ลักษณะของคนเกียจคร้าน ตามทรรศนะทางพระพทุธศาสนามี ๔ ประการคือ.-
๑. เกียจคร้าน (กุสีตะ) คือ หนักไม่เอา เบาไม่สู้ เช่น ได้รับมอบหมายหน้าที่ การงานใดแล้ว ก็ปล่อยปละละเลย ไม่ทำหน้าที่การงานนั้น จนเกิดผลเสียหายแก่หน้าที่ การงาน
๒. ประพฤติทุจริต (ทุจจริตะ) คือ ประพฤติเสีย สร้างเหตุไม่ดี แต่อยากได้รับผลดีเหมือนคนอื่น
๓. ทำงานย่อหย่อน (สิถิละ) คือ ทำอะไรก็ทำล่นๆ ไม่ทำจริงๆ แต่อยากได้รับผลสำเร็จ
๔. ทำงานคั่งค้างอากูล (อากุละ) คือ ชอบผัดวันประกันพรุ่ง อ้างโน่น อ้างนี่ แล้วไม่ทำงาน
วิธีแก้ความเกียจคร้าน คือ.-
๑. อย่าผัดวันประกันพรุ่ง - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่การงานแล้ว ควรรีบทำในทันที อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เช่นว่า เอาไว้พรุ่งนี้ก่อนค่อยทำ เป็นต้น
๒. รู้หน้าที่ - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่การงานแล้ว ควรศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจ และพยายามทำให้เรียบร้อยดีที่สุด และให้ทันเวลา
๓. สำนึกในหน้าที่ - เมื่อได้รับมอบหมายหน้าที่ การงานแล้ว ควรมีความขยันหมั่นเพียรเอาใจใส่ มีความสำนึกว่า "เรามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีรายได้สำหรับเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว ก็เพราะหน้าที่การงานนี้ จึงเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของเรา"
ดังนั้น ผู้หวังความสุข ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต และหน้าที่การงาน จึงควรละนิสัยขี้เกียจ แล้วปลูกฝัง ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบในหน้าที่เสียตั้งแต่วันนี้ ... ธรรมะกับชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น