แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

"นิทานธรรมะ เรื่อง ผีเข้าผีออก"


นิทานธรรมะ เรื่อง ผีเข้าผีออก ... สำหรับคำว่า ผีเข้าผีออก ในแง่คนทั่วไป นั้นสอดคล้องกับสำนวนไทย ซึ่งหมายถึง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ไม่คงที หรือจะเรียกว่าเป็นคนไม่เสมอต้นเสมอปลายก็ได้ ส่วนในแง่ทางธรรม อาการนี้เป็นผลมาจากพื้นฐานจิตเป็นคนประเภทโทสจริต ผสมสัทธาจริต ทำให้บางครั้งเป็นคนใจร้อน ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย แต่บางครั้งกลับเป็นคนมีจิตใจสาธารณะ น่าเชื่อถือ ส่วนวิธีการแก้และ นิทานธรรมะ เรื่อง ผีเข้าผีออกนี้ จะเป็นอย่างไร เชิญติดตาม....
    มีเรื่องเล่าว่า ลูกได้พาพ่อไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เพราะอาการกำเริบหนักจากโรคประจำตัว โรงพยาบาลจึงรับไว้เป็นคนไข้ใน เมื่อถึงเวลาเย็นก็มีพยาบาลมาเช็ดตัวให้ ผู้เป็นลูกยืนดูอยู่ห่างๆ เห็นพยาบาลคนนั้นยกมือยกเท้าคนป่วยแล้วเช็ดเบาๆ ด้วยอาการทะนุถนอม แบบกลัวคนไข้เจ็บ พร้อมกับเช็ดหน้าเช็ดตาให้โดยไม่รังเกียจเลย ทำอย่างกับคนป่วยเป็นพ่อของตน ผู้เป็นลูกเห็นการทำหน้าที่ของพยาบาลเช่นนั้นแล้วเกิดความรู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างยิ่ง ประทับใจอย่างเหลือเกิน เย็นวันต่อมา พยาบาลคนเดิมก็เข้ามาเช็ดตัวให้คนป่วยอีก แต่คราวนี้กริยาท่าทีต่างจากวันแรกอย่างสิ้นเชิง ดูเธอสักแต่ว่าทำให้เสร็จๆ ไปเท่านั้น ไม่มีอารมย์จะทำเลย หน้าตาเหมือนคนไม่สบายใจ จับคนป่วยพลิกยกมือ ยกเท้าแบบกระชากกระชั้น เช็ดถูก็ถูแรงๆ ทำเอาคนป่วยหน้านิ่งคิ้วขมวดด้วยความเจ็บปวด ฝ่ายผู้เป็นลูกที่ยืนดูอยู่เกิดอารมย์สงสารพ่ออย่างจับใจ จะบอกให้ทำเบาๆ ก็ใช่ที่ จึงได้แต่เพียงพูดกับพ่อว่าทนเจ็บหน่อยนะพ่อ เดี๋ยวก็เสร็จแล้ว ดูเหมือนพยาบาลจะได้สติเพราะคำพูดนั้น จึงเพลามือลง และรีบเช็ดตัวให้เสร็จก่อนที่จะรีบเดินออกจากห้องไป

"นิทานธรรมะ เรื่อง อภัยกัน"

คนเราเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ย่อมมีกระทบกระทั่งกันบ้าง และเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ย่อมเกิดความไม่พอใจ โกรธกัน มีทะเลาะเป็นปากเสียง สุดท้ายอาจถึงขั้นใช้กำลัง เพราะทุกวันนี้ขาดคุณธรรมที่เรียกว่า "การให้อภัย" นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ โดย นิทานธรรมะบล็อก  จึงนำเสนอ 
เรื่อง อภัยกัน

   ...มีเรื่องเล่าวา่ ชายสองคนเป็นเพื่อนรักกันมาก วันหนึ่งทั้งคู่ได้เดินทางไปในทะเลทราย ซึ่งในระหว่างเดินทางนั้น เกิดทะเลาะกัน เพื่อนคนหนึ่งระงับอารมย์ไม่อยู่ ได้ตบหน้าอีกฝ่าย เพื่อนที่ถูกทำร้ายได้รับความเจ็บปวด แต่ก็ไม่เอ่ยว่าจาใดๆ กลับเขียนลงบนผืนทรายว่า "วันนี้...ฉันถูกเพื่อนรักตบหน้า" พวกเขายังคงเดินทางต่อไป กระทั่งถึงแหล่งน้ำแห่งหนึ่ง จึงตัดสินใจลงอาบน้ำ แต่ได้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อนคนที่ถูกตบหน้ากำลังจะจมน้ำ เพื่อนอีกคนไม่รั้งรอรีบเข้าไปช่วยทันที เพื่อนคนที่รอดตายยังคงไม่เอ่ยวาจาใดๆ กลับสลักลงไปบนหินก้อนใหญ่ว่า "วันนี้...เพื่อนรักช่วยชีวิตฉันไว้" อีกฝ่ายไม่เข้าใจจึงถามว่า "เมื่อถูกฉันตบหน้า กลับเขียนเรื่องราวบนผืนทราย แต่เรื่องที่ฉันช่วยเธอจมน้ำ ทำไมจึงสลักบนหิน" เพื่อนคนนั้นยิ้มแล้วกล่าวตอบว่า "เมื่อถูกคนที่รักทำร้าย เราควรเขียนมันไว้บนผืนทราย เพราะสายลมแห่งการให้อภัย จะทำหน้าที่พัดผ่านลบล้างไม่เหลือ แต่เมื่อมีสิ่งที่ดีมากมายเกิดขึ้น เราควรสลักไว้บนก้อนหินแห่งความทรางจำในหัวใจ ซึ่งต่อให้มีสายลมพัดแรงเพียงใด ก็ไม่อาจลบล้างทำลายได้"

นิทานธรรมะให้คติสอนใจ เรื่อง วิชาชีวิต


นิทานธรรมะบล็อก นำเสนอ นิทานธรรมะ อ่านนิทานให้ความเพลิดเพลินแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรม สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตได้ นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๘ 
เรื่อง วิชาชีวิต

   โลกนี้เต็มไปด้วยวิชามากมายหลากหลายสาขา เรียกว่า เรียนกันทั้งชีวิตก็ไม่หมด แต่จะมีสักกี่คนที่ได้รู้จักสุดยอดวิชา นั่นคือ "วิชาชีวิต" ดังที่ผู้รู้กล่าวว่า "ถ้าเราขายกล้วยทอด ไม่รู้วิชาขายก้วยเตี๋ยวไม่เป็นไร ไม่รู้วิชาสร้างรถ สร้างเครื่องบิน สร้างจรวด ก็ยิ่งไม่เป็นไร เพราะไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่ชีวิต แต่มีวิชาหนึ่งซึ่งเราไม่รู้ไม่ได้ ถ้าไม่รู้แล้วอันตรายมาก นั่นคือ "วิชาชีวิต" นั่นเอง

  ดังนั้น หากใครที่เกิดมาแล้ว ไม่ได้ศึกษาวิชาชีวิต ต้องถือได้ว่า ชีวิตที่ผ่านมานั้นเป็นโมฆะ น่าเสียดายเป็นที่สุด ดังมีเรื่องราวเล่าว่า  ศาสตราจารย์คนหนึ่ง เดินทางโดยเรือเพื่อไปทำธุระยังต่างประเทศ ในขณะอยู่บนเรือ เขาได้มีโอกาสคุยกับกลาสีเรือ และด้วยความที่เขาเป็นคนรอบรู้แทบทุกเรื่อง จึงทำให้ กลาสีเลื่อมใสในตัวเขามาก เย็นวันหนึ่ง ขณะที่คุยกัน ศาสตราจารย์ถามกลาสีว่า "คุณเคยเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไหม" กลาสีตอบว่า "ไม่เคยเรียนครับ" ศาสตราจารย์จึงพูดว่า "น่าเสียดายนะ เพราะวิชานี้ บอกเรื่องราวของชีวิตได้หลายๆ อย่าง เขาพูดกันว่า คนที่ไม่ได้เรียนวิชานี้ ต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ถึงหนึ่งในสี่ของชีวิตเลยทีเดียว" กลาสีฟังแล้ว ก็ไม่ค่อยสบายใจ เย็นวันต่อมา ศาสตราจารย์ถามกลาสีอีกว่า "คุณเคยเรียนวิชาภูมิศาสตร์และปรัชญาไหม" กลาสีบ่นเสียดายที่ไม่ได้เรียนวิชาเหล่านั้นเลย และเสียใจที่ใช้ชีวิตสูญเปล่าไปมากมายขนาดนั้น เขาเครียดเสียจนนอนไม่หลับ หลังจากคุยกันได้สักพัก ต่างคนก็แยกย้ายกลับที่พัก เวลาผ่านไปจนถึงเที่ยงคืน กลาสีพรวดพลาดวิ่งลงมาเคาะประตูห้องนอนศาสตราจารย์แล้วถามว่า "ศาสตราจารย์เคยเรียนวิชาว่ายน้ำไหมครับ" ศาสตราจารย์ตอบว่า "ไม่เคยเลย และฉันก็ว่ายน้ำไม่เป็นด้วย" กลาสีจึงพูดต่อไปว่า "แย่เลยครับศาสตราจารย์ ผมไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์ ไม่ได้เรียนภูมิศาสตร์และปรัชญา นับได้ว่า่สุญเสียเวลาไปค่อนชีวิต แต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาว่ายน้ำมา ท่านคงต้องสูญเสียทั้งชีวิต เพราะขณะนี้เรือของเราเกิดรูรั่วขนาดใหญ่ และกำลังจะจมครับ"

"นิทานธรรมะ" เรื่อง สองคนยลตามช่อง


เรื่อง สองคนยลตามช่อง เป็น "นิทานธรรมะ" ประจำวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ โดย นิทานธรรมะบล็อก ... นักสอนศาสนาท่านหนึ่งได้เขียนไว้ว่า "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย" เพื่อจะไขปริศนาธรรมดังกล่าว โบราณาจารย์ท่านได้แนะนำสั่งสอนให้ใช้สติปัญญาพินิจพิเคราะห์เลือกมองสิ่งต่างๆ เฉพาะแต่ในแง่ที่เป็นประโยชน์ หรือพินิจพิจารณา ปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัญหาให้เป็นปัญญา และปรับเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยยกตัวอย่างบุคคลสองคน ที่ประสบปัญหาเหมือนกัน แต่มีวิธีคิดและมุมมองในการแก้ปัญหาต่างกัน ดังนี้
  ตัวอย่างที่ ๑  มีแก้ว ๑ ใบ มีน้ำเหลืออยู่ในแก้วครึ่งหนึง คนที่ต้องการดื่มน้ำคนแรกมองเห็นแต่ในแง่ลบด้วยความโลภว่า "มีน้ำเหลืออยู่แค่ครึ่งแก้ว คงไม่พอสำหรับดื่มดับกระหาย" แต่อีกคนหนึ่งกลับมองในแง่บวกด้วยความมักน้อยสันโดษว่า "มีน้ำเหลืออยู่ตั้งครึ่งแก้ว น่าจะเพียงพอสำหรับดื่มดับกระหายได้"
   ตัวอย่างที่ ๒ ในใบลสิปจ่ายเงินเดือนลูกจ้างบริษัทแห่งหนึ่ง ๒ คน แจ้งยอดเงินรายได้รวมจำนวน ๓ แสนบาท และเงินภาษีรวมหักถึงเดือนปัจจุบันจำนวน ๘ พันกว่าบาทเท่ากัน ลูกจ้างคนมองแต่ในแง่ความเสียดายและเห็นแก่ตัว ว่าถูกหักภาษีรวมเป็นเงินถึง ๘ พันบาท แต่ลูกจ้างอีกคนกลับมองในแง่ดี ด้วยความภูมิอกภูมิใจ ด้วยคิดว่า แค่ถึงเดือนปัจจุบันนี้ เรากลับมีรายได้รวมถึง ๓ แสนบาท
   ตัวอย่างที่ ๓ พนักงานขายจาก ๒ บริษัท ได้ถูกส่งไปเปิดตลาดรองเท้าที่ประเทศแอฟริกา พร้อมๆ กัน คนแรกเห็นคนพื้นเมืองแอฟริกาไม่ใส่รองเท้าเลยแม้แต่คนเดียว จึงรีบโทรศัพท์รายงานบริษัทด้วยน้ำเสียงท้อแท้สิ้นหวังว่า "อย่าส่งรองเท้ามาขายที่นี่ เพราะคนแอฟริกาไม่นิยมใส่รองเท้า" แต่อีกคนกลับรีบโทรศัพท์รายงานบริษัท

"นิทานธรรมะสอนใจ" เรื่อง ส่องพระ


{นิทานธรรมะสอนใจ} เรื่องเล่าแนวนิทานธรรมะ ให้แง่คิดทางธรรม นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน นิทานธรรมะสอนใจประจำวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่อง ส่องพระ ... ในวงการพระเครื่อง จะให้การยกย่องและยอมรับนับถือผู้ที่สามารถตรวจสอบวัตถุมงคลชนิดต่างๆ และสามารถบอกได้อย่างถูกต้อง ชัดเจนว่า วัตถุมงคลชนิดนั้นๆ ทำจากอะไร เมื่อไหร่ รุ่นไหน มีอานุภาพในทางใด เป็นของแท้หรือไม่ ราคาเท่าไหร่ ลักษณะนี้เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ จะได้รับการเรียกขานในเชิงยกย่องว่า "เซียนพระ" หมายถึง บุคคลผู้มีความสามารถระดับเซียน เชียวชาญและรอบรู้ รูปแบบวัตถุมงคลที่นิยมจัดสร้างทั่วไป มักทำเป็นรูปทรงเลขาคณิตสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลมบ้าง คะเคล้ากันไป ซึ่งกว่าบรรดาเซียนจะได้คำตอบที่แน่ใจก็จะต้องพลิกไปพลิกมา ส่องแล้วส่องอีก
  สำหรับการพลิกไป พลิกมา ส่องแล้วส่องอีกของบรรดาเซียนพระทั้งหลาย แท้จริงก็เพียงได้เห็นเนื้อแท้ รูปลักษณ์ภายนอกของวัตถุมงคลเท่านั้น บางครั้งหากผู้ส่องไม่มีคุณธรรม หรือมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง อาจก่อให้เกิดทุกข์ภัยตามมาได้  และนิทานธรรมะบล็อก วันนี้เรานำเสนอ เรื่อง ส่องพระ ขอเปรียบเที่ยบการส่องพระตามลักษณะภายนอกของพระ เพื่อเปรียบเทียบกับข้อคิดทางธรรม  ได้ดังนี้
   ๑. ส่องวัตถุมงคลชนิดสามเหลี่ยม หากจะเปรียบเทียบกับปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ ก็เปรียบได้กับ หลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา สิ่งเหล่านี้ขอให้เราคิดว่า จะต้องเจอะเจอเป็นแน่ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง หลีกหนีไม่พ้น แต่ให้จงพึงระวังใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท
   ๒. ส่องวัตถุมงคลชนิดสี่เหลี่ยม  เปรียบเทียบปริศนาธรรมที่ได้ คือ

นิทานธรรมะให้คติสอนใจ เรื่อง สามัคคีคือพลัง


#นิทานธรรมะ ในแบบนิทานสั้นๆ ให้คติสอนใจ โดย นิทานธรรมะบล็อก ประจำวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๘ เรื่อง สามัคคีคือพลัง ... ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ยกย่องแควันวัชชี เมืองไพสาลี ซึ่งมีเจ้าลิจฉวีปกครอง ว่าเมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แม้จะมีเมืองอื่นยกทัพมาตีหลายครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะเจ้าลิจฉวีได้เลย เหตุเพราะที่เจ้าลิจฉวีมีระบบการปกครองที่เรียกว่า "สามัคคีธรรม" จึงทำให้เมืองไพสาลีมีความเจริญรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุขสืบเนื่องเรื่อยมา ต่อมาพระเจ้าอชาตศัตรูได้ส่งวัสสการพราหมณ์เข้าไปยุยงให้เครือญาติของของเจ้าลิจฉวีเกิดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน จนแตกความสามัคคีในที่สุด ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูสามารถตีเมืองไพสาลีแตกได้โดยง่าย เพราะไม่มีใครออกมาสู้รบป้องกันเมือง เป็นเหตุให้เมืองไพสาลีเสียอิสรภาพในที่สุด
  เป็นที่ทราบกันดีว่า ความสามัคคีเป็นคุณธรรม ที่หมายถึง ความพร้อมเพรียงกัน ความร่วมมือร่วมใจกัน กระทำกิจที่ชอบอย่างใดอย่างหนึ่งให้แล้วเสร็จ แต่ถ้าเป็นการร่วมมือกันกระทำกิจที่เป็นเรื่องความเสียหาย มักเรียกว่า การสุมหัว เช่น สุมหัวกันกินเหล้า สุมหัวกันปล้น เป็นต้น สังคมใดมีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว สังคมนั้น ย่อมบังเกิดความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุขร่มเย็น ดังเช่น สังคมของเจ้าลิจฉวี เป็นต้น

"นิทานธรรมะ : ฉันเป็นกำนัน"


นิทานธรรมะในแบบนิทานสั้นๆ ให้คติสอนใจ เรื่อง ฉันเป็นกำนัน ... ผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งได้รับการคัดเลือกจากผู้ใหญ่บ้านด้วยกันให้เป็นกำนัน แกรู้สึกปลาบปลื้มในตำแหน่งใหม่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใฝ่ฝันมานานแล้ว ตกบ่ายหลังจากเลิกประชุม แกก็รีบกลับบ้านพร้อมทั้งชุดกำนันเต็มยศ อย่างครึ้มอกครึ้มใจ และมีความสุข ระหว่างทางแวะซื้อช้อนส้อมคู่หนึ่ง ด้วยแกคิดเป็นกำนันแล้ว จะต้องเปิบข้าวด้วยมือเหมือนเมื่อก่อนคงไม่ได้ เสียชื่อเสียงกำนันหมด พอไปถึงบ้านก็เดินเข้าบ้านทั้งที่สวมรองเท้าอยู่ ฝ่ายภรรยาเห็นก็นึกสงสัยว่าสามีเป็นไปอะไรไปในวันนี้ ดูครึ้มอกครึ้มใจอย่างผิดปกติ ถึงถามว่า พี่เป็นอะไรวันนี้ดูสดชื่นชอบกล แกจึงตอบว่า ฉันเป็นกำนันแล้วจ๊ะ พูดพลางก็ชี้ให้ดูเครื่องหมายที่บ่า ภรรยาพอทราบว่าสามีได้เป็นกำนันแล้วก็ยิ้มด้วยความยินดี รีบเข้าครัวไปจัดเตรียมอาหารเป็นพิเศษ แล้วเรียกสามีกับลูกมากินข้าวตามปกติ กำนันใหม่ได้ยินดังนั้นก็รีบโบกมือร้องบอกภรรยาว่า ไม่ได้ ไม่ได้ พวกเธอเป็นลูกบ้าน จะมากินข้าวร่วมกับกำนันไม่ได้ แล้วแกก็ควักช้อนส้อมในกระเป๋าออกมาตักอาหารกินอย่างเอร็ดอร่อย ปล่อยให้ภรรยาและลูกมองหน้ากันอย่างงงๆ พอค่ำแกก็ลุกขึ้นยืดแข้งยืดขา เพราะนั่งนานจนเป็นตะคริว จึงเหยียบกระดานพลาด ล้มทั้งยืน ทุกคนได้ยินเสียงโครมก็ตกใจรีบมาดูว่าเกิดอะไรขึ้น ลูกกำนั้นเห็นว่าพ่อล้มอยู่ จึงถามว่า เป็นอะไรพ่อ แกก็ตอบกลับมาว่า ก็เป็นกำนันน่ะซิ ถามได้

"นิทานธรรมะ : ลุงย้ายภูเขา"


"นิทานธรรมะ เรื่อง ลุงย้ายภูเขา".... มีเรื่องเล่าว่า หน้าบ้านลุงคนหนึ่ง มีภูเขาใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าบ้านพอดี บ้านของลุงมีคนอาศัยอยู่ ๓๐ กว่าคน ทุกครั้งที่ออกจากบ้านก็จะต้องเดินอ้อมภูเขาลูกนั้นไป ทำให้ไม่สะดวกเสียเวลามาก วันหนึ่ง ลุงตัดสินใจว่า ในบั้นปลายชีวิตนี้จะขอทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่สักเรื่องหนึ่ง คือ การย้ายภูเขาที่ตั้งอยู่หน้าบ้านไปไว้ที่อื่น แล้วลุงก็นำทุกคนในบ้านเริ่มทำการย้ายภูเขา โดยค่อยๆ ขุดย้ายหินบนภูเขา ขนไปไว้ในที่ห่างไกลออกไป แต่ว่าภูเขาลูกนี้สูงใหญ่มาก กำลังของพวกเขามีขอบเขตจำกัด งานย้ายภูเขาจึงคืบหน้าไปอย่างเชื่องช้า ข้างบ้านลุง มีผู้เฒ่าคนหนึ่ง เห็นว่าการกระทำของลุงนั้น ช่างเป็นความโง่เขลา เหลวไหล ไร้สาระโดยสิ้นเชิง จึงพูดจาถากถางว่า "พวกท่านจงเลิกล้มความตั้งใจนี้จะดีกว่า ลองคิดดูหน่อยปะไร ปีนี้ท่านอายุเท่าไหร่แล้ว ต่อให้แม้ว่าปีนี้ท่านมีอายุเพียง ๒๐ ปี แล้วใช้เวลาชั่วชีวิตที่เหลือ ก็ไม่สามารถย้ายภูเขาลูกนี้ไปได้หรอก" เมื่อลุงได้ฟังดังนั้น จึงตอบว่า

นิทานธรรมะ เรื่อง ผิดกับถูก


[นิทานธรรมะ เรื่อง ผิดกับถูก] ... มีเรื่องเล่าว่า ในสำนักของอาจารย์ท่านหนึ่ง มีผู้สมัครเข้ามาเป็นศิษย์จากทุกสารทิศจำนวนมาก คราวหนึ่งศิษย์คนหนึ่งโดนจับได้ด้วยข้อหาลักทรัพย์ ศิษย์คนอื่นๆ รายงานให้อาจารย์ทราบ พร้อมเสนอให้ลงโทษโดยให้ขับออกจากสำนัก แต่อาจารย์เฉยเสีย ต่อมาศิษย์ผู้นั้น โดนจับได้ด้วยความผิดเช่นเดิมอีก อาจารย์ก็ยังคงเฉยอยู่เหมือนเดิม

  เหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้ศิษย์คนอื่นๆ ไม่พอใจ จึงยื่นข้อเสนอให้อาจารย์ ขับเจ้าหัวขโมยคนนั้นออกไป หาไม่แล้ว พวกเขาจะพากันลาออกไปทั้งหมด เมื่ออ่านข้อเสนอแล้ว อาจารย์จึงเรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด

นิทานธรรมะ เรื่อง ไฟศักดิ์สิทธิ์

นิทานธรรมะ เรื่อง ไฟศักดิ์สิทธิ์
   [นิทานธรรมะบล็อก เรื่อง ไฟศักดิ์สิทธิ์] มีเรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่งได้ยินว่า ในดินแดนห่างไกลมีไฟศักดิ์สิทธิ์ลุกโชติช่วงอยู่ เขาจึงออกเดินทางไป เพื่อแสวงหาไฟศักดิ์สิทธิ์ด้วยคิดว่า "เมื่อเราได้ไฟนี้ เราจะมีความสุขและชีวิตที่ดี อีกทั้งคนที่เรารักก็จะมีสิ่งเหล่านี้ด้วย" หลังจากเดินทางไกลมาก ในที่สุดก็พบกับไฟศักดิ์สิทธิ์ เขาจึงใช้คบเพลิงที่เตรียมมาจุดต่อไฟศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน เขาพบคนซึ่งกำลังหนาวเหน็บและไม่มีไฟมากมาย คนเหล่านั้นอ้อนวอนให้เขาแบ่งไฟให้บ้าง ชายเจ้าของคบเพลิงลังเลอยู่พักหนึ่ง แล้วจึงตัดสินใจแบ่งไฟให้กับคนที่กำลังหนาวเหน็บและอยู่ในความมืดนั้น หลังจากนั้นเขาจึงออกเดินทางต่อไป เมื่อเกือบถึงบ้านได้เกิดฝนตกอย่างหนัก เขาพยายามปกป้องไฟจากลมฝนอย่างสุดความสามารถ แต่ท้ายที่สุดไฟของเขาก็ดับลง การเดินทางกลับไปยังสถานที่มีไฟศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะเขาไมมีแรงพอจะเดินทางได้ไกลขนาดนั้น แต่เขามีแรงพอจะเดินทางกลับไปหาคนที่เขาช่วยเหลือไว้ระหว่างทางได้ และด้วยไฟนั้น เขาจึงสามารถจุดคบเพลิงได้อีกครั้ง ซึ่งทำให้เขามีความสุขมาก และเห็นคุณค่าของไฟศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น

"วันแม่แห่งชาติ"


ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกใบนี้ ล้วนมีความเกี่ยวข้องผูกพันกับสถาบัน บุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย จนมีการกำหนดเป็นวันสำคัญ เช่น วันเกิด วันแต่งงาน วันโกน วันพระ วันสำคัญทางศาสนา และอีกหลายๆ วัน และหนึ่งในวันสำคัญนี้ ซึ่งเป็นวันที่พสกนิกรชาวไทยและผู้เป็นลูกทั้งหลายจะลืมเสียมิได้ นั่นคือ "วันแม่แห่งชาติ" อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ ที่พสกนิกรชาวไทยทุกคนจักได้แสดงความจงรักภักดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์มีต่อพสกนิกรชาวไทย
   ในฐานะของความเป็นลูก ควรให้ความสำคัญกับบทบาทของความเป็นแม่ที่มีต่อลูกทุกๆ คน เพราะแม่เป็นผู้ให้ยอดของทรัพย์ ที่บุคคลอื่นไม่สามารถจะบันดาลให้ได้ นั่นคือ ชีวิต เลือดเนื้อ สังขารร่างกาย ทรัพย์สมบัติอย่างอื่น เช่น แก้ว แหวน เงิน ทอง เสื้อผ้า ของกิน เครื่องใช้ สามารถหาซื้อได้ ส่วนชีวิตไม่มีขาย หรือให้กู้ยืม นอกจากพ่อแม่ท่านจะมอบให้เท่านั้น เริ่มแต่วันที่ลูกได้เข้าไปปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของท่าน ดังบทกลอนที่ปราชญ์ประพันธ์ไว้ว่า 

