ประการที่ ๑ เป็นข้อเตือนใจว่า เกิดเป็นคนต้องมีความกตัญญูกตเวที ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ว่าตนจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์แค่ไหน ก็ต้องยึดหลักนี้ไว้ เพราะความกตัญญูกตเวทีจะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ละเมิดต่อผู้มีคุณ ต่อสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่ให้ประโยชน์ และต่อประเทศชาติอันเป็นถิ่นเกิด เป็นต้น ถ้ายังยึดหลักนี้ไว้ได้ สังคมก็สงบสุข ไม่ถูกทำลายล้างถ้าเห็นคุณค่าของความกตัญญูกตเวที ก็ไม่ควรมองแค่ว่าใครที่ทำความดีกับเราบ้าง แต่ควรมองอีกแง่หนึ่งว่าเราจะทำความดีกับใครบ้าง คือมุ่งทำตัวให้เป็นผู้ทำอุปการะก่อน เมื่อวัฒนธรรมแห่งกตัญญูกตเวทีมีพร้อมสมบูรณ์ สิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นเพียงคนหนึ่งให้มา อีกคนหนึ่งให้ไป ซึ่งเป็นลักษณะต่างตอบแทนเท่านั้น แต่จะทำให้เกิดบรรยากาศของความรักใคร่ ความเคารพนับถือ และความผูกพันลึกซึ้ง เป็นสังคมที่อบอุ่นมั่นคงได้ในที่สุด
ประการที่ ๒ ความกตัญญูกตเวที ย่อมมีเหตุเกิด เหตุก็คือมีการทำดีจากบุคคลอื่นเป็นเบื้องต้นก่อน เช่น เคยให้การเลี้ยงดู ให้การอบรมสั่งสอน ให้ความช่วยเหลือ หรืออำนวยให้เกิดผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ละคนจึงควรคิดที่จะสร้างเหตุของความกตัญญูกตเวทีให้เกิดขึ้นในโลกด้วย
อ่านนิทานธรรมะสอนใจ (นิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน) สนใจธรรมะไม่ควรพลาด ธรรมะกับชีวิต นิทานธรรมะสั้น ๆ ธรรมะก่อนนอน เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะให้คติสอนใจ สั้นๆ สนุก สอดแทรกหลักธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สนใจนิทานธรรมะ ต้องที่ "นิทานธรรมะ" [ธรรมะสอนใจ]
แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้
ธรรมะกับความรัก ตอน โลกร่มเย็นด้วยกตัญญูกตเวที
ธรรมะกับความรัก ตอน โลกร่มเย็นด้วยกตัญญูกตเวที &*& มีคำที่นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า “ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี” คำกล่าวนี้นอกจากมุ่งเชิดชูคนที่มีความกตัญญู คือ รู้จักบุญคุณของผู้อื่น และกตเวที คือตอบแทนบุญคุณของผู้ที่ทำอุปการะแก่ตนโดยตรงแล้ว ยังให้แง่คิดที่เป็นเครื่องเตือนใจอีก ๒ ประการ ได้แก่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น