จากพุทธอุทานข้างต้นนี้ให้ข้อคิดว่า ปริมาณของความดีและความชั่วที่ปรากฏในสังคมนี้ สะท้อนถึงสภาพจิตใจของผู้คนในสังคมนั้นด้วย หมายความว่า เวลาใดที่ใจรักดีใฝ่ดี ละอายชั่วกลัวบาป เวลานั้นคนก็พากันทำดี โดยมิต้องบังคับ เพราะใจเป็นบุญกุศล อยากจะทำเอง แต่ยามใดที่ถูก โลภ โกรธ หลง ครอบงำจนหักห้ามใจไม่อยู่แล้ว
การทำดีก็ยาก แต่ทำชั่วจะง่ายกว่า เพราะใจถูก โลภ โกรธ หลง นั้นครอบงำ ความเป็นไปลักษณะนี้ เป็นสัจธรรมที่มีมานานแล้ว ถึงกับมีคำพูดว่า "ทางไปสวรรค์มันรก ทางไปนรกมันเรียบ" อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีความรู้สึกว่าทำดียากลำบาก ก็ไม่ควรท้อแท้จนหยุดการกระทำ เพราะถ้าท้อแท้เมื่อใด ความคิดที่จะทำชั่วก็เข้าแทนที่ได้ เมื่อนั้น ดังพระบรมราโชวาทที่ว่า "การทำดีนั้นทำยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่แล้ว ความชั่วซึ่งทำได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่แล้วจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทันรู้สึกตัว"
การละชั่วทำดีนั้น จัดเป็นการฝึกอย่างหนึ่ง ยิ่งถ้าพบกับความชั่วที่มีพลังมากๆ แล้ว เราสามารถละได้โดยการไม่กระทำตามที่กิเลสเรียกร้อง ก็ยิ่งจะรู้สึกภาคภูมิใจตนเองมากขึ้น เพราะได้ฝึกตนในระดับที่สูง และเมื่อได้ผ่านการหักห้ามใจแบบนั้นบ่อยครั้งเข้า ความดีก็จะมีพลัง การทำชั่วก็จะรู้สึกว่ายาก ส่วนการทำดีก็จะเริ่มง่ายขึ้น นี่้คือพุทธอุทานข้างต้น ซึ่งเป็นสัจธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ... นิทานธรรมะบล็อก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น