ตัวอย่างที่ ๑ มีแก้ว ๑ ใบ มีน้ำเหลืออยู่ในแก้วครึ่งหนึง คนที่ต้องการดื่มน้ำคนแรกมองเห็นแต่ในแง่ลบด้วยความโลภว่า "มีน้ำเหลืออยู่แค่ครึ่งแก้ว คงไม่พอสำหรับดื่มดับกระหาย" แต่อีกคนหนึ่งกลับมองในแง่บวกด้วยความมักน้อยสันโดษว่า "มีน้ำเหลืออยู่ตั้งครึ่งแก้ว น่าจะเพียงพอสำหรับดื่มดับกระหายได้"
ตัวอย่างที่ ๒ ในใบลสิปจ่ายเงินเดือนลูกจ้างบริษัทแห่งหนึ่ง ๒ คน แจ้งยอดเงินรายได้รวมจำนวน ๓ แสนบาท และเงินภาษีรวมหักถึงเดือนปัจจุบันจำนวน ๘ พันกว่าบาทเท่ากัน ลูกจ้างคนมองแต่ในแง่ความเสียดายและเห็นแก่ตัว ว่าถูกหักภาษีรวมเป็นเงินถึง ๘ พันบาท แต่ลูกจ้างอีกคนกลับมองในแง่ดี ด้วยความภูมิอกภูมิใจ ด้วยคิดว่า แค่ถึงเดือนปัจจุบันนี้ เรากลับมีรายได้รวมถึง ๓ แสนบาท
ตัวอย่างที่ ๓ พนักงานขายจาก ๒ บริษัท ได้ถูกส่งไปเปิดตลาดรองเท้าที่ประเทศแอฟริกา พร้อมๆ กัน คนแรกเห็นคนพื้นเมืองแอฟริกาไม่ใส่รองเท้าเลยแม้แต่คนเดียว จึงรีบโทรศัพท์รายงานบริษัทด้วยน้ำเสียงท้อแท้สิ้นหวังว่า "อย่าส่งรองเท้ามาขายที่นี่ เพราะคนแอฟริกาไม่นิยมใส่รองเท้า" แต่อีกคนกลับรีบโทรศัพท์รายงานบริษัท
อย่างดีใจเปี่ยมด้วยความหวังว่า "ให้รีบส่งรองเท้ามาทันที เพราะคนที่แอฟริกาไม่มีรองเท้าใส่"
จากเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างเหล่านี้ ชี้ให้เห็นสัจธรรมชีวิตว่า ทุกคนมีปัญหาและในทุกปัญหา ถ้าหากใช้ปัญญาก็มีโอกาสที่จะแก้ไขปัญหาได้เหมือนกัน ต่างกันแต่เพียงว่า "คนโง่เขลามักมองเห็นปัญหาในทุกโอกาส แต่คนฉลาดมักมองเห็นโอกาสในทุกปัญหา" เท่านั้น
...ติดตามอ่าน นิทานธรรมะ ในแบบนิทานสั้นๆ ให้แง่คิดในการดำเนินชีวิต อ่าน นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น