะสั้น ๆ เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะที่ไม่ได้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังสอดแทรกหลักธรรมะ นึกถึง "นิทานธรรมะ" ต้องที่ นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน ธุระไม่ใช่

นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง ธุระไม่ใช่

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ นำเสนอ #นิทานธรรมะ ในตอน ธุระไม่ใช่ ... ในมงคลสูตร ได้พรรณนาลักษณะของคนพาลไว้กว้างขวางพิสดาร ในจำนวนนั้นมีคนพาลลักษณะหนึ่งที่อาจพบเห็นได้ไม่ยากและสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้ผู้อื่นได้ง่ายที่สุด ได้แก่คนที่มีลักษณะที่เรียกตามพระบาลีว่า อะธุรายัง นิยุญชะติ แปลว่า ประกอบในสิ่งมิใช่ธุระ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ธุระไม่ใช่

        โดยปกติ คนทั่วไปย่อมมีงานที่ต้องทำ เรียกว่ามีธุระของตน ส่วนคนอื่นก็มีธุระของเขาเช่นกัน ต่างคนก็ต่างทำหน้าที่ ตั้งใจรับผิดชอบธุระของตนเองให้เต็มที่ ให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้คนอื่นได้ทำธุระของเขาอย่างเต็มที่เช่นกัน แต่มีคนพวกหนึ่งที่ชอบทิ้งธุระของตน แล้วหาโอกาสสอดแทรกธุระของคนอื่น ทั้งการที่ไปเที่ยวสอดแทรกธุระของคนอื่นนั้น จะว่าเป็นเพราะชอบทำงานอย่างที่คนอื่นเขาทำอยู่นั้นก็ไม่ใช่ เพราะถ้ายกให้ทำจริง ๆ หรือแต่งตั้งมอบหมายให้รับผิดชอบ เป็นเรื่องเป็นราว ก็มักจะไม่เอา เป็นเพียงชอบทำให้เกะกะวุ่นวายเท่านั้น บุคคลประเภทนี้ท่านเรียกว่า คนพาล เพราะมีแต่ก่อเรื่องไร้ประโยชน์ คือนอกจากไม่ได้งานการอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แล้วยังจะทำแต่ทางเสียหาย เช่นทำให้ติดขัดล่าช้า สร้างความอึดอัดขัดแย้งให้เกิดขึ้น ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของงานอย่างหนึ่ง

นิทานธรรมะ ตอน ข้อคิดจากต้นไม้

นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง ข้อคิดจากต้นไม้

นิทานธรรมะ ตอน ข้อคิดจากต้นไม้ ... เป็นที่ทราบกันว่า ต้นไม้เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ดินฟ้าอากาศและสภาวะแวดล้อมเป็นไปโดยปกติ ไม่วิปริตผิดเพี้ยน นอกจากนี้ ความเป็นไปของต้นไม้ ยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าทางจริยธรรมสำหรับมนุษย์ด้วย คือ
        ๑. เป็นอาจารย์เรื่องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ต้นไม้เมื่อกิ่งก้านหนึ่งถูกตัดออกไปก็มีกิ่งก้านใหม่สร้างขึ้นมา เมื่อร้อนแล้งก็ทิ้งใบร่วงหล่น เป็นการประหยัดน้ำและอาหาร เมื่อฝนตกก็งอกงามเติบโตและยังมีลักษณะอีกหลายอย่างที่ต้นไม้แสดงออกถึงการปรับตัวให้อยู่รอดได้ตามธรรมชาติ การปรับตัวของต้นไม้จึงให้ข้อคิดกับมนุษย์ในเรื่องการต่อสู้และปรับตัว
       ๒. เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ เริ่มตั้งแต่ให้ดอกผลเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ให้อากาศที่บริสุทธิ์ ให้ร่มเงาเป็นที่พักอาศัย ไปจนถึงให้ความสมดุลแก่ธรรมชาติซึ่งเป็นคุณใหญ่หลวงแก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จนที่สุดแม้เนื้อไม้อันเป็นต้นของไม้นั่นเองก็ยังให้ประโยชน์ในการสร้างบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้อีกมากมาย

นิทานธรรมะ ตอน รถไต่ถัง

นิทานธรรมะสั้นๆ ตอน รถไต่ถัง

นิทานธรรมะ ตอน รถไต่ถัง
      รถไต่ถัง คือรถที่ผู้แสดงใช้ขับขี่อยู่ในถังกลม ๆ ขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น หวาดเสียว ผู้แสดงขับขี่รถไต่ถังนั้น ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาแล้วอย่างชำนาญ จนบางครั้งแม้ไม่จับที่ควบคุม หรือพวงมาลัยเลย ก็ยังสามารถบังคับรถให้วิ่งไปภายในถังวงกลมโดยไม่เกิดอุบัติเหตุ

       เคยมีรายการโทรทัศน์ไปสัมภาษณ์ผู้แสดงว่า เคยแสดงผิดพลาดถึงขั้นตกลงมาบาดเจ็บหรือไม่ ผู้แสดงตอบว่า ตั้งแต่ฝึกจนชำนาญและมีประสบการณ์ในการแสดงแล้วไม่เคยผิดพลาดเลย เมื่อถามอีกว่า มีวิธีการหรือเคล็ดลับอย่างไรจึงไม่ผิดพลาด ก็ได้คำตอบว่า ถ้าเราไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ความผิดพลาดก็จะไม่เกิดขึ้น

       ในทางธรรม สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน สติคือความระลึกได้ก่อนกระทำหรือก่อนพูดอะไร ให้ใช้สติควบคุมจิตไว้กับสิ่งที่เราเกี่ยวข้องเสมอ ส่วนสัมปชัญญะ คือความรู้ตัวทั่วพร้อม ขณะทำกิจนั้น ๆ แท้จริงแล้วการดำรงสติสัมปชัญญะให้มั่นในขณะทำกิจต่าง ๆ นั้น ก็เป็นอันเดียวกันกับความไม่ประมาทนั่นเอง และเมื่อไม่ประมาทเสียแล้ว แม้จะแสดงผาดโผนอย่างไรก็ยากที่จะเกิดความผิดพลาด แต่ถ้าประมาท ต่อให้ขับขี่บนถนนที่ลาดยางอย่างดีหรือลงมือทำกิจอื่นที่ง่ายกว่านั้นก็มีโอกาสพลาดได้เสมอ ทั้งสติและสัมปชัญญะ จึงมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เพราะช่วยให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้อง ไม่ผิดพลาด นับว่าเป็นธรรมมีอุปการะมากจริง ๆ ดังนั้น เมื่อมีหน้าที่ก็พึงปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วยความไม่ประมาท คือมีสติสัมปชัญญะกำกับอยู่ทุกขณะเถิด หากทำได้เช่นนี้ ความผิดพลาดย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

    อ่านนิทานธรรมะ (นิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน) ขอแนะนำนิทานธรรมะยอดนิยม  นำเสนอนิทานธรรมะสั้น ๆ เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะให้คติสอนใจ สั้นๆ ให้ทั้งความสนุก แต่สอดแทรกหลักธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สนใจนิทานธรรมะ ต้องที่ นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ตอน ทางเสื่อมทั้ง ๔

นิทานธรรมะสอนใจ เรื่อง ทางเสื่อมทั้ง ๔

"นิทานธรรมะ" ตอน ทางเสื่อมทั้ง ๔ ... ธรรมชาติของคนเรา ย่อมหนีไม่พ้นสภาพที่เรียกว่า "ความเสื่อม" ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าใด ความเสื่อม ก็ยิ่งปรากฎมากขึ้นเท่านั้น เช่น ผมหงอก ฟันหัก หูตา แขนขาก็พลอยเสื่อม สมรรถภาพ แม้แต่ความทรงจำ และความคิดอ่านก็เชื่องช้าถดถอย นึกแล้วก็น่าใจหาย เพราะชีวิตที่หวงแหน จะไม่อาจกลับคืนดีดังเดิมได้ แต่ความเสื่อมดังกล่าว ก็ไม่มีใครหนีพ้น เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติ
                แต่ความเสื่อมอีกชนิดหนึ่งเป็นความเสื่อมเพราะพฤติกรรม กล่าวคือ การปฏิบัติของตนเอง ซึ่งทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า "อบายมุข" ได้แก่
                ๑. ความเป็นนักเลงหญิง ได้แก่ยินดีหมกมุ่นอยู่ในกิจกรรมทางเพศ ผลที่สุดทำให้เกิดความเสื่อมต่าง ๆ ตามมา เช่น สิ้นทรัพย์ เสียชื่อเสียง ครอบครัวแตกแยก และอาจถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคร้ายในที่สุด
                ๒. ความเป็นนักเลงสุรา นอกจากจะทำให้เสียทรัพย์และเกิดโรคแล้ว ยังเป็นเหตุต่อการทะเลาะวิวาท และการขาดสติ ไม่อาจควบคุมตนเองได้ จนเป็น เหตุก่อความเสียหายอื่นๆ ได้อีก
                ๓. ความเป็นนักเลงการพนัน

นิทานธรรมะ ตอน โทษของการไม่รู้คุณ

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง โทษของการไม่รู้คุณ

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ ตอน โทษของการไม่รู้คุณ ... มีนิทานเล่าเป็นคติสอนใจไว้ว่า กวางตัวหนึ่งถูกนายพรานไล่ล่าหมายจะสังหาร จึงวิ่งหนีสุดชีวิตจนไปพบพุ่มไม้หนาทึบพุ่มหนึ่งกระโดดเข้าไปหลบซ่อนตัวในพุ่มไม้นั้น เมื่อนายพรานตามมาทันแต่มองหาไม่พบก็ผ่านเลยไปทางอื่นเสีย กวางตัวนี้เห็นว่าตนเองปลอดภัยแน่แล้ว ก็เกิดความชะล่าใจ ยิ่งเห็นพุ่มไม้ที่อาศัยหลบซ่อนนั้นเต็มไปด้วยยอดและใบอ่อนที่เพิ่งออกมา มองดูแล้วช่างน่ากินยิ่งนัก ก็สำคัญว่าเป็นโชคดีที่มาพบอาหารอันโอชะแล้วและเล็มกินใบไม้นั้นอย่างเพลิดเพลิน จนพุ่มไม้กลับโล่งโปร่งบางไปถนัดตา ฝ่ายนายพรานเมื่อผิดหวังก็เดินกลับมาทางเก่า ได้มองเห็นกวางตัวนั้นอีกครั้ง จึงได้สังหารด้วยธนูสมดังใจหมาย ก่อนจะตาย กวางหวนคิดโทษตัวเองที่ได้ทำลายพุ่มไม้ซึ่งเคยช่วยชีวิตไว้ จึงเกิดสำนึกว่า "นี่แหละ โทษแห่งการทำลายสิ่งที่มีคุณ"

นิทานธรรมะ ตอน ทางชีวิต

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ทางชีวิต

นิทานธรรมะ ประจำวันเสาร์ที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๘ ตอน ทางชีวิต ... สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสถามเด็กหญิงคนหนึ่งว่า เด็กน้อยเธอมาจากไหน? เด็กสาวตอบว่า ไม่ทราบ ตรัสถามต่อไปอีกว่า แล้วเธอจะไปที่ไหน? เธอตอบว่า ไม่ทราบ ชาวบ้าน ทั้งหลาย ที่อยู่ บริเวณนั้น ก็แสดง ความไม่พอใจ พากัน ติเตียน ต่าง ๆ นานาว่า พูดจาไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่รู้กาลเทศะ ไม่มีการอบรมสั่งสอน เป็นต้น แต่ทุกคนก็ต้องประหลาดใจไปตาม ๆ กัน เมื่อพระพุทธองค์ตรัสว่า หนูน้อย คนนี้ช่วงปัญญาหลักแหลมนัก ตอบคำถามได้ดี
                      ก่อนที่จะทราบความหมายของคำตอบนั้น เราต้องเข้าใจก่อนว่า มนุษย์เกิดมาแล้วในโลกนี้ นอกจากจะต้องเดินทางไป ๆ มา ๆ ตามเส้นทางคมนาคมทางบก ทางเรือ ทางอากาศแล้ว ยังมีเส้นทางชีวิต ที่จะต้องเดิน อยู่อีกถึง สามสาย พระพุทธองค์ ได้ตรัส บอกเส้นทาง เหล่านั้น ไว้ว่า

                      ทางสายที่หนึ่ง  ชื่อ กามสุขัลลิกานุโยค เดินง่าย สะดวก และเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นการใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย เน้นความสนุก เพลิดเพลิน หมกมุ่นอยู่กับการกิน การดื่ม เสพสุข ทางกามารมณ์ แต่แล้วสุดสายปลายทางก็เป็นทุกข์ เดือดร้อนชีวิตไร้สาระแก่นสาร มีปัญหาตามมามากมาย

ตักบาตร โดย"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ"

นิทานธรรมะ เรื่อง ตักบาตร

ตักบาตร โดย"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ"
      การตักบาตร คือการเอาข้าวและกับข้าวใส่ลงไปในบาตรของพระภิกษุสามเณร เราจะตักบาตรเป็นประจำทุกวันหรือเฉพาะวันพระหรือวันคล้ายวันเกิดของตนก็แล้วแต่ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับศรัทธา กำลังทรัพย์ และความสะดวกของตน

       การทำบุญตักบาตร เป็นกิจที่ชาวพุทธนิยมทำกัน เป็นการช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะพระภิกษุสามเณรเป็นผู้สละโลก ไม่ได้ประกอบอาชีพใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากจะปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อขัดเกลาตนเองและนำความรู้ไปแนะนำสั่งสอนพุทธศาสนิกชนให้ประพฤติดีละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้สะอาด ผ่องใส

       การทำบุญตักบาตรที่ถือว่าได้บุญมากนั้นจะต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ

       ๑. วัตถุสิ่งของสำหรับทำบุญต้องบริสุทธิ์ หมายความว่า เงินทองที่นำมาจับจ่ายซื้อสิ่งของมาทำบุญต้องได้มาด้วยความสุจริต ไม่คดโกงหรือขโมยใครมา เป็นของบริสุทธิ์ ไม่ได้เบียดเบียนชีวิตสัตว์ คือไม่ได้ฆ่าสัตว์มาทำบุญ และวัตถุที่นำมาทำบุญนิยมคัดเลือกของที่มีคุณภาพดี อย่างน้อยก็ไม่เลวกว่าที่เรากินเราใช้อยู่เป็นปกติ ชาวพุทธ เมื่อจะใส่บาตรจึงนิยมตักบาตรด้วยข้าวปากหม้อ ถ้าเป็นแกงก็แกงถ้วยแรกที่ตักจากหม้อ เป็นต้น

       ๒. เจตนาของผู้ถวายต้องบริสุทธิ์ หมายความว่า เจตนาต้องบริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ ก่อนให้ก็ต้องมีจิตศรัทธาเลื่อมใส กำลังให้ก็มีจิตใจผ่องใส ให้ด้วยความเคารพ และหลังจากให้แล้วก็มีจิตใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย

"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ" เรื่อง ต่างก็สำคัญ

"นิทานธรรมะ"

"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ" เรื่อง ต่างก็สำคัญ
      มีนิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ ว่า คนเลี้ยงโครีดน้ำนมโคใส่หม้อดิน ยกขึ้นทูนศีรษะนำไปขายที่ตลาด วันหนึ่งน้ำนมกับหม้อดินเกิดทะเลาะกัน ต่างก็อ้างความสำคัญของตน โดยน้ำนมกล่าวว่า น้ำนมมีประโยชน์มากกว่า เพราะคนอาศัยดื่มกินเลี้ยงชีวิต และราคาก็แพงกว่า ฝ่ายหม้อดินก็โต้ตอบว่า หม้อดินต่างหากที่สำคัญกว่า เพราะน้ำนมจะรวมตัวอยู่ได้ต้องอาศัยหม้อ หากไม่มีหม้อน้ำนมจะอยู่ได้อย่างไร จะทดลองดูก็ได้ ว่าแล้วหม้อดินก็เอียงปากหม้อลงทำให้น้ำนมหกราดทางเดิน คนเลี้ยงโคที่ทูนหม้อดินอยู่ไม่ทันระวังตัวก็เดินลื่นหกล้ม หม้อดินจึงตกลงกระทบพื้นแตกกระจาย น้ำนมที่อยู่ในหม้อก็หกเรี่ยราดเสียหายหมด

       ข้อคิดในเรื่องนี้ ก็คือการที่มนุษย์เราอยู่รวมกันเป็นสังคม ย่อมมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไปตามความรับผิดชอบ เช่น ในครอบครัวมีสามี ภรรยา และบุตรธิดา แต่ละคนก็ย่อมมีส่วนร่วมในความเจริญหรือเสื่อมได้พอ ๆ กัน แม้ในหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละระดับก็ย่อมมีความสำคัญด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่ควรคิดว่าตนสำคัญที่สุดในความสำเร็จของงาน หรือดูถูกความดีความสามารถของผู้อื่น เพราะจะทำให้หลงตัวเอง บั่นทอนกำลังใจคนอื่น และเกิดความขัดแย้ง ไม่เป็นผลดีทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม

       ดังนั้น การทำงานร่วมกันจึงมีหลักสำคัญอย่างหนึ่ง คือต้องให้ความสำคัญแก่ผู้อื่น ยกย่องความสามารถและให้เกียรติกันและกัน ผู้ใหญ่มอบหมายงานที่เหมาะสมและเอาใจใส่ดูแลสุขทุกข์ของผู้น้อย ส่วนผู้น้อยก็ทำงานเต็มที่ให้สมกับที่ได้รับความไว้วางใจ ในระดับที่เสมอกันก็ยกย่องให้เกียรติมีความจริงใจต่อกัน เมื่อต่างเห็นความสำคัญของกันและกันเช่นนี้ การทำงานร่วมกันก็จะมีแต่ความราบรื่น เป็นผลดีแก่ทุกคนทุกฝ่าย ... "นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ" เรื่อง ต่างก็สำคัญ  โดย นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน ตัวอิจฉา

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ตัวอิจฉา

นิทานธรรมะ ตอน ตัวอิจฉา
     ในโลกบันเทิงเช่นละครหรือภาพยนตร์ เมื่อจะผูกเรื่องก็มักจะต้องมีตัวละครผู้รับบทที่เรียกกันว่า ตัวอิจฉา อยู่ด้วยเสมอ เรื่องจึงจะเข้มข้น ชวนติดตาม ยิ่งตัวอิจฉาแสดงสมบทบาทเข้ากับอารมณ์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเร้าใจเท่านั้น จึงเป็นตัวละครที่ขาดไม่ได้

        แต่ในโลกความเป็นจริง ความอิจฉาริษยาเป็นสภาพไม่พึงปรารถนา เพราะเกิดจากความรู้สึกไม่พอใจเมื่อผู้อื่นได้ดีกว่า ถ้ามีโอกาสก็คอยตัดรอน เมื่อยังไม่มีโอกาสก็ร้อนรุ่มสุมทรวง บีบคั้นและเป็นทุกข์แก่ตัวเอง มองในแง่ไหน ๆ ก็มีแต่ผลเสีย ท่านจึงแนะวิธีแก้ไว้ดังนี้

       ๑. เพ่งดูความอิจฉา คือเข้าไปดูตรง ๆ ให้เห็นสภาพจิตใจของตนเองขณะเกิดความอิจฉา ว่าเป็นเพียงอารมณ์หรือสภาวะการรับรู้เหตุการณ์อย่างหนึ่งที่ผ่านเข้ามา แต่พอมากระทบเข้ากับวิธีคิดที่ผิดซึ่งมีกิเลสหนุนหลังอยู่ ก็กลายเป็นความไม่พอใจแล้วขยายวงออกไปเรื่อย ๆ เมื่อทราบว่าเรื่องจริง ๆ มีแค่นี้ จะได้เกิดสติรู้ทัน แล้วหันมาต่อสู้กับความอิจฉาภายในตัวเอง ไม่ต้องไปสู้กับใคร
        ๒. พิจารณาโทษภัย คิดให้เห็นข้อเท็จจริงว่าเมื่อความอิจฉาริษยาเกิดขึ้น ตัวเองเย็นหรือร้อน อึดอัดหรือสบาย กระวนกระวายหรือสงบ ก็จะเห็นว่ามีแต่ทุกข์ทรมาน เป็นการทำร้ายตัวเองแบบสมัครใจ
       ๓. ฝึกใจมุทิตา คือฝึกใจให้รู้สึกเบิกบานยินดีเมื่อคนอื่นได้ดี ความรู้สึกยินดีนั้นจะเป็นสภาวะแห่งสุขที่หล่อเลี้ยงใจของตัวเองก่อน เป็นความสุขที่ได้รับทันทีและนำไปสู่ความสุขร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน และเพื่อนร่วมโลก

นิทานธรรมะ ตอน ได้เท่าที่ได้

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ได้เท่าที่ได้

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ นำเสนอในตอน ได้เท่าที่ได้ ... ตามปกติเมื่อตั้งใจทำอะไรก็ตาม ทุกคนก็อยากได้ผลที่คุ้มค่ากับการกระทำของตน การตั้งความหวังไว้เช่นนี้เป็นหลักสำคัญที่ช่วยสร้างความสำเร็จในหน้าที่การงานทุกประเภท แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าถ้าผลที่ได้ไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้ ทำอย่างไรจึงจะไม่รู้สึกเสียใจ หรือจะไม่เป็นทุกข์เพราะความผิดหวังนั้น

        ในโลกนี้ ความอยากได้กับสิ่งที่ได้มาจริงมักจะไม่สมดุลกัน เพราะความอยากนั้นเกิดได้ง่ายและเกิดได้มากไม่มีสิ้นสุด ขณะที่ผลประโยชน์หรือทรัพย์สินที่อยากได้นั้น เป็นเรื่องที่ได้มายากกว่า มีปริมาณจำกัดกว่า เมื่อได้มาแล้ว จึงต้องให้ความสำคัญกับการเก็บออมและการใช้ให้คุ้มค่า ในทางธรรม การสร้างอนาคตและการทำมาหากินในทางสุจริตนั้นเป็นสัมมาชีพ แต่ถึงจะเป็นสัมมาชีพก็ใช่ว่า เมื่อลงมือทำแล้วจะต้องได้ผลเต็มที่อย่างที่ตั้งใจไว้ทุกครั้ง ท่านจึงสอนว่า เมื่อตั้งใจทำอะไรสุดความสามารถแล้ว ให้ยอมรับผลที่เกิดขึ้นนั้นในลักษณะที่ว่าได้เท่าที่ได้ หรือได้เท่าไรก็เท่านั้น

       การตั้งใจในลักษณะนี้ มองดูเผิน ๆ เหมือนการไม่ทำอะไรจริงจัง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะได้เท่าที่ได้หรือได้เท่าไรก็เท่านั้นนี้ มิได้หมายถึงในขั้นตอนการทำงาน แต่หมายถึงในขั้นตอนการรับผล คือเมื่อรู้ว่าทำเต็มที่แล้วแต่ไม่ได้อย่างที่หวังไว้ก็ยอมรับโดยดี มิฉะนั้น สิ่งที่ได้เท่าที่ได้ ซึ่งไม่ค่อยจะเต็มเม็ดเต็มหน่วยอยู่แล้วจะถูกหารสองอีก คือแทนที่จะมีความสุขเต็มที่กับสิ่งที่ได้ แต่จะกลายเป็นว่ามีความทุกข์ใจเข้ามายึดพื้นที่ไว้อีกครึ่งหนึ่ง เป็นความทุกข์ที่ไม่น่าจะเกิด ผู้รู้จึงสอนไว้ว่า ....
ถ้าทุกคน ได้ทุกอย่าง ดั่งที่คิด สิ้นชีวิต จะเอาของ กองไว้ไหน
มันได้บ้าง เสียบ้าง ช่างปะไร ได้เท่าไร ก็เท่านั้น แหละท่านเอย


"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ ตอน ได้อะไรจากวันเวลาที่ผ่านไป"

นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ ตอน ได้อะไรจากวันเวลาที่ผ่านไป

"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ (บล็อก) ตอน ได้อะไรจากวันเวลาที่ผ่านไป"
วันเวลาที่ผ่านไป ถ้ารู้กจักคิดพิจารณาดูให้ดีแล้ว เราจะได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น
- ทบทวนความหลัง คือ พิจารณาอดีตที่ผ่านไปว่า การดำเนินชีวิตของเราสมบูรณ์ หรือบกพร่อง ถูกต้องหรือผิดพลาด เจริญหรือเสื่อม ก้าวหน้าหรือถอยหลัง ถ้าสมบูรณ์ถูกต้อง ก็ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ดี แต่ถ้าตรงกันข้าม ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
- ระวังความผิด คือ พิจารณาว่า สิ่งใดดีควรประพฤติปฏิบัติ สิ่งใดไม่ดีควรละเว้น เมื่อทำสิ่งใดไปแล้วผิดพลาด ก็ค่อยระวังอย่าให้เกิดขึ้นอีก    มิฉะนั้นจะกลายเป็น ทำผิดซ้ำซาก มีหลายท่านกล่าวว่า ผิดนั้นเป็นครูก็จริง แต่ก็ไม่พึงผิดบ่อยๆ เพราะผิดบ่อยๆ เป็นครูที่ดีไม่ได้ และจะทำให้เกิดความเคยชินจนเป็นนิสัยได้
- เตือนจิตของตน เป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการระวังไม่ให้เกิดความผิดพลาดต่างๆ เพราะไม่มีใครจะเตือนตัวเราได้ดี เท่ากับตัวของเราเอง ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า อัตตะนา โจทะยัตตานัง แปลว่าจงเตือนตนด้วยตนเอง มีผู้รู้กล่าวเป็นคำกลอนไว้ว่า ตนเตือนตน ของตน ให้พ้นผิด ตนเตือนจิต ตนได้ ใครจะเหมือน ตนเตือนตน ไม่ได้ ใครจะเตือน ตนแชเชือน ใครจะช่วย ให้ป่วยการ
- ฝึกฝนให้มีระเบียบวินัย ถ้าในอดีตเคยเหลาะแหละเหลวไหลไร้สาระ แล้วลองเอา อดีตเป็นบทเรียน ปรับปรุงตัวเอง ให้มีระเบียบวินัย ก็พอจะถือได้ว่าไม่เสียเวลาเปล่า การที่เราอาศัย วันเวลาพัฒนาตน ให้มีระเบียบวินัยขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญ ในการพัฒนาตนและพัฒนาชาติบ้านเมือง ต่อไป เพราะระเบียบวินัยคือ หัวใจของการพัฒนา


นิทานธรรมะ ตอน ดูสองด้าน

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ดูสองด้าน

นิทานธรรมะ ตอน ดูสองด้าน... อ่านนิทานสั้น ๆ แนวนิทานเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี เพราะไม่ใช่แค่นิทานสั้น ให้ความสนุก แต่ยังเป็นนิทานธรรมะสอนใจ ตามคำสอนแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อ่านนิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ สั้นๆ ให้สนุก เพลิดเพลิน ต้องที่ "นิทานธรรมะ"
   มีเรื่องเล่าว่า ในงานฉลองมงคลสมรสงานหนึ่ง พ่อของเจ้าสาวได้ให้โอวาทวิธีการครองชีวิตสมรสให้ยืนยาวและเป็นสุข โดยพูดความตอนหนึ่งว่า “เจ้าสาวที่คิดว่ายอดเยี่ยมที่สุดนี้ เมื่ออยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มเห็นข้อบกพร่องในตัวเธอ และเมื่อใดที่เริ่มสังเกตเห็นข้อบกพร่องนั้น ขอให้เจ้าบ่าวจดจำไว้ว่า ถ้าเจ้าสาวไม่ได้มีข้อบกพร่องเหล่านั้นมาตั้งแต่เริ่มแรก เขาก็คงได้สามีที่ดีกว่าเจ้าบ่าวไปตั้งนานแล้ว”

        ผู้คนรู้สึกประหลาดใจกับโอวาทดังกล่าว เพราะโดยปกติเขามักจะแนะนำด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะหู ฟังแล้วเกิดกำลังใจ เช่น ให้มีความจริงใจต่อกัน ให้เอาใจกัน ให้เข้าใจกัน และให้ไว้ใจกัน เป็นต้น แต่ถ้าพิจารณาให้ถี่ถ้วนก็จะพบคุณค่าในคำแนะนำของพ่อเจ้าสาวข้างต้น กล่าวคือ คนเราทุกคนจะมีสองด้านเสมอ ได้แก่ด้านดีกับด้านเสีย ในเวลาคบกันใหม่ ๆ นั้น ต่างฝ่ายมักจะแสดงแต่ด้านดีต่อกันและปกปิดด้านเสียไว้ แต่เมื่อใช้ชีวิตร่วมกันจริง ๆ แล้ว ก็มักจะปกปิดด้านเสียไว้ไม่ได้ การแนะนำให้ตระหนักด้านที่ไม่ดีให้ทราบตั้งแต่แรกนั้น จึงเป็นเรื่องดี เพราะจะได้รู้เท่าทันความจริงในธรรมชาติของคน แล้วหาทางแก้ไขในทางที่เหมาะที่ควร อันจะช่วยให้การครองชีวิตนั้นเป็นสุขอย่างยั่งยืนได้ ทำได้อย่างนี้ความบกพร่องก็เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความสมบูรณ์ เข้าทำนองพลิกวิกฤตเป็นโอกาส

       โอวาทข้างต้นไม่ได้จำเป็นเฉพาะคู่สมรสบ่าวสาวเท่านั้น แต่ในการปฏิบัติงานและในสังคมทั่วไปก็จำเป็นไม่แพ้กัน เพราะโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์ไปทุกอย่าง และหลักคิดนี้จะช่วยให้เรามีชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้นได้ในท่ามกลางของสิ่งที่ไม่สมบูรณ์นี้แหละ... นิทานธรรมะ

"นิทานธรรมะ ตอน วาจาสามัคคี"


นิทานธรรมะ ตอน วาจาสามัคคี
"นิทานธรรมะสอนใจ ตอน วาจาสามัคคี"

      นายแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของไทยท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่า การพูดจาทำความเข้าใจกันนั้น อย่าเพียงแต่พูดด้วยเหตุผล แต่ให้พูดด้วยความรักต่อกัน ประโยคสั้น ๆ นี้น่าคิดมาก หากจะจำกัดความการพูดด้วยความรัก ก็น่าจะหมายถึง วจีสุจริต คือไม่พูดเท็จ ไม่ส่อเสียดยุแยงตะแคงรั่ว ไม่หยาบคาย ไม่เพ้อเจ้อไร้สาระเลื่อนลอย และที่สำคัญก็คือ พูดออกจากดวงจิตที่มีเมตตา หวังดีต่อกัน ที่ว่าต้องพูดด้วยความรักต่อกันนั้น ก็เพราะคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจในคำพูดมากกว่าเหตุผล หากใครสามารถพูดให้พึงพอใจได้ ก็พร้อมที่จะสมัครสมานสามัคคีด้วย และถ้าพูดมีเหตุผลด้วย ก็นับว่าดีสมบูรณ์แบบ แต่การพูดที่เอาแต่เหตุผลอย่างเดียวโดยไม่มีความเมตตาหวังดีต่อกัน บางครั้งก็ยุติปัญหาไม่ได้

      การพูดด้วยความรักต่อกันนั้น หากดูตัวอย่างของหนุ่มสาวที่กำลังรักกัน ก็จะเห็นได้ชัดโดยไม่ต้องไปค้นคว้าจากที่อื่น เพราะขณะที่ชอบพอกัน ไม่ว่าจะพูดอะไร ก็ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างเต็มที่ มีความสุภาพสูง ระมัดระวัง ขอโทษได้ง่าย และมากไปด้วยคำยกย่องชื่นชม จนบางครั้งเกินความเป็นจริงไปด้วยซ้ำ แต่ความพึงพอใจของผู้ฟังก็นำไปสู่การยอมรับเหตุผล ทำให้ความรักยั่งยืน เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีได้

      ปัจจุบันมีการเรียกร้องความสามัคคีกันมาก การใช้ภาษาไม่ว่าจะพูดหรือเขียน ก็เป็นวิธีที่ไม่ควรมองข้าม เพราะชั่วดีผิดถูกเป็นเรื่องหลักการที่ต้องคงไว้ก็จริง แต่การที่จะให้เขาเข้าใจหรือยอมรับ บางทีก็ต้องดูที่ภาษาด้วยว่าเป็นไปเพื่อความสามัคคีหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็อาจทำให้เสียเรื่องได้ แม้หลักการและเจตนาจะดีทุกอย่าง ... นิทานธรรมะบล็อก


นิทานสั้นๆ เรื่อง ขอทานไม่มีบุญ

นิทานธรรมะ เรื่อง ขอทานไม่มีบุญ

 นิทานสั้นๆ เรื่อง ขอทานไม่มีบุญ... มีเรื่องเล่าว่า เศรษฐีใจบุญท่านหนึ่ง ต้องการจะแจกทาน จึงให้ประกาศไปทั่ว ขอทานคนหนึ่งได้ยินคำประกาศนั้นจึงไปรับทานกับเขาบ้าง วันแรก ไปยืนต่อแถวคนอื่น ๆ เมื่อเศรษฐีแจกทานมาถึงท้ายแถว ของก็หมดพอดี

       วันรุ่งขึ้น ขอทานคนเดิมคิดว่าเพราะเราไปสายจึงไม่ได้รับทาน จึงไปแต่เช้าตรู่ ยืนรออยู่เป็นคนแรก แต่เศรษฐีเปลี่ยนวิธีแจกใหม่เพราะต้องการให้ได้ทั่วถึงกัน จึงแจกจากท้ายแถวขึ้นมา พอใกล้จะถึงของก็หมดอีก

       วันที่สาม ขอทานคนเดิมไม่ยอมแพ้วาสนาตัวเอง คราวนี้ไปยืนแทรกอยู่ตรงกลาง คิดว่าถึงอย่างไรก็ไม่พลาดแน่ ฝ่ายเศรษฐีสั่งให้แจกทานเหมือนเดิม โดยให้บุตรสาวแจกจากต้นแถวลงไป ส่วนเศรษฐีแจกจากท้ายแถวขึ้นมา แต่พอแจกมาถึงกลางแถว ของก็หมดอีกจนได้ เป็นอันว่าขอทานคนนั้นไม่ได้รับของแจกทานเลยสักครั้งเดียว

นิทานธรรมะ เรื่อง ดีชั้นนอก-ดีชั้นใน

นิทานสั้น เรื่อง ดีชั้นนอก-ดีชั้นใน

นิทานธรรมะ เรื่อง ดีชั้นนอก-ดีชั้นใน

           ทองคำ เป็นธาตุแท้ชนิดหนึ่งซึ่งมีเนื้อแน่น มีสีเหลืองสุกปลั่งมีคุณค่าไม่ขึ้นสนิมถึงจะตกอยู่ในโคลนตมหรือ สิ่งปฏิกูล เป็นเวลาหลายปี แต่เมื่อนำมาล้างน้ำออกแล้ว ก็คงมีสีสุกปลั่ง และเป็นที่ต้องการของบุคคลทั่วไปเช่นเดิม ทั้งสามารถใช้ซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนได้ในทุกๆ ประเทศอีกด้วย ทองคำจึงมีคุณค่ายิ่งในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน

           เมื่อหันมามองดูคนเรา ก็พบข้อเปรียบเทียบว่า อันคนที่มีคุณค่าเป็นที่ปรารถนาของสังคมเฉกเช่นกับทองคำนั้นก็คือคนที่มีความดีนั่นเอง และความดีทำให้คนมีคุณค่าสูงนั้น ท่านกล่าวว่ามี ๒ ชั้น คือ "ดีชั้นนอก" กับ "ดีชั้นใน" สำหรับ ดีชั้นนอก  หมายถึง เป็นคนใฝ่ศึกษาหาความรู้ เพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ และความสามารถ อาจทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปโดยไม่ขาดตกบกพร่อง ดีชั้นใน หมายถึง เป็นคนที่มีความประพฤติดี ตั้งตนอยู่ในทำนองคลองธรรม ไม่เกะกะระรานผู้อื่น กล่าวสั้นๆ คือ เป็นคนมีศีลธรรมประจำใจนั่นเอง คนที่มีดีทั้ง ๒ ชั้นนี้ ย่อมมีคุณค่าและเจริญก้าวหน้าสูงขึ้นไปด้วย ตรงกันข้าม กับคนที่ไม่มีดีทั้ง ๒ ชั้น ชีวิตของเขาย่อมต่ำค่า มิอาจหาความภูมิใจในตัวเองได้เลย เขาย่อมไม่เป็นที่พึงปรารถนาของสังคมอย่างแน่นอน ดังคำกลอนที่ว่า

นิทานธรรมะ ตอน วัตถุมงคล

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง วัตถุมงคล

"นิทานธรรมะ ตอน ของขลัง" ... มีความเชื่ออยู่ในสังคมไทยอย่างหนึ่งว่า บรรดาพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ก็ดี รูปเหมือนเกจิอาจารย์ ตลอดจนเทวรูปต่าง ๆ ก็ดี ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์ ช่วยปกป้องให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัย ขจัดสิ่งอัปมงคลต่าง ๆ แก่ผู้นับถือได้ จึงมีการสร้างย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงเป็นพระเครื่องที่เรียกรวม ๆ ว่าวัตถุมงคล สำหรับห้อยคอหรือพกติดตัวไปในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยคุ้มครองตนให้อยู่รอดปลอดภัย ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา

       สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ในทางหลักธรรมมิได้ระบุว่าอยู่ในวัตถุมงคลชนิดใด แต่เมื่อพูดถึงอำนาจหรือพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของคนแล้ว คงไม่มีความศักดิ์สิทธิ์อันใดที่ยิ่งใหญ่กว่าความศักดิ์สิทธิ์ของกรรมไปได้ เพราะกรรมคือการกระทำนี้มีพลังที่ส่งผลมาก ถ้ากระทำดีก็ส่งผลให้ชีวิตดีขึ้น ถ้ากระทำชั่วก็ส่งผลให้ชีวิตเสื่อมลง เป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอนและตรงไปตรงมา การประสบทุกข์โศกโรคภัยหรือสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ก็ดี การจะอยู่รอดปลอดภัยจากสิ่งเหล่านี้ก็ดี แท้จริงแล้วมาจากการกระทำของตนเป็นสำคัญ และอำนาจของกรรมนั้นอยู่เหนืออำนาจหรือพลังใด ๆ ทั้งสิ้น แม้แต่วัตถุมงคลที่ว่ามีความศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของกรรม เห็นได้จากผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้ ถึงจะมีวัตถุมงคลห้อยอยู่เต็มคอ ก็ไม่อาจช่วยปกป้องคุ้มครองชีวิตตนได้ ส่วนคนที่กระทำแต่คุณงามความดี ถึงไม่มีวัตถุมงคลอะไรเลย ชีวิตก็ดำเนินไปได้โดยสวัสดิภาพ

นิทานธรรมะ ตอน รถเบรกแตก

บทความธรรมะ ตอน รถเบรกแตก

นิทานธรรมะ ตอน รถเบรคแตก
    รถที่ดี นอกจากจะมีเครื่องยนต์กลไก หรือสภาพปกติแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือห้ามล้อหรือเบรก นั่นเอง รถคันใดสามารถวิ่งได้เร็ว และมีเบรกดี สามารถหยุดได้ตามที่ต้องการ รถคันนั้น นับว่าเป็นรถที่ดีเลิศ ส่วนรถคันใดวิ่งได้เร็ว แต่ไม่อาจหยุดได้ตามต้องการ เพราะระบบห้ามล้อไม่สมบูรณ์ รถคันนั้นนับว่า เป็นรถที่มีอันตราย เพราะ ระบบห้ามล้อไม่สมบูรณ์ รถคันนั้นนับว่า เป็นรถที่มีอันตราย เพราะจะเป็นสาเหตุ ให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น วิ่งไปชนผู้คน สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน หรือวิ่งลงหุบเหว เป็นต้น   ในที่สุดผู้ขับ และผู้โดยสารรถคันนั้น ย่อมจะได้รับความหายนะ เดือดร้อน บาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิตก็ได้
      เมื่อหันมามองดูบุคคลเรา จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้มีผู้คนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เป็นดุจ "รถเบรกแตก"  เพราะพวกเขาไม่อาจหยุด หรือหักห้ามจิตใจของตัวเอง จากการกระทำความชั่ว นานาประการ เช่น ปล้น จี้ ฉ้อโกง ลักขโมย คอรับชั่น และเสพยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น ผลสุดท้ายจึงถูกจับกุม คุมขังในคุกตะรางตามฐานานุโทษ กว่าจะรู้สึกตัวเองได้ก็สายเกินแก้
       ดังนั้น การหยุดจากการกระทำความชั่ว ความผิดพลาด ความบกพร่อง และนิสัยที่ไม่ดีบางอย่าง เป็นต้น จึงนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น และมีประโยชน์ยิ่งสำหรับทุกๆ คน มีท่านผู้รู้ได้แสดงวิธีหยุด หรือวิธีซ่อมเบรกไว้ ๓ ประการ คือ
      ๑. มองให้เห็นโทษของความชั่ว ความผิดพลาด ความบกพร่องนั้นๆ
      ๒. มองให้เห็นประโยชน์ของการหยุดจากความชั่ว ความผิดพลาดความบกพร่องนั้นๆ
       ๓.ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจที่เข้มแข็งหนักแน่นอยู่เสมอ ไม่ปล่อยใจไปตามอารมณ์

       เพราะฉะนั้น ถ้าท่านรู้ตัวว่า "เบรกแตก" ก็จง "หยุด" จากการกระทำความชั่วนานาประการดังกล่าว.... ตั้งแต่บัดนี้เถิด .... สาธุ นิทานธรรมะ


นิทานธรรมะ ตอน ยอดแห่งยศ

บทความธรรมะ ตอน ยอดแห่งยศ

ยอดแห่งยศ โดย นิทานธรรมะ นำเสนอบทความทางธรรมะ ประจำวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ยอดแห่งยศ... เมื่อกล่าวถึงยศ คนทั้งหลายมักนึกถึงยศทหารและยศตำรวจเป็นหลัก ส่วนยศประเภทอื่น จะนึกถึงน้อยหรืออาจไม่นึกถึงเลยด้วยซ้ำไป ทั้ง ๆ ที่ยศทหารและยศตำรวจนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยศอื่น ๆ
        ยศนั้น โดยลักษณะแล้วมี ๓ ประเภท ได้แก่
๑. อิสริยยศ ยศคือความเป็นใหญ่ด้วยตำแหน่ง
๒. บริวารยศ ยศคือพวกพ้องบริวาร มีคนคอยช่วยเหลือ
๓. เกียรติยศ ยศคือชื่อเสียง ความยกย่องนับถือที่ได้รับจากการทำความดี
       ยศทั้ง ๓ นี้นำมาซึ่งความภาคภูมิใจและเกียรติในสังคม รวมถึงความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย ในบรรดายศเหล่านี้จะเห็นว่า อิสริยยศ มีคนเข้าถึงน้อย เพราะเป็นยศที่เขาให้มา ถ้าไม่มีคนให้ก็เข้าถึงยศประเภทนี้ไม่ได้ เช่นยศทหารและยศตำรวจ สำหรับบริวารยศ แม้จะไม่ผูกติดอยู่กับระบบหรือบุคคลที่มีอำนาจแต่งตั้งซึ่งดูเหมือนเปิดกว้างกว่า แต่ก็ยังขึ้นอยู่กับบุคคลภายนอกอีก คือแล้วแต่ว่าเขาพอใจเราแค่ไหน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลหรือเอื้อประโยชน์กันอย่างไร เป็นสิ่งที่แปรผันได้ตลอดเวลา เพราะมีส่วนที่ไปขึ้นอยู่กับความพอใจไม่พอใจของผู้อื่น ส่วนเกียรติยศคือชื่อเสียงจากการทำดีนั้น ไม่ติดด้วยเงื่อนไขใด ๆ ไม่ต้องมีคนตั้งให้เหมือนอิสริยยศ และไม่ต้องมีคน มาห้อมล้อมเหมือนบริวารยศ เกียรติยศจึงเป็นยศที่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อย่างเสมอภาคด้วยการทำความดี และเมื่อยศชนิดนี้เกิดขึ้น ในบางโอกาสยังนำอิสริยยศและบริวารยศมาให้อีกด้วย

นิทานธรรมะ เรื่อง ไฟไหม้ป่า


นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง ไฟไหม้ป่า

นิทานธรรมะ เรื่อง ไฟไหม้ป่า... มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งเกิดไฟป่าขึ้น บรรดาสัตว์น้อยใหญ่ทั้งหลายต่างพากันแตกตื่นหนีไฟกันอลหม่าน แต่ไก่ป่าตัวหนึ่งแทนที่จะหนี กลับบินไปที่แม่น้ำ เอาจะงอยปากอมน้ำ เอาตัวชุบน้ำจนเปียกชุ่ม แล้วบินกลับไปที่เดิม อ้าปาก สะบัดขนด้วยหวังจะโปรยน้ำดับไฟป่า ทำอยู่อย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ก็หาเกิดผลอะไรไม่ พระอิศวรมองดูพฤติกรรมของไก่ป่าแล้วก็ได้แต่นึกขำจึงพูดขึ้นว่า “ปากน้อย ๆ ปีกเล็ก ๆ ของเจ้าแค่นี้ มีหรือจะดับไฟป่าได้ เจ้าจะทำไปทำไม” ไก่ป่าตอบว่า “ที่ข้าพเจ้าทำ เพราะเป็นเรื่อง ที่ควรทำ” พระอิศวรได้ฟังก็เกิดความละอายใจ เป่าลมออกไปจากปากครั้งเดียว ไฟป่าก็ดับทันที

        จากเรื่องเล่านี้ สะท้อนเรื่องจริงว่า ความคิดที่จะช่วยเหลือคนอื่นเป็นความคิดที่ยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการมองที่พ้นออกไปจากประโยชน์ตน อันประโยชน์ตนนี้เป็นยิ่งกว่าผนังทองแดงกำแพงเหล็ก ยากที่ใครจะทำลายให้ราบ แล้วก้าวไปสู่เขตแดนแห่งการเอื้อประโยชน์ผู้อื่น และถ้าการเอื้อประโยชน์ผู้อื่นนั้น อยู่บนพื้นฐานความเดือดร้อนที่จะมาถึงตัวด้วยแล้ว ก็ยิ่งยากเป็นสองเท่า ความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นโดยสุจริตใจ จึงเป็นความคิดที่ยิ่งใหญ่ไม่ว่าจะมีอยู่ในคนที่ต่ำด้อยศักดิ์เพียงใด

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget