๑. อย่าเฆี่ยนตีพร่ำเพรื่อ เพราะเด็กที่โดนเฆี่ยนตีบ่อย ๆ มีแนวโน้มที่จะเกเรและต่อต้านมากยิ่งขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องลงไม้ลงมือ เช่น การร้องไห้โวยวาย การปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น ให้ใช้การตักเตือนก็เพียงพอ
๒. อย่าเฆี่ยนตีโดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้พ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องระมัดระวังอย่าใช้กำลังกับลูกมากเกินไป และควรจะเฆี่ยนตีเมื่อลูกทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ได้ตักเตือนไปแล้ว จึงจะเป็นการเฆี่ยนตีที่สมเหตุสมผล
๓. อย่าเฆี่ยนตีลูกต่อหน้าคนอื่น
เพราะจะทำให้ลูกอับอายและเสียหน้า วิธีจัดการเมื่อลูกทำตัวไม่น่ารักขณะมีผู้อื่นอยู่ด้วย ให้พ่อแม่ใช้วิธีเตือนด้วยเสียงเข้ม ๆ ก่อน หากเขาไม่ยอมหยุดก็ให้พาออกไปจากที่นั้นแล้วค่อยลงโทษ
สำนวน “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” นี้ ในทางปฏิบัติหาใช่จะต้องใช้กับลูกทุกคนก็หาไม่ เพราะเด็กบางคนที่มีดีอยู่ในตัว เพียงแต่เราแนะนำเขาก็ปฏิบัติได้แล้ว อย่างไรก็ตามสำหรับบางคนก็จำเป็น ดังคำประพันธ์ที่ว่า
เมื่อรักวัว กลัวทำไม ท่านให้ผูก
ถ้ารักลูก ก็อย่าปล่อย คอยว่าขาน
หากแม่พ่อ พะนอลูก ไม่ถูกกาล
ก็เหมือนหว่าน พืชฉิบหาย ในสกุล
ขอบคุณทุกๆ ท่าน ที่กำลังอ่านนิทานธรรมะให้คติสอนใจ ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ สามารถเลือกอ่านได้ตามชอบใจนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น