"นิทานธรรมะคติสอนใจ : บันทึกรักจากแม่"


"นิทานธรรมะคติสอนใจ : บันทึกรักจากแม่" ... มีคู่รักคู่หนึ่งหลังจากแต่งงานกันมาได้ ๒๐ ปีกว่าๆ วันหนึ่งฝ่ายภรรยาบอกกับสามีว่า ให้ออกไปทานข้าวเย็นและดูหนังกับผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงคนที่ภรรยาอยากให้สามีไปทานข้าวเย็นและดูหนังด้วยนั้น คือ แม่ของสามีเธอเอง ซึ่งเป็นหม้ายมา ๑๐ กว่าปีแล้ว เย็นวันศุกร์หลังเลิกงาน ผู้เป็นสามีขับรถไปรับแม่ที่บ้าน เมื่อไปถึงบ้านแม่ แม่นั่งรอเขาอยู่ในบ้าน โดยสวมชุดที่แม่ใส่ในวันฉลองครบรอบแต่งงานครั้งสุดท้าย แม่พลางยิ้มรับเขาด้วยใบหน้าที่แจ่มใส เขาพาแม่ไปภัตตาคารที่ถึงแม้จะไม่หรูหรา แต่ก็ดีเยี่ยม และบรรยากาศอบอุ่น สบายมากๆ แม่ควงแขนเขาเดินราวกับว่า เป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง เขาอ่านเมนูอาหาร เพราะสายตาของแม่อ่านได้เพียงตัวหนังสือตัวใหญ่ๆ เท่านั้น ตอนที่ลูกยังเล็กนั้น แม่ต้องเป็นคนอ่านเมนูให้ลูกฟัง เขาคุยกับแม่สนุกมากจนไปดูหนังไม่ทัน เมื่อเขาไปส่งแม่ที่บ้าน แม่พูดกับเขาว่า แม่จะออกไปเที่ยวกับลูกอีกนะ หลังจากนั้นไม่นาน แม่เขาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน หลังจากเสร็จงานศพของแม่ เขาได้รับจดหมายพร้อมใบเสร็จจากภัตตาคารที่เขากับแม่เคยไปรับประทานอาหาร โดยมีกระดาษแผ่นเล็กๆ แนบมาด้วย พร้อมข้อความว่า " แม่จ่ายค่าอาหารชุดนี้เรียบร้อยแล้ว รักลูกนะ" ณ วินาทีนั้นเอง เขาจึงได้เข้าใจถึงความสำคัญของการกล่าวคำว่า "รัก" ต่อคนที่เรารักในช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวของเขาเอง ซึ่งประกอบด้วย ภรรยาและลูก
จากเรื่องข้างต้น จะเห็นถึงความรักแท้ของแม่ที่มีต่อลูกได้อย่างชัดเจน ดังนั้น วันแม่ปีนี้ หรือปีไหนๆ หากใครยังไม่เคยกล่าวคำว่า "รักแม่" ก็ควรถือเอาโอกาสวันสำคัญนี้ นำดอกมะลิไปกราบท่านและบอกรักท่านเสียแต่วันนี้ ก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้บอกรักท่าน เพราะเมื่อวันเวลาผ่านไป ชีวิตของแม่ก็เหมือนกับไม้ใกล้ฝั่ง ทำดีกับท่านในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าทำดีในวันที่ท่านจากเราไป แล้ววันแม่ปีนี้ก็จะเป็นวันที่มีค่า และมีความหมายอย่างแท้จริง...

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget