แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังแล้วไม่โกรธ

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังแล้วไม่โกรธ ... คำพูดสร้างความสุขและทุกข์ให้คนได้ง่ายที่สุด ในสุตตันตปิฎก คำภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จึงสอนวิธีฟังคำพูดของผู้อื่นเพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์ไว้ว่า ถ้อยคำที่ผู้อื่นจะพูดกับเรานั้นมี 5 ลักษณะคือ

       ๑. พูดได้ถูกกาลเวลาบ้าง ไม่ถูกกาลเวลาบ้าง
       ๒. พูดเรื่องจริงบ้าง เรื่องไม่จริงบ้าง
       ๓. พูดคำอ่อนหวานบ้าง คำหยาบคายบ้าง
       ๔. พูดเรื่องมีสาระบ้าง ไร้สาระบ้าง
       ๕. พูดด้วยเมตตาบ้าง พูดด้วยโทสะบ้าง

       เมื่อเขากล่าวถ้อยคำเหล่านี้อยู่ พึงตั้งใจให้มั่นว่า จิตของเราจะไม่แปรปรวน จะไม่เปล่งวาจาหยาบคายโต้ตอบ เราจะเกื้อกูลแนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เขาเท่าที่ทำได้ จะมีเมตตาต่อเขา ไม่โกรธตอบ เราจะปรารถนาให้เขามีความสุข ไม่มีเวร ไม่พยาบาทต่อเขาเลย

       เพราะเราบังคับคนทั้งโลกให้พูดตามที่เราต้องการไม่ได้ จึงต้องบังคับตัวเองให้เข้มแข็งแทนด้วยการปฏิบัติตามคำสอนข้างต้น จิตใจที่เข้มแข็งและมีเมตตาจะทำให้บรรเทาความโกรธเสียได้ ทำให้ชีวิตเป็นสุขขึ้น ดังคำประพันธ์ที่ว่า
ฆ่าความโกรธได้ก็หายทุกข์   เกษมสุขเสพสันติ์และหรรษา
ไร้ธุลีกลุ้มรุมสุมอุรา   ดั่งจันทราเมฆหมดไม่บดบัง
ไม่ฆ่าโกรธให้ตายไม่คลายทุกข์ จะหมายสุขเสพสันติ์นั้นอย่าหวัง
เหมือนเมฆหมอกราคีมีพลัง เข้าบดบังเปื้อนปะศศิธร
ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังแล้วไม่โกรธ

ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังหูไว้หู

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังหูไว้หู ... มีสำนวนไทยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น หมายความว่า การได้ยินได้ฟังจากคนอื่นถึงจะดูหนักแน่นน่าเชื่อถืออย่างไรก็ไม่เท่ากับได้พบได้เห็นด้วยตนเอง การจะเชื่ออะไรจะปฏิบัติอย่างไรจึงต้องไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน แม้ว่าเหตุการณ์หรือบุคคลเหล่านั้นจะน่าเชื่อถือและมีความสุจริต แต่คนที่สุจริตก็พลั้งเผลอ คิดผิด พูดผิด ทำผิดได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงพวกมีเจตนาแอบแฝง ท่านจึงสอนให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองเสียก่อน เพื่อความรอบคอบยิ่งขึ้น เพราะการด่วนเชื่อในลักษณะไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบ ไม่มีเหตุผล นั้น ย่อมเสี่ยงต่อการพูดและการกระทำที่ผิดพลาด แล้วนำมาซึ่งความเดือดร้อนหายนะได้

       เรื่องการใช้สติปัญญาประกอบความเชื่อนี้ ศาสนาพุทธได้สอนหลักความเชื่อที่เรียกว่ากาลามสูตร ไว้ ๑๐ ประการ คืออย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟัง ๆ กันมา อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อ ๆ กันมา อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรรกะ คือตรึก นึกคิดเอา อย่าเพิ่งเชื่อโดยอนุมาน คือคาดคะเนเอา อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้ และอย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูอาจารย์ของตน ต่อเมื่อได้ใช้สติปัญญาสอบสวนจนรู้และเข้าใจตามเป็นจริงแล้ว จึงค่อยเชื่อและปฏิบัติตาม

       ฉะนั้น เมื่อได้ยินใครพูดหรือประสบเหตุการณ์ใด ๆ ก็ตาม อย่าเพิ่งเชื่อหรือไม่เชื่อเสียทั้งหมด ควรฉุกคิดใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้ทราบชัดตามเป็นจริงเสียก่อนแล้วจึงเชื่อและปฏิบัติไปตามนั้น เข้าทำนองฟังหูไว้หูนั่นเอง หากทำได้เช่นนี้ ชีวิตย่อมดำเนินไปโดยสวัสดิภาพ ปราศจากความผิดพลาดเสียหายอย่างแน่นอน ... ธรรมะสอนใจ ตอน ฟังหูไว้หู

ธรรมะสอนใจ ตอน ผลบุญ

ธรรมะสอนใจ.ผลบุญ

ธรรมะสอนใจ ตอน ผลบุญ ... การทำบุญเป็นกิจกรรมที่มีอยู่ในทุกศาสนา โดยเฉพาะในพระพุทธศาสนามีการทำบุญหลายวิธี เช่น การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น เป็นวิธีชักนำให้คนเข้าหาความดี การทำบุญนั้นไม่ว่าจะมีกรรมวิธีแตกต่างกันอย่างไร ก็ทำให้เกิดความดีที่เป็นผลรวมเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือปิดกั้นอกุศล ไม่ให้ความชั่วได้ช่อง

        โดยธรรมชาติ ดีกับชั่วย่อมเป็นปฏิปักษ์กันเองอยู่ในตัว ขณะที่กำลังพูดไพเราะ จะไม่สามารถพูดคำหยาบได้ ขณะที่เกิดความรักอย่างท่วมท้นจะไม่สามารถโกรธได้ เมื่อเปิดช่องให้ความดีมากเท่าใด โอกาสของความชั่วก็น้อยลงเท่านั้น การทำบุญจึงไม่ใช่เป็นเพียงประเพณีหรือข้อบัญญัติที่เลื่อนลอย แต่มีผลดีต่อชีวิตจริง ๆ อย่างน้อย ๒ ระยะ คือ

         ระยะแรก ทำให้เกิดความสุขใจ บางคนพรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียง ความมีหน้ามีตาในสังคม แต่หาความสุขใจไม่ค่อยได้ ที่เป็นดังนั้นเพราะยังเข้าไม่ถึงความสุขอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าอะนะวัชชะสุข คือสุขเกิดจากการไม่กระทำสิ่งที่มีโทษ ได้แก่ความปลอดโปร่งใจ วางใจได้สนิทว่าไม่มีความผิดที่จะต้องเดือดร้อนสะดุ้งระแวง มีความสงบเย็น ไม่ถูกทำร้ายแม้จากความรู้สึกของตัวเอง

        ระยะที่สอง ทำให้เกิดความมั่นใจ โดยเฉพาะความมั่นใจในวาระสุดท้ายของชีวิต เพราะคนที่ใกล้ตาย จะต้องละทิ้งทรัพย์สมบัติครอบครัวและญาติมิตรที่เคยเป็นที่พึ่งไว้เบื้องหลัง ครั้นมองไปข้างหน้า ก็ไม่รู้ว่าจะต้องไปไหน เผชิญกับอะไร ตกอยู่ในสภาพอ้างว้างหวาดหวั่น เพราะไม่เห็นว่าสิ่งใดจะเป็นที่ยึดเหนี่ยวพึ่งพิงได้ จึงมีแต่บุญหรือความดีเท่านั้น ที่จิตใจจะนึกหน่วงเอามาเป็นอารมณ์ ทำให้เกิดความภูมิใจและมีกำลังใจได้ บุญที่ทำไว้จึงเป็นที่พึ่งสุดท้ายจริง ๆ

        การทำบุญไม่ว่าในศาสนาไหน ย่อมไม่ได้เป็นเพียงประเพณีเท่านั้น ทุกครั้งที่ทำ หมายถึงได้ปิดกั้นความชั่ว เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขใจและมั่นใจ ทำให้ชีวิตเป็นสุขขึ้นทันตาเห็น ไม่ใช่เรื่องควรรังเกียจหรือน่าเบื่อหน่ายแต่อย่างใด .... ธรรมะสอนใจ ตอน ผลบุญ

ธรรมะสอนใจ ตอน พินาศเพราะกิเลส

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน พินาศเพราะกิเลส
      มีเรื่องเล่าว่า ชายสองคนเป็นสหายกัน พากันไปบวงสรวงเทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏว่าเทพเจ้าพอใจอนุญาตให้เขาทั้งสองขอสิ่งที่ปรารถนาได้โดยเสรี โดยบอกว่าใครขอก่อนขอเท่าใดก็จะได้เท่านั้น ส่วนคนที่ขอภายหลังจะได้สิ่งนั้นเหมือนกัน แต่ได้มากเป็นสองเท่า สหายทั้งสองต่างดูเชิงกันอยู่พักใหญ่ เพราะเกี่ยงกันว่า คนขอก่อนจะได้เพียงส่วนเดียว ส่วนคนขอทีหลังจะได้มากถึงสองส่วน ในที่สุดคนแรกก็ตัดสินใจขอพรจากเทพเจ้าก่อน แต่แทนที่จะขอทรัพย์สินเงินทอง กลับขอให้ดวงตาของตนบอดไปข้างหนึ่ง ด้วยหวังว่าเพื่อนที่ขอทีหลังจะได้ตาบอดทั้งสองข้าง ผลก็คือตาของตัวเองบอดไปข้างหนึ่งจริง ๆ ส่วนคนที่สองเข้าใจว่า คนแรกคงจะขอทรัพย์สินเงินทองเป็นแน่ และเทพเจ้าก็คงจะประทานความร่ำรวยให้ ในเมื่อตนขอภายหลังก็จะต้องร่ำรวยกว่าคนแรกถึงสองเท่าอย่างแน่นอน คิดดังนั้น เขาจึงได้ขอพรเช่นเดียวกับที่คนแรกขอไว้ ในที่สุดดวงตาของเขาก็บอดสนิททั้งสองข้าง

       เรื่องนี้ เมื่อมองในแง่หลักธรรมพบว่า คนแรกมีจิตริษยาคนอื่น ไม่เว้นแม้กระทั่งเพื่อนรักกัน จิตประเภทนี้จะคอยคิดในทางตัดรอนหรือทำลายผลประโยชน์ของคนอื่น เห็นใครได้ดีแล้วทนอยู่ไม่ได้ ส่วนคนที่สองมีลักษณะละโมบจัด เห็นแก่ได้เป็นหลัก ไม่มีความคิดเรื่องการเสียสละอยู่ในใจ เมื่อคนทั้งสองมาคบกันผลสุดท้ายก็พินาศ ทั้งสองฝ่าย

       พระพุทธศาสนาสอนว่า จิตที่มีลักษณะริษยาและโลภจัดนั้น เป็นเหมือนสนิมที่คอยกัดกินจิตใจให้เสื่อมทราม ดุจสนิมที่กัดกินเหล็กให้ผุกร่อน คนมีปัญญาจึงหมั่นกำจัดสนิมดังกล่าวออกจากจิตใจตนเอง และวิธีที่ทำได้ง่าย ๆ ก็คือ หัดชื่นชมยินดีในความสำเร็จของผู้อื่นและเสียสละประโยชน์ส่วนตนดูบ้าง หากทำได้ นอกจากจะป้องกันมิให้ความพินาศเกิดขึ้นได้แล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมให้จิตใจเยือกเย็นอิ่มเอิบ มีความสุขอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนด้วย ... ธรรมะสอนใจ ตอน พินาศเพราะกิเลส
     
      อ่านนิทานธรรมะสอนใจ (นิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน) ผู้ที่สนใจธรรมะไม่ควรพลาดนิทานธรรมะสั้น ๆ ธรรมะก่อนนอน เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะให้คติสอนใจ สั้นๆ ให้ทั้งความสนุก สอดแทรกหลักธรรมแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สนใจนิทานธรรมะ ต้องที่ "นิทานธรรมะ" [ธรรมะสอนใจ]

ธรรมะสอนใจ ตอน เพียงผู้โดยสาร

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน เพียงผู้โดยสาร
      ผู้ที่เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง จำต้องจับจองตั๋วโดยสาร เมื่อได้รับแล้วมักเกิดความรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของที่นั่งตามหมายเลขในตั๋ว หากมีใครมานั่งแทนที่ เราจะอ้างกรรมสิทธิ์ว่าที่นั่งตรงนั้นเป็นของเรา ขณะที่ใช้บริการอยู่ เมื่อยังไม่ถึงที่หมาย ก็เข้าใจว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอยู่ตราบนั้น แต่พอถึงที่หมายปลายทางก็จะลงจากพาหนะที่โดยสารนั้นไปโดยไม่มีความอาลัย ประหนึ่งรู้ว่ากรรมสิทธิ์ของเรามีเพียงเท่านี้เอง ปล่อยให้ที่นั่งเป็นของคนอื่นต่อไป
       หากจะเปรียบชีวิตเป็นการเดินทาง ทรัพย์สินเงินทอง ตลอดทั้งตำแหน่งหน้าที่ เป็นต้น ก็เปรียบเหมือนอุปกรณ์สำหรับโดยสาร ในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยให้ดำเนินชีวิตไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ได้ง่ายขึ้น แต่ข้อเท็จจริงมักเกิดปัญหาขึ้น ๒ อย่าง คือ

       ๑. ละเลย คือ ไม่ใช้อุปกรณ์โดยสารนั้นให้เกิดประโยชน์ เช่นมีทรัพย์ก็ไม่ใช้ทรัพย์นั้นให้เกิดสาระแก่ชีวิต มียศมีอำนาจก็ปล่อยให้โอกาสที่จะสร้างคุณประโยชน์หลุดลอยไป เป็นต้น

       ๒. ยึดติด ได้แก่ ลุ่มหลงหมกมุ่นจนเกินพอดี ครั้งเมื่อจะได้ บางครั้งก็ไม่คำนึงถึงถูกผิดและความเหมาะสม ส่วนครั้งเมื่อจะเสียก็กลัดกลุ้มฟูมฟายจนมีแต่ทุกข์ เต็มไปด้วยความหวงแหนยึดมั่นประหนึ่งว่า แม้ตายก็จะเอาติดตัวไปด้วยได้

       เมื่อจะเดินทางไปที่ใดก็ตาม รถยนต์ที่โดยสารไป เป็นเพียงอุปกรณ์ช่วยในการไป ไม่ใช่เป้าหมายที่จะไป ในข้อเท็จจริง เมื่อต้องลงจากรถโดยสาร จึงไม่มีใครอาลัยอาวรณ์ หวงแหนยึดมั่นกับรถคันนั้นอีก ทรัพย์สมบัติและลาภยศก็เช่นกัน คือเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่เป้าหมาย จึงต้องวางท่าทีในลักษณะที่ว่า ใช้ให้เกิดประโยชน์เมื่อได้ และไม่ทุกข์ใจเมื่อเสีย

       ทำได้อย่างนี้ การเดินทางของเราจึงจะไม่เป็นทุกข์โดยที่ไม่ควรจะเป็น และจะถึงจุดหมายปลายทางด้วยความสะดวกปลอดโปร่งใจ .... ธรรมะสอนใจ ตอน เพียงผู้โดยสาร

ธรรมะสอนใจ ตอน เพื่อนแท้

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน เพื่อนแท้ ... ชายคนหนึ่ง ถูกตัดสินประหารชีวิต ก่อนตาย เขาขออนุญาตผู้ควบคุมไปล่ำลาเพื่อน แล้วรีบตรงไปหาเพื่อนคนแรกซึ่งรักมากที่สุด ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ เล่าเหตุการณ์ให้ฟัง แล้วถามว่าถ้าเขาต้องตายเพื่อนจะทำอย่างไร เขาได้รับคำตอบแบบคิดไม่ถึงว่า “ถ้าเธอตาย เราก็จบกันแค่นี้” พอไปหาเพื่อนคนที่สองซึ่งมีความสำคัญต่อเขามาก เพราะเคยทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เพื่อนคนนี้มา แต่พอเล่าเรื่องจบคำตอบที่ได้ก็คือ “ถ้าเธอตาย ฉันก็มีเพื่อนใหม่” เขาเดินคอตกไปหาเพื่อนคนที่สามที่เคยดูแลเอาใจใส่กันมาก่อน เล่าเรื่องให้ฟังแล้วถามเหมือนเดิม ได้รับคำตอบว่า “ถ้าเธอตาย ฉันจะไปส่ง” สุดท้ายเขาไปหาเพื่อนอีกคนหนึ่งซึ่งตนเองไม่ค่อยสนใจใยดีนัก แต่พอเล่าเรื่องจบกลับได้รับคำตอบว่า “ถ้าเธอตาย ฉันจะตามไปด้วย” เขารู้สึกผิด และเสียดายอย่างยิ่งที่ตลอดชีวิตไม่เคยเห็นค่าของเพื่อนคนนี้เลย

  ในเรื่องนี้ ท่านผู้รู้ได้เปรียบเทียบไว้ดังนี้
   เพื่อนคนที่หนึ่งเปรียบ คือ ร่างกายของเราเอง เพราะตอนที่มีชีวิตอยู่ เราจะบำรุงบำเรอมันทุกอย่าง อยากได้อะไรเป็นต้องหาให้ แต่พอถึงเวลาตาย เรากับร่างกายก็จบกันแค่นี้
   เพื่อนคนที่สองท่านเปรียบเหมือน ทรัพย์สมบัติ เพราะทั้งชีวิตเราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มันมา แต่พอตายลง สมบัติเหล่านั้นกลับไปอยู่กับคนอื่นแทน
   เพื่อนคนที่สามก็คือ ญาติพี่น้อง เพราะเหตุที่เคยอุปการะเลี้ยงดูกันมา พอเราตายลง เขาจะทำหน้าที่จัดการศพให้ ทำบุญอุทิศไปให้ เหมือนไปส่งเราได้ในระยะหนึ่ง
   ส่วนเพื่อนคนที่สี่ซึ่งในขณะมีชีวิตเรามักไม่ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก แต่เมื่อสิ้นลมกลับติดตามเราไปตลอดเพื่อนคนนี้ก็คือ บุญกับบาป 
   ไม่ว่าจะเป็น ร่างกาย ทรัพย์สิน หรือญาติพี่น้อง ทุกอย่างสำคัญหมดก็จริง แต่อย่าลืมให้ความสำคัญกับเรื่องบุญเรื่องบาปด้วย เพราะเป็นเพื่อนที่ต้องติดตามไปถึงภพหน้า และควรให้ความสำคัญตั้งแต่วันนี้ เดี๋ยวนี้ เพราะถ้าถึงวันนั้น ต่อให้นึกได้ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว ... ธรรมะสอนใจ ตอน เพื่อนแท้

ธรรมะสอนใจ ตอน พันท้ายนรสิงห์

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน พันท้ายนรสิงห์
       บรรพบุรุษไทยผู้มีชื่อเสียงที่คนไทยรู้จักกันดีและเทิดทูนนั้นมีมากหลาย แต่ละท่านก็ดีไปคนละด้าน แต่สำหรับผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ยอมสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเพื่อรักษาหน้าที่และกฎระเบียบไว้ คงไม่มีใครเกินพันท้ายนรสิงห์

      ประวัติกล่าวว่า คราวหนึ่ง พันท้ายนรสิงห์ทำหน้าที่ถือท้ายเรือพระที่นั่งสมเด็จพระเจ้าเสือเพื่อเสด็จประพาสทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี ครั้นเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขาม คลองที่นั่นคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์คัดท้ายเรือไม่ทัน โขนเรือจึงไปชนกิ่งไม้ใหญ่เข้าเต็มแรงจนหักตกลงน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงกระโดดขึ้นฝั่ง และกราบทูลขอพระราชทานอาญาเพื่อให้ตัดศีรษะตนเองตามกฎมณเฑียรบาล แม้สมเด็จพระเจ้าเสือจะพระราชทานอภัยโทษให้ถึงสองครั้ง พันท้ายนรสิงห์ก็ไม่ยอม ทูลขอให้ลงพระอาญาถึงครั้งที่สาม ในที่สุด พระองค์จำต้องให้ตัดศีรษะด้วยความอาลัยเป็นอย่างยิ่ง แล้วโปรดให้สร้างศาลขึ้น ดังปรากฏอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในปัจจุบัน

      เรื่องนี้ชวนให้คิดว่า ทำไมคนบางคนเมื่อทำผิดก็ยังยืนยันจะรับโทษถึงตายทั้งที่มีโอกาสจะพ้นผิดได้ ยิ่งเหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องจริง มีตัวตนอยู่จริง ๆ ไม่ใช่นิยาย หรือเป็นแค่อุดมคติเลื่อนลอย ก็ยิ่งทำให้น่าคิด ถ้าฟังแล้วพยายามอ่านเข้าไปในความคิดของเขา บางทีก็จะช่วยให้ได้แง่คิดดี ๆ และเหตุผลที่กว้างขวางออกไป ไม่จมอยู่แค่ความคิดและความต้องการของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตได้ เพราะเรื่องดี ๆ ทั้งหลาย ย่อมเกิดมาจากความคิดที่ดี ๆ นี่แหละ ... ธรรมะสอนใจ ตอน พันท้ายนรสิงห์

ธรรมะสอนใจ ตอน พระคุณพ่อ

ธรรมะสอนใจ 9
ธรรมะสอนใจ ตอน พระคุณพ่อ
   คำว่า “พ่อ” หมายถึงชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก มีความสำคัญสำหรับชีวิตของผู้เป็นลูกทุกคน แต่บางครั้งการได้ยินคำนี้จนชินหู หรืออยู่ร่วมกันจนคุ้นเคยก็ทำให้รู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา ความสำคัญของพ่อนั้นนอกจากให้กำเนิดชีวิตแก่เราแล้ว ท่านยังทำหน้าที่สำคัญอีก ๕ ประการ คือ 
๑. ห้ามลูกไม่ให้กระทำความชั่ว 
๒. แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี 
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา 
๔. จัดการเรื่องคู่ครองที่เหมาะสมให้ 
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันควร 
        ในทางพระพุทธศาสนา ได้เปรียบพ่อว่า เป็นประดุจพระพรหม เพราะมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาต่อลูก เป็นประดุจบุรพเทพ เพราะคอยระวังป้องกันภัยต่าง ๆ ให้ลูกก่อนเทพเหล่าอื่น เป็นประดุจบุรพาจารย์ เพราะได้สอนลูกก่อนอาจารย์อื่น ๆ และเป็นประดุจอาหุเนยยบุคคล เพราะเป็นผู้ที่เหมาะสมแก่การรับสิ่งของ เช่น ข้าว น้ำ เป็นต้นของลูก จึงได้ชื่อว่าบุพการีชน คือผู้ที่ทำอุปการะมาก่อนแก่ลูก เมื่อลูก ๆ รำลึกรู้ถึงพระคุณของพ่อ เรียกว่า กตัญญูแล้ว ต้องตอบแทนพระคุณท่าน เรียกว่า กตเวทีด้วยการปฏิบัติหน้าที่ ๕ ประการ คือ
๑. ท่านเลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
๒. ช่วยเหลือแบ่งเบาภารกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์ตระกูลของท่านไว้ให้ดี
๔. ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับที่เป็นทายาทของท่าน และ
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้

       อนึ่งในโอกาสที่วันพ่อของชาติ คือวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เวียนมาบรรจบอีกวาระหนึ่ง ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นพ่อของชาติ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวง ประสงค์ให้พสกนิกรทั้งปวงมีความร่มเย็นเป็นสุข สมควรที่พวกเราเหล่าพสกนิกรจะถวายความจงรักภักดีด้วยการปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่ในพระบรมราโชวาทต่าง ๆ เช่น ในความ “รู้รักสามัคคี” เป็นต้น
       หากเราทั้งหลายกระทำได้เช่นนี้ ก็จะได้ชื่อว่ามีความตระหนักและซาบซึ้งในพระคุณพ่อและได้ชื่อว่าได้ตอบแทนทั้งพระคุณพ่อของตนและพระคุณพ่อของชาติด้วย ... ธรรมะสอนใจ ตอน พระคุณพ่อ

ธรรมะสอนใจ ตอน ปล่อยวางเสียบ้าง

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน ปล่อยวางเสียบ้าง
มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์หนึ่ง ได้รับแจกันลายครามอายุหลายร้อยปีและมีราคาแพงมากจากผู้ศรัทธา เวลาศิษย์วัดทำความสะอาดพระตำหนัก พระองค์จะคอยกวดขันให้ระมัดระวังแจกันใบนั้นเป็นพิเศษ จนวันหนึ่งก็ได้เรื่องขึ้นมาจริง ๆ ขณะที่ศิษย์ทำความสะอาดอยู่นั้นได้เผลอทำแจกันตกแตกเสียงดังสนั่น พระองค์ประทับอยู่ตรงนั้นพอดี แต่แทนที่จะโกรธหรือเสียใจกลับรับสั่งออกมาว่า “เออ หมดภาระไปเสียที”

        มีคำที่พระพุทธเจ้าสอนบทหนึ่งว่า “สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น” การสอนเช่นนั้น บางท่านเข้าใจไปว่า ทำให้ขาดความกระตือรือร้น ตัดขาดการเสพสุขในเรื่องต่าง ๆ และเลยไปถึงขั้นทำให้ขาดความรับผิดชอบในภารกิจหน้าที่ เป็นต้น คือมองเห็นว่าการปล่อยวางกับการปล่อยทิ้งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ความจริงการไม่ยึดมั่นในที่นี้เป็นเรื่องที่เกิดเพราะรู้เท่าทันความจริงของสิ่งทั้งหลายว่ามีการเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แปรปรวนไปตามเหตุปัจจัย และแตกดับไปตามเหตุปัจจัย เมื่อต้องการสิ่งใดก็ทำแค่สร้างเหตุปัจจัยของสิ่งนั้นให้ถูกต้องดีงามที่สุด ซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นความรับผิดชอบที่ตรงจุดมากกว่าวิธีอื่นด้วยซ้ำ ส่วนการใช้ความยึดมั่นถือมั่นเพื่อสร้างความรับผิดชอบนั้น แม้จะได้ผล แต่ก็เต็มไปด้วยความบีบคั้น โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้ตามที่หวังหรือเมื่อได้แล้วต้องเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้เกิดทุกข์ ท่านจึงสอนว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ความหมายก็คือไม่ควรยึดมั่นด้วยอำนาจกิเลส แต่ให้กระทำด้วยกุศลฉันทะคือความรักดีใฝ่ดีเป็นที่ตั้ง ตามหลักที่ว่า “ตัณหาเป็นสิ่งที่ต้องละ ฉันทะเป็นสิ่งที่ต้องเจริญ”

       ตามเรื่องข้างต้นแสดงว่าสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นั้น มิได้ยึดมั่นถือมั่นแจกันลายครามด้วยกิเลสตัณหา จะมีก็แต่ความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลแจกันนั้นให้ดีที่สุดซึ่งเป็นกุศลฉันทะเท่านั้น ดังนั้น เมื่อแจกันราคาแพงมีอันเป็นไปจึงมิได้เสียดายหรือยึดติด แต่กลับทรงอุทานออกมาว่า “เออ หมดภาระไปเสียที” ... ธรรมะสอนใจ ตอน ปล่อยวางเสียบ้าง

ธรรมะสอนใจ (3 เรื่อง)

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ นำเสนอเรื่องราวธรรมะสอนใจสั้นๆ ธรรมะในชีวิตประจำวัน อ่านเพื่อเป็นข้อคิด อ้างอิงกับหลักธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โรคบางอย่างรักษาด้วยการใช้ยา และสำหรับโรคที่เกี่ยวกับใจ หรือ กำลังใจ ส่วนใหญ่แล้ว ยาที่รักษาโรคนี้ได้ดีที่สุด ก็คือ ธรรมะ ในบทความนี้ นำมาให้อ่านกันแบบ 3 เรื่อง 3 แนว อ่านเพื่อความบันเทิง อ่านเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพิ่มกำลังใจก็ได้  ถูกใจหรือไม่ถูกใจอย่างไรต้องขออภัย กับ ธรรมะสอนใจ...

"ธรรมะสอนใจ
ตอน คนละเรื่องเดียวกัน
   สังคมสมัยก่อนในตอนเช้า เรามักจะเห็นภาพคุณลุงคุณป้า ชอบไปนั่งจิบกาแฟกับปาท่องโก๋ แถวๆ ร้านกาแฟหน้าปากซอยอยู่เสมอ เราเรียกชุมนุมย่อยๆ นี้ว่า "สภากาแฟ" กาแฟโบราณนั้น มีเอกลักษณ์อยู่อย่างหนึ่งคือ จะใส่นมข้นหวานไว้ด้านล่าง แล้วเทน้ำกาแฟลงไปด้านบน ถ้าใครชอบหวานมากก็ชงนมด้านล่างให้ผสมกับเนื้อกาแฟ สำหรับคนที่ชอบหวานน้อยก็อาจดื่มโดยไม่ต้องคนเลย เกี่ยวเนื่องกับเรื่องนี้มีอยู่ว่า วันหนึ่ง คุณลุงคนหนึ่งก็ไปนั่งจิบกาแฟที่สภากาแฟ พอดีหลานสาวเจ้าของร้านอยู่ในช่วงปิดเทอม จึงมาช่วยยายขายกาแฟ พอหลานยกกาแฟมาส่งที่โต๊ะ คุณลุงก็พูดขึ้นว่า "นมน้อยจัง" หลานสาวเกิดอาการเขินอาย" ตอบกลับไปด้วยเสียงเบาๆ ว่า "เพิ่งขึ้นค่ะ" ยายได้ยินดังนั้นก็ทุบโต๊ะดังปัง แล้วตะโกนสวนไปว่า "เพิ่งขึ้นที่ไหนกัน ขึ้นมาตั้งสองเดือนแล้ว"
   สรุปว่า ลุงพูดถึงนมในแก้วกาแฟ หลานสาวพูดถึงหน้าอกของตัวเอง ส่วนยายหมายถึงราคานมที่ปรับราคาขึ้น เรื่องนี้แม้จะเป็นเพียงเรื่องตลกขบขัน ที่เล่าต่อๆ กันมา แต่ในความตลกขบขันนั้น ถ้าพิจารณาให้ดี ก็จะได้แง่คิดทางธรรมว่า คนเราอาจพูดกันคนละเรื่องทั้งๆ ที่คิดว่ากำลังพูดเรื่องเดียวกันเข้าทำนองว่า คนละมุมมอง คนละข้อคิดเห็น คนละประเด็นข้อสังเกตุ แต่เรื่องเดียวกัน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอาจเกิดจากสภาวะจิตที่ถูกปรุงแต่งขณะนั้น เช่น คนหนึ่งกำลังพิจารณากาแฟในแก้ว อีกคนหนึ่งกำลังกังวลเรื่องความเปลี่ยนแปลงในร่างกายของตนเอง และอีกคนหนึ่งกำลังกังวลเรื่องกำไรขาดทุน
   ดังนั้น ความเข้าใจผิดจึงเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้แม้จะกำลังพูดภาษาเดียวกัน นั่งพูดกันตัวต่อตัว และ ไม่มีใครมีเจตนาบิดเบือนข้อมูล เรื่องดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้ง่ายเพียงใด และหากเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องที่สำคัญ ความเสียหายก็จะมีมากตามไปด้วย การสื่อสารในองค์กรก็เช่นเดียวกัน หากขาดความระมัดระวัง ไม่ใช้สติกำกับในเรื่องที่คิด ในกิจที่กำลังทำ และในคำที่กำลังจะพูด เราก็จะประสบกับเรื่องราวในลักษณะ "คนละเรื่องเดียวกัน" อย่างแน่นอน ... ธรรมะสอนใจ ตอน คนละเรื่องเดียวกัน

ธรรมะสอนใจ ตอน ผู้กำกับ

ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน ผู้กำกับ
   เวลาที่เราดูละครทีวี หรือชมภาพยนตร์เรื่องต่างๆ จะเห็นได้ว่าบทบาทการแสดงของดารานั้น มีอิทธิพลโน้มน้าวจิตใจของเราให้มีอารมณ์ร่วมอย่างน่าอัศจรรย์ และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของตัวละครที่แสดงนั้นก็คือ "ผู้กำกับ" เพราะผู้กำกับคือผู้กำหนดบทบาทการแสดงให้กับดาราแสดงออกมาให้สมบทบาทมากที่สุด
  ในชีวิตเราก็เช่นกัน เราต่างมีผู้กำกับที่คอยดูแลช่วยเหลือให้เราดำรงชีวิตอยู่ในบทบาทที่ดีงามตลอดเวลา ผู้กำกับที่ว่านี้ก็คือ "สติ" สติแปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ เช่น นึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำ คำพูดที่พูดไว้แล้วได้ไม่หลงลืม ระงับยับยั้งชั่งใจได้ ไม่เลินเล่อผลั้งเผลอ
   สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือ ทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ สตินั้น หากนำไปใช้กับทางโลกทั่วไป ก็ย่อมเกิดประโยชน์มหาศาล การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงาน อารมณ์ก็เย็นไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจ ถ้าฝึกฝนจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์ในทางธรรมด้วย กล่าวคือ เห็นความจริงของกายกับจิต ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา
   สติ คือ ผู้กำกับที่สำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล ทั้งทางโลกและทางธรรม ดังนั้น ถ้าหากประสงค์จะประสบความสุข ความสำเร็จในชีวิต ก็พึงเจริญสติให้เป็นผู้กำกับของชีวิตอย่างเต็มรูปแบบเถิด เพราะ "สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดก็เกิดปัญหา" วันนี้ท่านมอบหน้าที่ให้ผู้กำกับชีวิตของท่านได้ทำงานแค่ไหน ตัวท่านเองคือผู้ให้คำตอบ ... ธรรมะสอนใจ

ธรรมะสอนใจ ตอน โจรกลับใจ

ธรรมะสอนใจ

   ธรรมะสอนใจ ประจำวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ตอน โจรกลับใจ ... มีเรื่องเล่าว่า มีโจรกลุ่มหนึ่งเที่ยวปล้นผู้คนไปทั่ว โดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน วันหนึ่งได้วางแผนปล้นครอบครัวของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ระหว่างที่รอจังหวะเข้าปล้นนั้น ฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก จึงพากันวิ่งไปหลบฝนที่ใต้ถุนบ้าน ระหว่างนั้นภรรยาได้ลงมาเก็บของที่ใต้ถุน และพบโจรกลุ่มนั้นเข้าพอดี เธอเข้าใจว่าเป็นคนเดินทางทั่วไปที่เข้ามาหลบฝนชั่วคราว จึงโอภาปราศัยด้วยถ้อยคำที่มีไมตรีจิต  และเชิญชวนกินข้าวเย็นด้วยกัน โจรจึงพากันขึ้นไปกินข้าวบนบ้าน และได้พบสามีของหญิงคนนั้น ซึ่งมีอัธยาศัยดีไม่แพ้กัน หลังกินข้าวเสร็จแล้ว พวกโจรก็ล้มเลิกความคิดที่จะปล้นบ้านหลังนั้น และได้บอกความจริงถึงสถานะของตน พร้อมกับขอโทษที่คิดไม่ดี พร้อมทั้งรับประกันว่า จะไม่มีใครมาทำร้ายครอบครัวสามีภรรยาคู่นี้ตั้งแต่บัดนี้ไป จากนั้นจึงลากลับโดยไม่แตะต้องทรัพย์สินแต่อย่างใด
   เรื่องนี้แม้จะเป็นเพียงเรืองเล่า ที่ในสังคมปัจจุบันอาจจะไม่มีจริง แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าของน้ำใจไมตรี ที่กระทำไปโดยไม่คิดหวังผลตอบแทน แต่ทำไปเพราะเห็นแก่มนุษยธรรม สามารถทำให้แม้แต่ผู้คิดร้ายกลายเป็นมิตรได้ นอกจากน้ำใจที่แบ่งปันแล้ว คำพูดไพเราะที่เรียกว่า ปิยวาจา ก็ทำให้ผู้คิดร้ายมีจิตใจที่อ่อนโยนได้เช่นกัน รวมความว่า ทั้งน้ำใจไมตรีที่เผื่อแผ่ และคำพูดที่น่ารักนั้น เพียงสองประการนี้ บางทีก็สามารถทำให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ ได้ ในทางกลับกัน หากสามีภรรยาคู่นี้ ละเลยน้ำใจไม่ตรีและคำที่ไพเราะแล้ว โอกาสที่จะถูกทำร้ายจากพวกโจรก็เป็นไปได้สูง
   ดังนั้น ทุกคนจึงควรแสดงน้ำใจ และพูดคุยต่อกันด้วยไม่ตรีจิตให้เป็นนิสัย เพราะในทางพุทธศาสนา กล่าวถึงเรื่องของการให้และคำพูดที่ไพเราะไว้ในหลักของสังคหวัตถุธรรม คือ หลักที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและกันไว้ได้เป็นอย่างดี แล้วเมื่อถึงเวลานั้น เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันกับเรื่อง โจรกลับใจ ดังกล่าวข้างต้น ก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ... ติดตาม #ธรรมะสอนใจ #ธรรมะก่อนนอน ได้ที่ ธรรมะสอนใจ 


ธรรมะสอนใจ ตอน เสาหลักของชีวิต

ธรรมะสอนใจ๔

ธรรมะสอนใจ ตอน เสาหลักของชีวิต
  ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน จำเป็นต้องมีเสาเป็นหลักค้ำจุนตัวอาคารไว้ ฉันใด ในการสร้างความดีทุกชนิด ก็จำเป็นต้องมีความไม่ประมาทเป็นแกนหลักรองรับ ฉันนั้น ความไม่ประมาทจึงนับว่าเป็นหลักธรรมะสำคัญอย่างยิ่งในการครองตน ครองคน และครองงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมายในทุกด้าน ความไม่ประมาท คือ การมีสติกำกับตัวอยู่เสมอ ไม่ว่าจะคิด จะพูด จำทำสิ่งใดๆ ไม่ยอมถลำลงไปในทางเสื่อม และไม่ยอมพลาดโอกาสในการทำความดี ตระหนักดีถึงสิ่งที่ต้องทำ ถึงกรรมไม่ดีที่ต้องเว้น เอาใจใส่สำนึกอยู่ในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบอยู่เสมอ ว่า "ถ้าประมาทในทุกเรื่อง ความรุ่งเรืองก็มิอาจเกิดขึ้นได้" ในปทสูตร สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระพุทธองค์ตรัสว่า
   "ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง ทั้งหมดนั้นย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูลย่อมรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกับผู้ประมาทเมามัวในชีวิตนั้น บัณฑิตท่านอุปมาไว้ว่า เสมือนผู้ที่ตายแล้วทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่" 

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว

ธรรมะสอนใจ 3

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว
     ปีศาจหลังยาว เป็นปีศาจอีกตัวหนึ่งในกลุ่มปีศาจจำแลง ๖ ตัว เหตุที่ได้ชื่อว่าปีศาจหลังยาว เพราะเมื่อเข้าสิงใครแล้วคนถูกสิงจะกลายเป็นคนเกียจคร้าน เหมือนสำนวนไทยที่ว่า “ขี้เกียจสันหลังยาว” นั่นเอง
        คนเกียจคร้านนั้นเป็นคนอาภัพ เพราะโดยพื้นฐานแล้ว เขาก็เป็นคนที่มีศักยภาพหลายอย่างเหมือนคนอื่น ๆ นั่นแหละ แต่เพราะถูกความเกียจคร้านครอบงำ ความรู้ความสามารถที่จะพึงมีพึงใช้ ก็เลยถูกพันธนาการไว้สิ้น แม้แต่มือและเท้าซึ่งเป็นดุจกลไกวิเศษก็พลอยหมดสภาพลงทุกที สติปัญญาเล่าก็วนเวียนอยู่แต่การคิดหาเหตุผลมาสนับสนุนการไม่ทำงาน เช่น ว่าตอนนี้ยังร้อนอยู่บ้าง หนาวเกินไปบ้าง ยังเช้าอยู่บ้าง เย็นหมดเวลาแล้วบ้าง แล้วผัดผ่อนเข้าข้างตัวเองหาความสบายเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ ความคิดอย่างนี้พอเกิดขึ้นแล้วก็ไปเสริมความเกียจคร้านที่มีอยู่เดิมให้หนักแน่นขึ้นไปอีก และทำนองเดียวกัน ความเกียจคร้านที่ได้กำลังเสริมนี้ก็ไปหนุนความคิดเดิม ๆ ให้หยั่งลึกลงไปอีก หมุนเวียนอย่างนี้ไม่จบสิ้น
       ถ้าพิจารณาให้ดี ความสุขอาจไม่ใช่ความสบาย และความสบายก็อาจไม่ใช่ความสุข เห็นได้จากคนที่ทำงานอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งต้องทิ้งความสบาย ต้องเหนื่อย ต้องร้อน แต่เขาก็มีความสุขกับการทำงานนั้นได้ ส่วนคนที่นั่งกินนอนกินอย่างเดียว ทำอะไรไม่ได้ ต้องถือว่าสบาย แต่ก็ไม่มีความสุข ดังนั้น คนที่มุ่งแต่ความสบายเฉพาะหน้าอย่างเดียว ไม่อยากรับผิดชอบ ไม่อยากทำงาน จึงต้องคิดเสียใหม่ว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นการเดินเข้าไปหาความเสื่อม ไม่ใช่ความสุข เพียงแต่หน้าฉากแฝงความสบายบ้าง ความสนุกสนานบ้าง ความเพลิดเพลินบ้าง เป็นเครื่องล่อใจตามวิสัยเล่ห์กลของปีศาจหลังยาว ซึ่งผู้ที่หวังความเจริญต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ... ธรรมะสอนใจ เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหลังยาว

ขอแนะนำ "ธรรมะสอนใจ" น่าอ่าน



"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา

ธรรมะสอนใจ

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอน ปีศาจหรรษา
     การเที่ยวกลางคืนนั้น แม้จะทำให้ชีวิตสนุกสนานและผ่อนคลายตามวิสัยปุถุชน แต่ถ้าเที่ยวจนติดโดยเฉพาะในเวลาและสถานที่ที่ไม่สมควร ก็จะเป็นการก้าวพลาดอีกอย่างหนึ่งของชีวิต เพราะบั่นทอนความมั่นคงใน ๓ ด้านใหญ่ ๆ คือ

        ๑. ด้านครอบครัว ครอบครัวเป็นฐานสำคัญของชีวิต การทิ้งครอบครัวไปในยามดึกดื่นค่ำคืนชื่อว่าตั้งอยู่ในความประมาท อีกประการหนึ่งเป็นการบั่นทอนความรักความผูกพันที่จะพึงมีต่อกัน ทำให้ขาดความอบอุ่นและแตกแยกได้

       ๒. ด้านเศรษฐกิจ ได้ชื่อว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติ เพราะต้องใช้จ่ายหมดเปลืองไปโดยง่าย ความเบิกบานหรรษาที่ได้จากการเที่ยวเตร่ก็เป็นเรื่องชั่วครู่ชั่วยาม เป็นความสุขอำพรางเกิดแล้วก็หายไป แต่เงินที่หมดนั้นหมดจริง หนี้ที่เกิดขึ้นก็เกิดจริง ซึ่งจะต้องตามแก้ด้วยความยากลำบาก

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอนปีศาจสุรา

"ธรรมะสอนใจ"

"ธรรมะสอนใจ" เรื่อง ปิศาจจำแลง ตอนปีศาจสุรา
     คนไทยจำนวนหนึ่งมีความเชื่อว่า ในโลกนี้มีสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวอาศัยอยู่ด้วย สิ่งนั้นคือผีหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าปีศาจ ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของผีหรือปีศาจนั้น คือการเข้าสิงคน ทำให้คนที่ถูกสิงมีอาการต่าง ๆ บางคนพอถูกสิงก็ขอกินนั่นกินนี่ บางคนแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ผู้ถูกสิงไม่รู้ตัวว่าทำหรือพูดอะไรออกไป ต่อเมื่อผีที่สิงอยู่ออกไปแล้วนั่นแหละจึงอยู่ในสภาพปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

        ปรากฏการณ์ของปิศาจดังกล่าว แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ แต่ก็ทำให้เห็นข้อเปรียบเทียบอย่างหนึ่งว่า อาการที่ทำอะไรไปโดยไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวบ้างแต่ควบคุมตนเองไม่ได้ เพราะมีอีกสิ่งหนึ่งบงการอยู่นั้น ไม่ได้มีเฉพาะอาการของคนที่ถูกผีเข้าสิงเท่านั้น ความจริงแล้วเกิดขึ้นกับใครก็ได้ที่ดื่มสุราเกินประมาณ คนโบราณจึงเปรียบผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจอบายมุขว่าเหมือนผีเข้าสิง เช่น ผีสุรา ผีการพนัน เป็นต้น ในข้อเท็จจริง สุรานั้นมีแอลกอฮอล์ที่มีฤทธิ์กดประสาท เมื่อดื่มมากเกินควร มักทำให้ขาดความยั้งคิด ก่อการทะเลาะวิวาท บั่นทอนกำลังกายกำลังสติปัญญา ทั้งเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายหลายชนิด ที่สำคัญทำให้ขาดสติ อาจทำอะไรลงไปโดยไม่รู้ตัวเหมือนคนที่ถูกผีเข้าสิงก็ได้

นิทานธรรมะ ตอน ช้างกับมดแดง

นิทานธรรมะสั้นๆ

นิทานธรรมะ ตอน ช้างกับมดแดง
      มีนิทานเล่าว่า ช้างตัวหนึ่ง ทะนงตนว่าเป็นสัตว์ใหญ่และมีพละกำลังเหนือกว่าสัตว์ทุกประเภท จึงมักเที่ยวระรานสัตว์น้อยใหญ่ในป่าอยู่เสมอ วันหนึ่ง ขณะที่มันกำลังหากินอยู่นั้น ไปพบรังมดแดงรังหนึ่งเข้า จึงใช้งวงกระชากลงมา หมายขยี้ให้แหลกทั้งรัง ด้วยสัญชาตญาณการป้องกันตัว มดแดงทั้งรังจึงพากันกรูเข้ากัดงวงช้าง บางส่วนก็กรูเข้าไปกัดในรูจมูกและส่วนอื่น ๆ ทำให้ช้างเกเรได้รับความเจ็บปวดจนต้องหนีไปในที่สุด

       ถึงเรื่องนี้จะเป็นแค่นิทาน แต่ก็เปี่ยมไปด้วยสาระสำคัญ เพราะชี้ไปที่ฐานของการอยู่รอด อันได้แก่ ความสามัคคี การรวมพลัง ที่ทำให้มดแดงตัวเล็ก ๆ ยังสามารถเอาชนะสัตว์ใหญ่อย่างช้างได้

       ในหมู่มนุษย์ ความสามัคคีนั้น ย่อมเกิดได้เพราะการกระทำ ๓ ทาง คือ

นิทานธรรมะ ตอน บันไดชีวิต

นิทานธรรมะก่อนนอน เรื่อง บันไดชีวิต

นิทานธรรมะ ตอน บันไดชีวิต ... ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน หรือตึกชั้นสูง ๆ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยนั่นก็คือ บันไดขึ้น-ลง ถึงแม้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าไปมาก การก่อสร้างอาคารหรือตึกชั้นสูง ๆ มักจะติดลิฟต์เพื่อความสะดวก รวดเร็วและประหยัดเวลาในการขึ้น-ลงก็จริง แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงไปด้วยอันตราย เช่น ถ้าไฟดับลิฟต์ค้าง ต้องติดอยู่ข้างใน ดีไม่ดีอาจถึงตายได้ เมื่อบันไดมีไว้สำหรับขึ้น-ลง ผู้ใช้บันไดก็ต้องมีความระมัดระวังในการใช้ คือถ้าเดินไม่ระมัดระวังมัวแต่ไปมองทางอื่นก็อาจจะสะดุดบันไดทำให้ได้รับความบาดเจ็บหรือตกบันไดได้ บางคนเกิดคึกคะนองแทนที่จะขึ้น-ลงทีละขั้น แต่กลับก้าวกระโดดข้ามขั้น จึงมีโอกาสถึงที่หมายได้เร็วเท่า ๆ กับมีโอกาสตกบันไดได้ง่ายด้วย

       ในการดำเนินชีวิตของคนเราก็เหมือนกับการก้าวขึ้นสู่บันได พระพุทธศาสนาได้แบ่งชีวิตของคนออกเป็น ๓ ขั้น หรือ ๓ วัย คือ

นิทานธรรมะ ตอน ประกันชีวิต

นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ตอน ประกันชีวิต ... เป็นที่ทราบกันว่า การประกันชีวิต ก็คือการส่งเบี้ยประกันให้บริษัทที่รับประกัน แล้วได้รับความคุ้มครองตามวงเงินและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ เมื่อเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจะทำให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปของค่าใช้จ่าย เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ตนเองและผู้อยู่ข้างหลังได้วิธีหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการประกันชีวิตด้วยวัตถุ เป็นวิธีการทางโลก
       แต่ยังมีการประกันชีวิตที่ดีกว่านั้น ก็คือการประกันชีวิตด้วยคุณธรรม เป็นวิธีการทางธรรม ทำให้ชีวิตมีความมั่นคง เป็นสุข และก้าวหน้าอย่างแท้จริงโดยการสร้างหลักประกัน ๓ อย่างขึ้นในตัวเอง คือ

นิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี

นิทานธรรมะคติสอนใจ

นิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี
  มีความเชื่อกันว่า ผีเป็นสิ่งที่ลึกลับมองไม่เห็นตัว มีทั้งดีและร้าย อาจให้คุณหรือโทษแก่คนได้ และโดยปริยาย ผี หมายถึง สิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เหตุนั้น ในหมู่คนที่เชื่อเรื่องผี จึงนิยมนำแผ่นผ้าลงอักขระภาษาขอมไปติดไว้เหนือประตูทางเข้าบ้านเรือน เพื่อใช้เป็นยันต์กันผี มิให้เข้าไปทำร้ายคนในบ้าน
   ผีตามความเชื่อจะมีจริงหรือไม่ คงหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้ยาก แต่ที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนก็คือผีโดยปริยายที่หมายถึง สิ่งที่ไม่ดี หรือ สิ่งที่ให้โทษแก่ผู้เกี่ยวข้อง เป็นผีในชีวิตจริง ซึ่งในปัจจุบันมีมาก เช่น บุหรี่ เป็นต้น ที่ทำให้คนสูบได้รับพิษ คนใกล้ชิดได้รับภัย ข้อนี้พิสูจน์ได้ไม่ยากนัก เพราะมีหลักฐานที่เป็นหลักคำสอนในทางศาสนา ที่สอนว่าสิ่งเสพติดให้โทษเป็นอบายมุข เป็นหนทางนำชีวิตไปสู่ความเสื่อม หลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า บุหรี่เป็นสาเหตุแห่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น ถุงลมโป่งพอง มะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียง หลอดลมอักเสบ แก่เร็ว ผิวหนังเหี่ยวย่น เป็นต้น และหลักฐานรายงานจากองค์การอนามัยโลกที่เคยระบุว่า ปัจจุบันมีประชากรโลกเสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ ๕ ล้านคน หรือคิดเฉลี่ยเสียชีวิต ๑ คน ในทุกๆ ๖ วินาที ดังนั้น ในช่วง ๒ นาทีที่ท่านกำลังอ่านนิทานธรรมะ ตอน ยันต์กันผี ในขณะนี้ มีผู้เสียชีวิตจากพิษภัยบุหรี่จำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน
   ปัจจุบันรัฐบาลได้ตระหนักในพิษภัยของผีชนิดนี้มากขึ้น มีการออกฎหมายกำหนดสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ไว้อย่างชัดเจน มีการนำสติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ไปติดไว้ตามประตู ตามที่ทำงานบ้าง สาธารณะสถานต่างๆ บ้าง เพื่อเป็นการห้ามสูบบุหรี่ในที่นั้นๆ หรือบอกใบ้ให้รู้ว่า ที่นั้นๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งถ้าพิจารณาในแนวคิดทางธรรมแล้ว สติ๊กเกอร์ห้ามสูบบุหรี่ ก็คล้ายๆ กับยันต์กันผีที่ช่วยป้องกันโทษ ซึ่งมิใช่เฉพาะแก่ผู้สูบเท่านั้น แต่แก่คนรอบข้างเขาด้วย อย่างไรก็ตามสติ๊กเกอร์ดังกล่าว อาจไม่มีผล ถ้าคนคิดจะสูบเสียอย่าง เว้นแต่ว่า จะติดให้หนักแน่นที่ใจคนสูบเท่านั้น จึงจะเห็นผลได้อย่างแท้จริง ... นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา (ผู้ที่เจอปัญหาชีวิตแสนสาหัส...แต่ผ่านพ้นมาได้)

นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา


นิทานธรรมะ ตอน ปฏาจารา 
(ผู้ที่เจอปัญหาชีวิตแสนสาหัส...แต่ผ่านพ้นมาได้)
     นิทานธรรมะ นำเสนอนิทานธรรมะสั้นๆ มีคติสอนใจ เป็นกำลังให้กับทุกๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่มีกำลังพบเจอมรสุมชีวิตรุมเร้า มองไม่เห็นทางออก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชีวิต ปัญหารัก ปัญหาครอบครัว ปัญหาเรื่องปากท้อง นิทานธรรมะบล็อก อยากบอกว่า ทุกๆ ปัญหามีทางออกเสมอ ขอเพียงเราใช้สติไตร่ตรองให้ดี พินิจพิเคราะห์ แล้วค่อยๆ แก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง ไปทีละขั้น  ปัญหานั้นๆ จะผ่านไปได้ด้วยดี จากหนักอาจกลายเป็นเบา จากเบาเป็นหมดปัญหาไปเลยก็มี โดยนิทานธรรมะในวันนี้ นำเสนอในตอน  ปฏาจารา นางต้องเจอกับปัญหาชีวิตรุมเร้าหลายๆ ด้าน จิตใจบอบซ้ำเป็นที่สุด นางต้องเป็นคนเสียสติ แต่ท้ายที่สุดแล้วพระพุทธองค์ได้แสดงธรรมโปรด สุดท้ายก็บรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้เลย กับ นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง ปฏาจารา

     ปฏาจารา เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีสมบัติ ๔๐ โกฏิ มีรูปงาม ตระกูลสูง แต่พบรักกับหนุ่นรับใช้ในบ้าน และหนีออกไปครองรักกันสองคน ใช้ชีวิตด้วยการทำไร่ไถนา เก็บผักหักฟืน แม้จะยากลำบากแต่ก็มีความสุข จนกระทั่งมีลูกคนหนึ่ง

       เมื่อตั้งครรภ์ครั้งที่สองและใกล้คลอด นางอ้อนวอนให้สามีพากลับไปหาพ่อแม่ แต่ถูกห้ามจึงพาลูกน้อยหนีไปตามลำพัง สามีตามมาทันเมื่อพลบค่ำ ระหว่างนั้น พายุฝนได้กระหน่ำลงมาอย่างหนัก นางเจ็บท้องใกล้คลอดอย่างกะทันหัน สามีจึงฉวยมีดวิ่งออกไปหาตัดกิ่งไม้มาทำที่พักชั่วคราว ขณะตัดไม้ เขาถูกงูพิษกัดจนสิ้นชีวิตลง ฝ่ายนางปฏาจาราก็คลอดบุตรคนที่สองอย่างทุกข์ทรมาน ทารกทั้งสองถูกพายุฝนพัดกระหน่ำจนนางไม่อาจทนรอสามีต่อไปได้ จึงกอดลูกทั้งสองไว้มือหนึ่งแล้วคลำทางไปในป่า ตามหาสามีท่ามกลางราตรีมืดมิดและพายุฝนที่บ้าคลั่ง พอสว่างจึงพบร่างไร้วิญญาณของสามี

นิทานธรรมะ ตอน ความสำคัญของวันลอยกระทง

วันลอยกระทง

นิทานธรรมะ ตอน ความสำคัญของวันลอยกระทง
  มีคำคมที่กล่าวกันว่า "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ" หากถามว่า อะไรเป็นลายของไทย คำตอบที่ถูกต้องก็คือ "วัฒนธรรมประเพณีไทย" นั่นเอง เป็นเอกลักษณ์หรือเป็นลายของไทย
  การลอยกระทง จัดว่าเป็นวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย ประการหนึ่ง ซึ่งประชาชนคนไทยได้อนุรักษ์และสืบสานต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จวบจนถึงปัจจุบัน ประเพณีการลอยกระทง มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญๆ ดังนี้
   ๑.เพื่อบูชารอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย และบูชาพระมหาจุฬามณี อันเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีของพระพุทธเจ้า ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
  ๒.เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อแม่น้ำที่ได้ใช้อุปโภคมาทั้งชีวิต และขอขมาโทษที่มนุษย์ได้ล่วงเกินด้วยการทิ้งสิ่งปฏิกูลโสโครก ลงในแม่น้ำ ทำให้แม่น้ำสกปรก
  ๓.เพื่อลอยบาปเคราะห์ ทุกข์ โศก โรค ภัย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้พ้นออกไปจากตัว ฝากไปกับกระทงนั้น
  ๔.เพื่อเป็นการเสริมสร้างศิลปะอันเกิดจากการประดิษฐ์กระทง และเสริมสร้างความรู้รักสามัคคี ปรองดองของคนในชาติ เช่น มีการประกวดนางนพมาศ เป็นต้น
  ๕.เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยว และความรื่นเริงสนุกสนาน ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น มีการแข่งเรือและประกวดโคมไฟ เป็นต้น
  ๖.เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของชาติ ให้คงอยู่คู่กับชาติไทยตลอดไป

นิทานธรรมะ ตอน พุทธอุทาน

นิทานธรรมะก่อนนอน ตอน พุทธอุทาน

นิทานธรรมะ ประจำวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘ ตอน "พุทธอุทาน" ... มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า พระเทวทัต ได้พยายามทำร้ายพระพุทธเจ้าถึง ๓ ครั้ง ครั้งที่ ๑ ว่าจ้างนายขมังธนู ให้ไปลอบปลงพระชนม์ ครั้งที่ ๒ แกล้งกลิ้งก้อนหินใหญ่หวังให้หล่นไปทับ และครั้งที่ ๓ ให้ปล่อยช้างไป หวังให้ทำร้ายพระพุทธเจ้า แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้ง ๓ ครั้ง จึงได้แยกตัวออกจากพระพุทธเจ้าไปตั้งสำนักของตัวเอง ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า "กรรมดีคนดีทำได้ง่าย กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก กรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่วพระอริยะเจ้าทั้งหลายทำได้ยาก"
   จากพุทธอุทานข้างต้นนี้ให้ข้อคิดว่า ปริมาณของความดีและความชั่วที่ปรากฏในสังคมนี้ สะท้อนถึงสภาพจิตใจของผู้คนในสังคมนั้นด้วย หมายความว่า เวลาใดที่ใจรักดีใฝ่ดี ละอายชั่วกลัวบาป เวลานั้นคนก็พากันทำดี โดยมิต้องบังคับ เพราะใจเป็นบุญกุศล อยากจะทำเอง แต่ยามใดที่ถูก โลภ โกรธ หลง ครอบงำจนหักห้ามใจไม่อยู่แล้ว

นิทานธรรมะ เรื่อง บัวแล้งน้ำ

นิทานสั้นๆ

นิทานธรรมะ เรื่อง บัวแล้งน้ำ
     คำว่า "บัว" เป็นชื่อพรรณไม้น้ำชนิดหนึ่ง มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวน้ำ คนไทยเชื่อว่าดอกบัว เป็นดอกไม้ชั้นสูงใช้บูชาพระ สักการะสิ่งที่เคารพนับถือ แม้ยามไม่มีดอกบัวคนไทยก็ยังทำกระพุ่มมือประนมเป็นรูปดอกบัวแทน นอกจากนี้ดอกบัวยังสื่อความหมายแทนใจอีกด้วย
     ธรรมชาติของบัวนั้น จะเจริญเติบโตแตกหน่อออกใบและมีดอกอยู่ได้ ก็เพราะมีน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าบัวกอใดไม่มีน้ำ หล่อเลี้ยงลำต้น บัวกอนั้นก็จะค่อยๆ เหี่ยวลงในระยะแรก ถ้าขาดน้ำเป็นเวลา หลายวันติดต่อกัน ก็จะกลายเป็น บัวแล้งน้ำ ซึ่งต้องแห้งตาย ในที่สุดอย่างแน่นอน
     จิตใจของคนเรา ก็มีลักษณะคล้ายกับบัว คือจะอยู่ในสภาพตกต่ำ เศร้าหมอง โหดร้าย หรือเห็นแก่ตัว เมื่อยามมี เมตตา ความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งกันและกัน อนึ่ง ถ้าขาดเมตตาธรรมดังกล่าว ก็จะทำให้ไม่มีใคร อยากคบค้าสมาคมด้วย และหากเป็นผู้ใหญ่ ก็คงไม่มีใครอยากพึ่งบารมี เพราะความเป็นคนแล้งน้ำใจนั้นเอง
     ในอดีต มีอุปมาภาษิตบทหนึ่งว่า "นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้ ย่อมขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้" แต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จำต้องให้ความสำคัญ กับพวกพ้องบริวาร เพิ่มเข้าไปอีก เป็น "นกไม่มีขน คนไม่มีความรู้และบริวาร ย่อมขึ้นสู่ที่สูงไม่ได้" และบริวารดังกล่าว จะเกิดความนิยมชมชอบ เคารพนับถือ ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้น มีเมตตา แสดงน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นก่อน เขาจึงจะได้รับเมตตา และน้ำใจไมตรีตอบมา ดังคำพูดว่า "บริวารมาเพราะน้ำใจมี บริวารหนีเพราะน้ำใจลด บริวารหมดเพราะน้ำใจแห้ง"
     ฉะนั้น ผู้หวังความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเอง จึงควรมีเมตตา แสดงน้ำใจไมตรีต่อผู้อื่นอยู่เสมอ อย่ามองข้ามเป็นอันขาด มิฉะนั้นจะเป็นเหมือนอาการของ บัวแล้งน้ำ ซึ่งรอวันเหี่ยวแห้งตายอย่างมิต้องสงสัย ... นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน บารมีไม่ถึง

นิทานสั้นๆ เรื่อง บารมีไม่ถึง

นิทานธรรมะ ตอน บารมีไม่ถึง ... มีเรื่องที่กล่าวขานกันอยู่บ่อยครั้งว่า บุคคลผู้นั้นผู้นี้แต่เดิมเป็นคนมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงดี พอได้ลาภก้อนโตหรือได้รับการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไม่นานนัก บางท่านเกิดเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ สามวันดี สี่วันไข้ บางท่านต้องล้มหมอนนอนเสื่อ บางท่านเป็นหนักถึงขั้นเสียชีวิตก็มี คนทั่วไปมักวิพากษ์วิจารณ์กันเสมอ ๆ ว่า เป็นเพราะแพ้ภัยตนเองบ้าง เป็นทุกขลาภบ้าง เป็นเพราะพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกบ้าง เป็นเพราะไม่ยอมดูฤกษ์ดูยามตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่บ้าง หรือเป็นเพราะบารมีไม่ถึงบ้าง จึงทำให้สงสัยว่าข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร

       พระพุทธศาสนามีหลักอยู่ว่า บรรดาเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้ไม่มีเรื่องใดที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยและมีที่ไปที่มา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเราจะสามารถสืบสาวให้รู้ถึงสาเหตุหรือมองย้อนได้ตลอดสายของเรื่องนั้น ๆ ได้หรือไม่เท่านั้น

       สำหรับลาภยศหรือตำแหน่งอันมีเกียรติต่าง ๆ ตามที่ชาวโลกนิยมยามที่ชาวโลกนิยมยมจะมีข้อแม้หรือกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รองรับอยู่ ใครก็ตามที่มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ย่อมมีสิทธิ อันชอบธรรมที่จะได้หรืออยู่ในฐานะตำแหน่งนั้นได้ และถ้าเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า นายดึง ลูกน้องดัน คนเสมอกันสนับสนุน ด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะเป็นเรื่องง่าย แต่ในทางพระพุทธศาสนาสอนว่า มีความรู้ดี มีความสามารถดี มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เท่านั้นยังไม่เพียงพอ จะต้องมีความประพฤติดีงามรวมอยู่ด้วย ความประพฤติดีงามดังกล่าว มิได้หมายเฉพาะความดีงามในชาตินี้เท่านั้น ยังรวมถึงความประพฤติดีงามที่เรียกว่า ปุพเพกตปุญญตา คือความเป็นผู้ได้เคยทำความดีงามหรือทำบุญมาแต่ชาติปางก่อน จึงจะไม่มีปัญหาและอุปสรรคใด ๆ มาขัดขวาง

       ดังนั้น ก่อนที่อยากจะได้หรืออยากจะเป็นอะไร ควรระลึกไว้เสมอว่า ความรู้ ความสามารถ ที่เรียกว่า ศักยภาพ และคุณความดีหรือบุญบารมี เรามีพอหรือยัง ถ้าแม้นว่าความรู้ก็ดี ความสามารถก็มาก แต่ยังไม่ได้ตามที่คาดหวังไว้ก็ขอให้คิดเสียว่า บารมียังไม่ถึง เพราะถ้ายังฝืนได้หรือฝืนเป็นโดยที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควรได้ อาจจะแพ้ภัยตนเอง ทำให้เสียใจไปตลอดชีวิตก็ได้ ... นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา

นิทานธรรมะสั้นๆ

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา
      การบูชามี ๒ ประเภท คือ ๑. บูชาด้วยเครื่องสักการะ เรียกอามิสบูชา ๒. บูชาด้วยประพฤติตามคำสอนเรียกปฏิบัติบูชา ทุกคนสามารถจะบูชาได้ทั้งสองอย่างในโอกาสเดียวกัน เช่น ขณะที่บูชาด้วยเครื่องสักการะ ก็ถือเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติด้วย เพราะนั่นคือการแสดงออกถึงความเป็นคนกตัญญู
      การบูชาบุคคลที่ควรบูชาด้วยอามิสนั้น หากบูชาถูกบุคคลจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ เช่น ในสมัยพุทธกาล มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อสุมนะ มีหน้าที่ต้องนำดอกมะลิ ๘ ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน วันหนึ่ง เขาถือดอกมะลิเดินไปพระราชวัง เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมจำนวนมาก ก็มีจิตเลื่อมใส จึงคิดว่า แม้พระราชาจะทรงประหารหรือจะเนรเทศเราจากเมืองไปก็ตาม เราจะนำดอกมะลินี้ไปบูชาพระพุทธเจ้าให้ได้ จึงยอมสละชีวิตของตน โดยโปรยดอกมะลิทั้งหมดบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้นำไปถวายพระราชา เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่องก็ทรงเลื่อมใสในการบูชาของเขา ได้พระราชทานช้าง ม้า ทาส ทาสี และนารีผู้ประดับด้วยเครื่องประดับสวยงามพร้อมเงินทองอีกมากมาย การบูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงมีอานิสงส์มากเช่นนี้ และนี่เป็นเพียงการบูชาด้วยอามิสเท่านั้น หากบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนย่อมจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่านี้แน่นอน ดังตัวอย่างที่พระอริยสาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติบูชาและถึงฝั่งแห่งความพ้นทุกข์มาเป็นจำนวนมากแล้ว
       แต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่า การจะเทิดทูนบูชาใครพึงพิจารณาให้รอบคอบด้วย เพราะถ้าบูชาคนผิด จะกลายเป็นยกย่องคนไม่ดี ทำให้ตัวเองพลอยเดือดร้อนหรือเป็นอัปมงคลไปด้วย เพราะการบูชาที่เป็นมงคลต้องเป็นการ "บูชาบุคคลที่ควรบูชา" เท่านั้น ... นิทานธรรมะ

Buddha Boy found after retreating into jungle

Buddha Boy found after retreating into jungle

By Thomas Bell, Nepal Correspondent
Last Updated: 12:50AM GMT 27 Dec 2006

Nepal's mysterious "Buddha Boy" has reappeared nine months after he went missing in the southern jungle.
Ram Bomjon, now 16, became an international celebrity when he meditated beneath a tree for 10 months, supposedly without food or water, drawing hundreds of thousands of pilgrims who believed that he was a reincarnation of the Buddha.
He was discovered on Christmas Eve by hunters in a forest about 10 miles from the spot where he once meditated. Upendra Lamichane, a journalist, said the boy was brandishing a sword and told him: "Even Gautam Buddha [the original Buddha] had to protect himself." Bomjon is apparently concerned about the threat posed by wildlife.
He left his original meditation place because he was disturbed by the crowds of worshippers. He told Lamichane he had survived on herbs while in the jungle.

นิทานธรรมะ ตอน บุญบันดาล

นิทานธรรมะคติสอนใจ

นิทานธรรมะ ตอน บุญบันดาล
มีเรื่องเล่าในคัมภีร์ว่า สาวน้อยคนหนึ่ง ระหว่างที่เดินทางกลับจากการถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระอรหันต์ ได้ถูกงูพิษกัดตายแล้วไปเกิดใหม่เป็นเทพธิดา เมื่อรู้ว่าได้สมบัติเพราะบุญนั้น เทพธิดาจึงไปทำการรับใช้พระอรหันต์องค์นั้นถึงกุฎี เพื่อรักษาสมบัติที่ได้แล้วให้มั่นคงยิ่งขึ้น แต่พระอรหันต์เห็นว่าไม่เหมาะที่ผู้หญิงจะอยู่สองต่อสองกับพระ จึงแนะนำนางให้ทำบุญโดยวิธีอื่นที่ถูกต้องต่อไป
        เหตุผลประการหนึ่งที่ศาสนาแนะให้ทำบุญคือความดีนั้น เพราะบุญสามารถบันดาลชีวิตผู้ทำให้เจริญได้ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ในพระไตรปิฎก ได้แสดงผลของบุญที่สะสมเป็นประจำจนเป็นกองบุญแล้วว่า สามารถบันดาลสิ่งที่ยากลำบากทุกอย่างได้นับตั้งแต่มีรูปงาม จนถึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด คนที่มีรูปสวย รวยทรัพย์ นับวิชา มีมารยาท ชาติผู้ดี เป็นต้น ตามหลักศาสนาก็ถือว่ามีบุญเก่าส่งผลให้ทั้งสิ้น แม้แต่คุณสมบัติภายในของแต่ละบุคคล เช่น สติปัญญาที่เฉียบแหลม ความละอายชั่วกลัวบาป ความสามารถที่ดี เป็นต้นที่เป็นต้นทุนในการสร้างชีวิตในปัจจุบัน ก็เพราะบุญปรุงแต่งมาให้ ฉะนั้น บุญถึงแม้จะต้องฝืนใจทำบ้าง แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยินดีทำด้วยศรัทธา เพราะที่ใดที่มีคนมีบุญอาศัยอยู่มาก ๆ ที่นั้นย่อมมีแต่ความเจริญ ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
       เรื่องบุญบันดาลตามคัมภีร์ที่กล่าวมาอาจไม่ทันสมัย แต่เรื่องที่คนปัจจุบันเปลี่ยนชีวิตจากหน้ามือเป็นหลังมือเพราะถูกรางวัลที่ ๑ ก็ดี เรื่องของคนที่ตกระกำลำบากแล้วมีผู้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือเป็นต้นก็ดี เหล่านี้ล้วนสะท้อนบุญบันดาลได้ทั้งสิ้น ฉะนั้น การสร้างบุญที่แต่ละคนมีความพร้อมทำแล้วมีความสุข จึงควรถือว่าทำเพื่อตนเองโดยแท้ ดังคำของพระที่ว่า "การสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำความสุขมาให้" ... นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน เบรกมือ

นิทานสั้นๆ ตอน เบรกมือ

   นิทานธรรมะ ตอน เบรกมือ ... เบรกเป็นเครื่องมือสำหรับห้ามล้อรถยนต์ โดยทั่วไปมี ๒ ลักษณะ คือ ๑. เบรกหลัก หรือเบรกเท้า เป็นเบรกที่ใช้ขณะรถวิ่งแล้วต้องการให้รถหยุด ๒. เบรกสำรอง หรือเบรกมือ ใช้ขณะรถจอดอยู่กับที่เป็นส่วนใหญ่ ในการใช้เบรก โดยเฉพาะเบรกมือนั้น มีบางครั้งที่ผู้ขับขี่ขับรถไปโดยลืมปลดเบรกมือ บางรายกว่าจะรู้ตัวรถก็วิ่งไปไกลหลายกิโลเมตรแล้ว ทำให้ผ้าเบรกไหม้มีกลิ่นเหม็น สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เกิดความสึกหรอของเครื่องยนต์มากกว่าปกติ
       ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มีพฤติกรรมบางอย่างที่คล้ายการลืมปลดเบรกมือ นั่นคือ บางคนมีความกระตือรือร้นขยันออกกำลังกายทุกเช้าเย็นเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ขณะเดียวกันก็สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าหรือเที่ยวกลางคืนดึก ๆ ดื่น ๆ ไปด้วย เมื่อพฤติกรรมสวนทางกันเช่นนี้ จึงเป็นการยากที่จะทำให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงตามที่ต้องการได้ มิหนำซ้ำบางรายนอกจากสุขภาพจะไม่แข็งแรงแล้ว ยังอาจทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมมากกว่าเดิมอีกทั้ง ๆ ที่ออกกำลังกายอยู่สม่ำเสมอ การกระทำอย่างนี้จึงไม่ต่างไปจากคนขับรถขณะที่เท้าเหยียบคันเร่งเพื่อให้รถวิ่งไปข้างหน้า แต่มือก็ดึงเบรกมือขึ้นไว้ตลอดทาง ทำให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าปกติและชำรุดเสียหายในที่สุด
       ผู้รักชีวิต เป็นห่วงสุขภาพแล้วหมั่นออกกำลังกาย นับว่าเป็นเรื่องที่ดี น่ายกย่อง แต่อย่าลืมปลดเบรกมือ ด้วยการลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา ยาเสพติด ตลอดจนอบายมุขทุกชนิดเสียบ้าง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องบั่นทอนสมรรถภาพของร่างกายและจิตใจอย่างมาก จะบั่นทอนเกิดความเสียหายอย่างไร ขอให้นึกถึงตอนขับรถยนต์แล้วลืมปลดเบรกมือก็จะทราบว่าเกิดความเสียหายเช่นเดียวกัน ... อ่านนิทานธรรมะ นิทานสั้นเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี เพราะไม่ใช่แค่นิทานสั้นๆ ให้ความสนุก แต่ยังให้ข้อคิด มีคติธรรมคำสอน ตามแนวทางแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่า เป็นนิทานธรรมะคติสอนใจ นิทานธรรมะสั้น อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลิน อ่านตอนไหนก็สนุก อ่านตอนไหนก็เพลิน  ทั้งหมดนี้มีใน นิทานธรรมะบล็อก

นิทานธรรมะ ตอน บวชไม่ศึกษ์

นิทานสั้นๆ เรื่อง บวชไม่ศึกษ์

"นิทานธรรมะ ตอน บวชไม่ศึกษ์"
      มีข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้ให้ข้อคิดเชิงเปรียบเทียบไว้ดีมากเกี่ยวกับคำว่า " บวชไม่ศึกษ์ " คือบวชแล้วไม่ศึกษาเล่าเรียนหลักคำสอนและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เมื่อเป็นเช่นนี้เขาย่อมไม่ได้ความรู้ในเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา ไม่เข้าใจหลักคำสอน ไม่รู้ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ตลอดทั้งไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา คนที่บวชแล้วไม่ศึกษาเล่าเรียนและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน ท่านเรียกว่า โมฆบุรุษ แปลว่า คนว่างเปล่า คือไม่ได้รับอะไรเลย เปรียบเหมือนคนที่จะเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ เตรียมข้าวของใส่กระเป๋าเรียบร้อยแล้ว ไปที่สถานีขนส่งแต่ไม่ยอมขึ้นรถ ได้แต่เดินวนเวียนไปมาอยู่ในบริเวณสถานี เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ไม่มีวันจะไปถึงเชียงใหม่ได้อย่างแน่นอน
       เรื่องเปรียบเทียบเชิงคำสอนนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่า การตั้งเป้าหมายอะไรไว้ จะไม่สำเร็จด้วยการคิดเพียงอย่างเดียว ต้องลงมือกระทำทั้ง ๓ ทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม ดังคำสอนที่เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้สมบูรณ์ และการทำจิตใจให้ผ่องใส จากหลักคำสอนที่เป็นหลักการสำคัญนี้ทำให้เราทราบว่า การตั้งเป้าหมายหรือจุดประสงค์อะไรไว้ จะต้องลงมือทำให้ครบถ้วนกระบวนการ จึงจะสำเร็จ ในการทำงานหรือปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ก็เช่นเดียวกัน โดยเนื้อแท้แล้วเราทุกคนล้วนมีเป้าหมายอยู่ในใจแล้วว่าจะทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จตามนโยบายบริษัท ตามนโยบายของผู้บังคับบัญชา ตลอดทั้งรักษาและปฏิบัติตัวอยู่ใน ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ข้อกฏหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ดีที่สุด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ตั้งเป้าหมายไว้เหมือนกัน แต่ไม่ตั้งใจทำ ถ้าจะเรียกล้อตามคำที่พูดกันว่า "คิดใหม่ ทำใหม่" ก็ล้อเป็นคนประเภท "คิดใหม่ แต่ทำเก่า" ได้แก่ คิดได้แต่ไม่คิด คือไม่ใส่ใจงาน คิดได้แต่ไม่บอก คือไม่ประสานติดต่อ และคิดได้แต่ไม่ทำ คือไม่พอใจที่จะลงมือทำ คนประเภทนี้ก็เหมือนคนที่ไปถึงสถานีต้นทางแต่ไปไม่ถึงปลายทาง หรือจะเรียกว่าเป็นพวกบวชไม่ศึกษ์ก็คงไม่ต่างกันเลยแม้แต่น้อย จริงมั้ยครับทุกๆ ท่าน ... นิทานธรรมะ


นิทานธรรมะ ตอน นกแขกเต้า

นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง นกแขกเต้า

นิทานธรรมะ ตอน นกแขกเต้า ... มีเรื่องเล่าว่า นกแขกเต้าฝูงหนึ่งบินไปกินข้าวในที่นาแห่งหนึ่งอยู่เป็นประจำ และในเวลากลับนกแขกเต้าตัวหนึ่งจะคาบเอารวงข้าวกลับไปด้วยวันละ ๓ รวง ชาวนาเกิดความสงสัยจึงดักจับนกตัวนั้นมาถาม นกแขกเต้าตอบว่า ข้าวทั้ง ๓ รวงที่คาบไปนี้ รวงหนึ่งเอาไปใช้หนี้เก่า คือเอาไปให้พ่อแม่กิน เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูเราจนเติบโต จึงเป็นหนี้บุญคุณที่ต้องตอบแทน อีกรวงหนึ่งเอาไปให้เขากู้ คือเอาไปให้ลูกหลานกิน ในฐานะที่เราเป็นผู้ให้กำเนิดก็ต้องเลี้ยงดูเขาให้ดี ต่อไปเขาจะได้กลับมาเลี้ยงดูเราบ้าง ส่วนอีกรวงหนึ่งเอาไปฝังไว้ คือเอาไปฝากเพื่อนนกด้วยกัน เพราะบางตัวแก่ชรา บางตัวพิการ ต้องอดอยากน่าสงสาร จึงคาบเอาไปฝากนกพวกนี้ด้วย
        ชาวนาได้ฟังคำอธิบายแล้วก็เกิดความเลื่อมใสว่า นกตัวนี้เป็นสัตว์ที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีคุณ มีความเมตตากรุณาต่อลูกหลาน ทั้งมีความเอื้อเฟื้อต่อเพื่อนนกด้วยกัน จึงยกนาข้าวส่วนหนึ่งให้พร้อมกับกล่าวว่า ขอให้เจ้าและญาติมิตรทั้งปวงมากินข้าวในที่นาแห่งนี้ได้ตามปรารถนาเถิด

นิทานธรรมะ ตอน หนี้

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง หนี้

นิทานธรรมะ ตอน หนี้
       เมื่อกล่าาวถึงคำว่า หนี้ ถ้ามองในแง่บุคคล จะประกอบด้วยกลุ่มชน ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าหนี้ กับฝ่ายลูกหนี้ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม พอเข้ามาสู่ระบบหนี้แล้ว ก็มักจะเกิดความกลัวด้วยกันทั้งนั้น คือ ฝ่ายเจ้าหนี้กลัวว่าจะถูกโกง ฝ่ายลูกหนี้กลัวจะหาเงินมาใช้คืนไม่ทันกำหนด กลัวถูกทวง จึงเกิดความทุกข์ใจว่า ยืมเขามาใช้ประเดี๋ยวก็หมด แต่เวลาใช้คืนกว่าจะหมด ช่างนานจริงๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว วันเวลาก็คงดำเนินไปเป็นปกติ แต่ทีผิดปกติ ก็คือ ความรู้สึกของลูกหนี้ต่างหาก
        กล่าวโดยภาพรวม อาจจะแบ่งหนี้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ หนี้สิน กับหนี้กรรม
       หนี้สิน ได้แก่ทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ที่เรียกว่า เจ้าหนี้ และผู้รับที่เรียกว่า ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องใช้หนี้ หรือตอบแทนให้เหมาะสม กับสภาพความเป็นหนี้ จึงจะเป็นไทแก่ตัวเอง แต่ถ้าใช้หนี้ไม่หมด ด้วยความจงใจก็ดี ด้วยความพลั้งเผลอก็ดี จะแปรสภาพไปเป็นหนี้ประเภทที่ ๒ คือ หนี้กรรม หรือภาษาพระท่าน เรียกว่า เศษกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ผู้ทำยังปลดเปลี้องหรือรับผล ของการกระทำนั้นไม่หมด หรือไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือเศษที่จะคอยตามให้ผล ตามเก็บหนี้ข้ามภพข้ามชาติ จนกว่าจะหมด ไม่มีทางที่จะหลบหลีกได้ ดังมีคำกลอนเตือนใจว่า

นิทานธรรมะ ตอน หนามยอกเอาหนามบ่ง

นิทานธรรมะ

"นิทานธรรมะ ตอน หนามยอกเอาหนามบ่ง"
                เมื่อเราเดินทางเข้าไปในป่า ถ้าหากถูกหนามตำเท้า ย่อมทำให้เกิด ความเจ็บปวด และเป็นทุกข์ วิธีที่จะปลดเปลื้องทุกข์ ให้หมดไปก็คือ ต้องเอาหนามนั้นออก มิฉะนั้น จะกลัดหนอง และอักเสบอย่างรุนแรง ยากแก่การรักษา ปัญหาอยู่ที่ว่า สถานการณ์ในป่า เช่นนั้น เราจะหาเข็มที่ไหน มาบ่งหนามออกได้ นอกเสียจากเอาหนาม ที่มีความแหลมคม ชนิดเดียวกันนั่นเองบ่งออก ความเจ็บปวดเป็นทุกข์ จึงจะบรรเทาและหายได้ ลักษณะอย่างนี้ ภาษิตโบราณ เรียกว่า "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
                 ปัจจุบันนี้มีหนามอีกชนิดหนึ่ง ที่กำลังทิ่มตำคนให้เป็นทุกข์อย่างไม่รู้ตัว หนามที่ว่านี้ เรียกตามศัพท์ศาสนาว่า "ตัณหา" แปลว่า ความอยาก บุคคลที่มีความอยาก อยากมีนั่น อยากมีนี่ หรืออยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ เกินฐานะกำลังและความสามารถของตนเอง และดิ้นรนแสวงหาเพื่อตอบสนองความอยาก ด้วยวิธีการที่ผิดๆ ก็เสมือนว่าบุคคลนั้น กำลังถูกหนาม คือ ความอยาก ทิ่มตำให้ได้รับความเจ็บปวดเป็นทุกข์อยู่ เช่น อยากเป็นเศรษฐี มีเงิน มีรถ ก็แสวงหาด้วยการเล่นหวย หรือไปจี้ ปล้น คนอื่น เป็นต้น แทนที่จะตั้งใจทำงาน อดออมและประหยัด ชีวิตก็ยุ่งยากเพราะความอยากไม่ถูกทางของตนนั่นเอง หนาม คือ ความอยาก หนามชนิดนี้จะค่อยๆ ทิ่มตำชีวิตของบุคคลผู้ขาดปัญญา ให้เป็นทุกข์ และเดือดร้อนเรื่อยๆ จนเสียอนาคตในที่สุด ทางออกก็คือ จะต้องรีบรักษา วิธีการรักษาที่ดีก็คือ ต้องเอาหนาม คือความอยากนั่นเอง เป็นแรงผลักดันตนเอง ให้รับผิดชอบ และใช้สติปัญญาให้มากขึ้น พร้อมปฏิบัติด้วยวิธีที่เป็นไปได้ เช่น อยากมีเงิน ต้องแสวงหา อยากมีการศึกษา ก็ต้องหมั่นเรียน อยากมียศและศักดิ์ศรี ก็ต้องมีความระมัดระวังให้มากขึ้น ถ้าเอาความอยากเป็นฐานสร้างพลัง ให้เกิดการกระทำที่ถูกและสุจริตอย่างนี้ ชีวิตของผู้นั้น ก็จะพ้นจากความทุกข์และขีดอันตราย จะกลายสภาพเป็นการเสริมสร้างอนาคต ให้แข็งแรงสมบูรณ์มากขึ้น

นิทานธรรมะ ตอน น้ำขึ้นให้รีบตัก

นิทานธรรมะสอนใจ เรื่อง น้ำขึ้นให้รีบตัก

นิทานธรรมะ ตอน น้ำขึ้นให้รีบตัก ... มีสำนวนไทยบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก" ความหมายก็คือเมื่อมีโอกาสดี ๆ ควรรีบทำทันที ไม่ปล่อยให้โอกาสนั้นล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ มิฉะนั้น อาจทำให้พลาดจากประโยชน์ที่ควรมีควรได้ สำนวนไทยบทนี้เตือนใจได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างอนาคต
       อนาคตของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ เป็นเรื่องไม่แน่นอน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และไม่เป็นไปอย่างที่เราคาดคิดไว้ เมื่อมีโอกาสหรือเมื่อโอกาสมาถึง ก็ไม่ควรทิ้งโอกาสนั้นหรือใช้โอกาสนั้นไปในทางเสพเสวยความสุขสบายเฉพาะหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ควรมองเห็นความมั่นคงของชีวิตในอนาคตเป็นเป้าหมายสำคัญ มองเหตุการณ์และเวลาที่มาถึงว่าเป็นสิ่งมีคุณค่าประดุจน้ำที่กำลังขึ้น แล้วใช้เหตุการณ์หรือเวลานั้นเองสร้างชีวิตให้มั่นคง จนแน่ใจได้ว่าปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น ตนได้จัดการแสวงหาไว้เพื่อตนเองและครอบครัวแล้ว ในอนาคตแม้จะประสบกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็จะไม่เดือดร้อนจนเกินไป
       สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการสร้างอนาคตนั้นคือการตัดสินใจ คนที่ได้รับความสำเร็จในชีวิต มักมีจุดเริ่มต้นจากการตัดสินใจที่ดี คาดการณ์อนาคตได้แม่นยำ แล้วรีบดำเนินการทันทีเมื่อมีโอกาสโดยไม่ลังเล เพราะการไม่ตัดสินใจเมื่อมีโอกาสหรือตัดสินใจผิด เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวในชีวิต ฉะนั้น หากประสงค์ที่จะมีชีวิตที่มั่นคง พึ่งตนเองได้ในอนาคตแล้ว ก็ควรรีบตัดสินใจทำสิ่งที่มีคุณค่าให้กับชีวิตทุกครั้งเมื่อโอกาสมาถึง เข้าทำนองที่ว่า "น้ำขึ้นให้รีบตัก" นั่นเอง  ต้องการอ่านนิทานธรรมะ ที่นี่มีนิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน ขอแนะนำนิทานธรรมะยอดนิยม  นำเสนอนิทานธรรมะสั้น ๆ เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะที่ไม่ได้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังสอดแทรกหลักธรรมะ นึกถึง "นิทานธรรมะ" ต้องที่ นิทานธรรมะบล็อก

ธรรมคติสอนใจ ตอน ตายอมตะ

นิทานธรรมะ ตอน ตายอมตะ

ธรรมคติสอนใจ ตอน ตายอมตะ @นิทานธรรมะ
      เมื่อพูดถึงความตายคนส่วนใหญ่ไม่อยากฟังหรือสนทนาด้วย เพราะเห็นว่าความตายเป็นเรื่องอัปมงคล เป็นสิ่งไม่ดี ไม่อยากคิดหรือพูดถึง แต่พระพุทธศาสนาสอนในทางตรงกันข้าม คือให้หมั่นระลึกถึงความตายอยู่เสมอ และการระลึกถึงความตายนี้ถือว่าเป็นกุศล ไม่ใช่อัปมงคล เพราะทำให้เกิดคติเตือนใจให้ไม่ประมาทในวัย ในชีวิต ในความไม่มีโรค และไม่หวาดกลัวหรือหวั่นวิตกเมื่อความตายมาถึง เรื่องที่ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทและมีสติมั่นไม่พรั่นพรึงต่อความตายนั้น ไม่ว่าจะตีความในแง่ไหนก็ไม่สามารถเป็นอัปมงคลไปได้ เพียงแต่ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อกลัวตายก็ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่กลัวนั้นเกิดขึ้น รังเกียจที่จะพูดที่จะเห็น ที่สุดไม่อยากแม้แต่จะนึกถึง การพูดถึงเรื่องความตายจึงเป็นอัปมงคลเฉพาะในแง่ความรู้สึกของคนเท่านั้น ไม่ใช่ในแง่ข้อเท็จจริง
       ความตายนั้นท่านไม่ได้สอนให้กลัว แต่สอนให้สู้ด้วยความไม่ประมาท รีบสร้างคุณประโยชน์ สร้างความดีไว้ให้มาก เมื่อร่างกายแตกดับ จะได้เหลือคุณความดีไว้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นที่อาลัยเคารพรักแก่ผู้อยู่เบื้องหลัง จะเห็นได้ว่าบางท่านแม้หาชีวิตไม่แล้ว คนอยู่หลังก็ยังสร้างรูปเหมือนหรืออนุสาวรีย์ไว้กราบไหว้บูชาแทนผู้ที่ตาย เช่นนี้ก็คือตายแต่ตัว แต่ชื่อเสียงความดีไม่ได้ตายไปด้วย เรียกว่าตายแบบไม่ตายหรือตายอมตะ ดังคำพระยืนยันว่า รูปัง ชีระติ มัจจานัง นามะโคตตัง นะ ชีระติ อันหมายถึง ถึงร่างกายเสื่อมสิ้นไป แต่ชื่อเสียงและความดีไม่มีวันแตกดับ
      ไหน ๆ ทุกคนจะต้องตายแน่ ๆ อยู่แล้ว จะไม่ลองสู้เพื่อให้ตายแบบอมตะดูบ้างหรือ  ต้องการอ่านนิทานธรรมะ ที่นี่มีนิทานธรรมะมาใหม่ทุกๆ วัน ขอแนะนำนิทานธรรมะยอดนิยม  นำเสนอนิทานธรรมะสั้น ๆ เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี นิทานธรรมะที่ไม่ได้แค่ความเพลิดเพลิน แต่ยังสอดแทรกหลักธรรมะ นึกถึง "นิทานธรรมะ" ต้องที่ นิทานธรรมะบล็อก

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget