แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

นิทานธรรมะ ตอน หนี้

นิทานธรรมะคติสอนใจ เรื่อง หนี้

นิทานธรรมะ ตอน หนี้
       เมื่อกล่าาวถึงคำว่า หนี้ ถ้ามองในแง่บุคคล จะประกอบด้วยกลุ่มชน ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายเจ้าหนี้ กับฝ่ายลูกหนี้ และไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม พอเข้ามาสู่ระบบหนี้แล้ว ก็มักจะเกิดความกลัวด้วยกันทั้งนั้น คือ ฝ่ายเจ้าหนี้กลัวว่าจะถูกโกง ฝ่ายลูกหนี้กลัวจะหาเงินมาใช้คืนไม่ทันกำหนด กลัวถูกทวง จึงเกิดความทุกข์ใจว่า ยืมเขามาใช้ประเดี๋ยวก็หมด แต่เวลาใช้คืนกว่าจะหมด ช่างนานจริงๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว วันเวลาก็คงดำเนินไปเป็นปกติ แต่ทีผิดปกติ ก็คือ ความรู้สึกของลูกหนี้ต่างหาก
        กล่าวโดยภาพรวม อาจจะแบ่งหนี้ออกเป็น ๒ ประเภท คือ หนี้สิน กับหนี้กรรม
       หนี้สิน ได้แก่ทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ที่เรียกว่า เจ้าหนี้ และผู้รับที่เรียกว่า ลูกหนี้ และลูกหนี้จะต้องใช้หนี้ หรือตอบแทนให้เหมาะสม กับสภาพความเป็นหนี้ จึงจะเป็นไทแก่ตัวเอง แต่ถ้าใช้หนี้ไม่หมด ด้วยความจงใจก็ดี ด้วยความพลั้งเผลอก็ดี จะแปรสภาพไปเป็นหนี้ประเภทที่ ๒ คือ หนี้กรรม หรือภาษาพระท่าน เรียกว่า เศษกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตาม ที่ผู้ทำยังปลดเปลี้องหรือรับผล ของการกระทำนั้นไม่หมด หรือไม่เสร็จสิ้น ยังเหลือเศษที่จะคอยตามให้ผล ตามเก็บหนี้ข้ามภพข้ามชาติ จนกว่าจะหมด ไม่มีทางที่จะหลบหลีกได้ ดังมีคำกลอนเตือนใจว่า

จะซ่อนตัวในกลีบเมฆกลางเวหา
ซ่อนกายากลางสมุทรสุดวิสัย
จะซ่อนตัวในภูเขาลำเนาไพร
ณ ถิ่นใดพ้นกรรมนั้นไม่มี
        คนเราเกิดมาล้วนเป็นหนี้ด้วยกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บุญคุณหรือเป็นหนี้สิน เพราะไปยืมเขามา ข้อสำคัญอยู่ตรงที่ว่าต้องรีบขวนขวายใช้หนี้เสียให้หมด อย่าปล่อยให้เป็นหนี้กรรม ตามรบกวนใจให้ทุกข์ ทั้งนี้เพราะพระท่านว่า อิณาทานัง ทุกขัง โลเก การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก แต่การไม่ก่อนหนี้ยืมสินนั่นแหละ นับว่าเป็นสุขที่สุดในโลก ... นิทานธรรมะสั้นๆ อ่านแล้วให้คติสอนใจ กับ นิทานธรรมะบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget