แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา

นิทานธรรมะสั้นๆ

นิทานธรรมะ ตอน บูชาบุคคลที่ควรบูชา
      การบูชามี ๒ ประเภท คือ ๑. บูชาด้วยเครื่องสักการะ เรียกอามิสบูชา ๒. บูชาด้วยประพฤติตามคำสอนเรียกปฏิบัติบูชา ทุกคนสามารถจะบูชาได้ทั้งสองอย่างในโอกาสเดียวกัน เช่น ขณะที่บูชาด้วยเครื่องสักการะ ก็ถือเป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติด้วย เพราะนั่นคือการแสดงออกถึงความเป็นคนกตัญญู
      การบูชาบุคคลที่ควรบูชาด้วยอามิสนั้น หากบูชาถูกบุคคลจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ เช่น ในสมัยพุทธกาล มีช่างจัดดอกไม้คนหนึ่ง ชื่อสุมนะ มีหน้าที่ต้องนำดอกมะลิ ๘ ทะนาน ไปถวายพระเจ้าพิมพิสารทุกวัน วันหนึ่ง เขาถือดอกมะลิเดินไปพระราชวัง เห็นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมจำนวนมาก ก็มีจิตเลื่อมใส จึงคิดว่า แม้พระราชาจะทรงประหารหรือจะเนรเทศเราจากเมืองไปก็ตาม เราจะนำดอกมะลินี้ไปบูชาพระพุทธเจ้าให้ได้ จึงยอมสละชีวิตของตน โดยโปรยดอกมะลิทั้งหมดบูชาพระพุทธเจ้า ไม่ได้นำไปถวายพระราชา เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบเรื่องก็ทรงเลื่อมใสในการบูชาของเขา ได้พระราชทานช้าง ม้า ทาส ทาสี และนารีผู้ประดับด้วยเครื่องประดับสวยงามพร้อมเงินทองอีกมากมาย การบูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงมีอานิสงส์มากเช่นนี้ และนี่เป็นเพียงการบูชาด้วยอามิสเท่านั้น หากบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนย่อมจะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่กว่านี้แน่นอน ดังตัวอย่างที่พระอริยสาวกทั้งหลายได้ปฏิบัติบูชาและถึงฝั่งแห่งความพ้นทุกข์มาเป็นจำนวนมากแล้ว
       แต่มีข้อพึงระวังอยู่ว่า การจะเทิดทูนบูชาใครพึงพิจารณาให้รอบคอบด้วย เพราะถ้าบูชาคนผิด จะกลายเป็นยกย่องคนไม่ดี ทำให้ตัวเองพลอยเดือดร้อนหรือเป็นอัปมงคลไปด้วย เพราะการบูชาที่เป็นมงคลต้องเป็นการ "บูชาบุคคลที่ควรบูชา" เท่านั้น ... นิทานธรรมะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget