แนะนำ! บทความธรรมะอ่านมากที่สุดตอนนี้

นิทานธรรมะ ตอน เรือเร่

นิทานสั้น เรือง เรือเร่

นิทานธรรมะ ตอน เรือเร่
      สมัยก่อน พ่อค้าที่ค้าขายทางเรือจะนำสินค้าของตนบรรทุกเรือขึ้นล่องไปตามแม่น้ำลำคลองเพื่อค้าขายยังสถานที่ต่าง ๆ เป็นสัปดาห์ หรือเป็นเดือน ๆ จึงกลับบ้านสักครั้งหนึ่ง บางครั้งก็ไปพร้อมกันหลาย ๆ ลำเป็นหมู่คณะ พอพลบค่ำก็จอดพักแรมตามสถานที่นั้น ๆ จัดแจงหาก้อนหินหรือก้อนดินมาทำเป็นก้อนเส้า จุดไฟหุงต้มอาหาร กินอยู่หลับนอนและขับถ่ายกันบริเวณนั้น ครั้นรุ่งเช้าก็ล่องเรือต่อไป ทิ้งให้สถานที่ที่พักแรมสกปรกรุงรังไปด้วยก้อนเส้า เศษไม้ เศษฟืน เศษอาหาร รวมทั้งสิ่งปฏิกูลอื่น ๆ เจ้าของสถานที่ หรือผู้ที่ผ่านมาพบเห็นก็รังเกียจระอา จนกลายเป็นที่เข้าใจทั่วกันว่าพวกเรือเร่ก็เป็นอย่างนี้ ทั้งที่พ่อค้าเรือเร่ที่ดี ๆ ก็คงจะมีอยู่บ้าง

        โลกก็เป็นเหมือนที่พักแรมชั่วคราวซึ่งใช้เป็นสถานที่ประกอบการของชีวิต คนที่มาสู่โลกนี้บางคนก็ได้กำไร เพราะใช้โลกนี้เป็นเวทีสร้างความดีแก่ตน มีน้ำใจสงเคราะห์ผู้อื่น ทำโลกให้น่าอยู่และงดงามสำหรับคนรุ่นหลัง บางคนก็เสมอตัวแค่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่บางคนก็สร้างความเดือดร้อนเสียหายทิ้งไว้ให้เป็นส่วนใหญ่ เป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย

นิทานธรรมะ ตอน อานุภาพแห่งรัก

นิทานสั้น เรื่อง อานุภาพแห่งรัก

"นิทานธรรมะ ตอน อานุภาพแห่งรัก"
       มีเรื่องเล่าว่า หญิงคนหนึ่ง ระหว่างที่เดินทางกลับบ้านได้พบชายสามคนกำลังหิวจัด เธอจึงชวนเข้าไปในบ้านเพื่อรับประทานอาหารพร้อมกัน แต่ชายทั้ง ๓ กลับบอกว่าไม่สามารถเข้าบ้านพร้อมกันได้ เธอจึงเข้าไปปรึกษากับคนในบ้าน ปรากฏว่าสามีต้องการเชิญนายมั่งคั่งเข้าบ้านก่อน ส่วนเธอต้องการเชิญนายสำเร็จ ขณะที่ลูกสะใภ้ต้องการเชิญนายรัก ในที่สุดทั้ง ๓ คน ก็เลือกเชิญนายรักเข้าบ้าน แต่พอเชิญนายรักเข้ามา นายมั่งคั่งกับนายสำเร็จก็ลุกขึ้นตามเข้าไปในบ้านด้วย เธอจึงถามเหตุผล ชายสามคนตอบพร้อมกันว่า “ถ้าคุณเชิญนายมั่งคั่งหรือนายสำเร็จคนใดคนหนึ่ง อีกสองคนที่เหลือก็จะอยู่นอกบ้าน แต่เมื่อเลือกเชิญนายรักเข้ามา นายมั่งคั่งและนายสำเร็จก็จะติดตามไปด้วยเสมอและจะติดตามไปทุกที่ที่มีความรัก”

        เรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องเล่า แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติสอนใจ เพราะในบรรดาความมั่งคั่ง ความสำเร็จ และความรักนั้น ความรักเป็นบ่อเกิดแห่งพลังที่สามารถนำไปใช้ในภารกิจทุกอย่างแม้แต่การแสวงหาและรักษาความมั่งคั่งและความสำเร็จนั้นเอง ความรักทำให้คนมีความมานะพยายาม ทำให้เกิดความอดทน และทำให้บุคคลทำงานได้อย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ยิ่งถ้าเป็นความรักประเภทกุศลฉันทะ คือรักดีใฝ่ดี รักความเจริญก้าวหน้า อยากพัฒนาอยากช่วยเหลือบุคคลอื่นด้วยแล้ว ก็ยิ่งช่วยให้ทำงานได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าใครจะรู้เห็นหรือให้รางวัลตอบแทนในการกระทำของตน และความรักประเภทกุศลฉันทะนี้แหละเป็นความรักที่ทรงพลังสูงสุด

ข้อคิดธรรมะ เรื่อง อย่าแค่ทำตาม

นิทานธรรมะ เรื่อง อย่าแค่ทำตาม

ข้อคิดธรรมะ เรื่อง อย่าแค่ทำตาม.... วินัยสงฆ์ข้อหนึ่งกำหนดไว้ว่า ภิกษุมีบาตรร้าวยังไม่ถึงสิบนิ้ว ขอบาตรใหม่จากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ปวารณา ได้มา ต้องอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ทำให้พระเถระรูปหนึ่ง พอฉันเสร็จ ล้างและเช็ดบาตรจนสะอาดดีแล้วก็ยกขึ้นส่องกับแสงตะวันเพื่อตรวจดูรอยร้าวที่มีอยู่ว่าขยายไปถึงสิบนิ้วหรือยัง เมื่อยังไม่ถึง วันต่อ ๆ มาก็ปฏิบัติเช่นนั้นไปเรื่อย ๆ ฝ่ายพระหนุ่ม เณรน้อย เห็นพระเถระผู้เป็นหัวหน้าปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ทุกวันก็ไม่มีใครคิดจะถามไถ่ แต่พากันเข้าใจเอาเองว่าเมื่อพระเณรฉันเสร็จจะต้องมีการยกบาตรขึ้นส่องจึงจะถูกต้อง จึงพากันยกบาตรขึ้นส่องเป็นทิวแถวจนเป็นที่มาของคำว่า "เถรส่องบาตร"

        การทำแบบตาม ๆ กันไปนี้ เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของคนเพราะสะดวกกว่าการต้องใช้ความคิด แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่มากเพราะไม่รู้ที่มาที่ไป ถ้าตามผิดก็เหมือนเดินตามหลัง คนที่กำลังเดินผิดทางอยู่ หรือต่อให้ตามถูกมาตั้งแต่ต้นก็ไม่มีอะไรรับประกันว่าจะถูกตลอดไป เพราะงานทุกอย่างทุกเรื่อง มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และสถานการณ์เสมอ คำพูดที่ว่า เขาบอกไว้อย่างนี้ เขาทำมาอย่างนี้ จึงไม่อาจใช้ตัดสินผิดถูกอะไรได้

นิทานธรรมะ เรื่อง ชายผ่าฟืน

#นิทานสั้น เรื่อง ชายผ่าฟืน

นิทานธรรมะ เรื่อง ชายผ่าฟืน นิทานธรรมะสั้นๆ อ่านเพื่อความสนุก หรืออ่านเพื่นเป็นนิทานธรรมะสอนใจสั้นๆ ประจำวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ กับนิทานธรรมะ เรื่อง ชายผ่าฟืน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ติดตามได้ ณ บัดนี้

     ชายคนหนึ่งก้มหน้าก้มตาผ่าฟืนอยู่อย่างขะมักเขม้น พอเวลาถึงเที่ยงวัน ก็เก็บฟืนที่ผ่าทิ้งไว้นั้นโยนกองไว้อีกด้านหนึ่งแล้วเข้าไปรับประทานอาหารกลางวันในบ้าน ครั้นถึงตอนบ่ายก็ออกมาเพื่อจะผ่าฟืนต่อ แต่ปรากฏว่าขวานของเขาได้อันตรธานไปเสียแล้ว แม้จะค้นหาจนทั่วบริเวณก็ไม่พบร่องรอย ในที่สุด ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ก่อนที่จะหยุดพักกลางวัน มีเด็กหนุ่มคนหนึ่งเดินผ่านไป ขณะเดินผ่านก็เหลือบมองมาด้วยลักษณะมีพิรุธ ทั้งอากัปกิริยาก็ดูหลุกหลิกผิดจากคนธรรมดา สายตาที่ชำเลืองมองมาในตอนนั้นก็เห็นได้ชัดว่าส่อเลศนัย จะต้องเป็นเด็กหนุ่มคนนั้นแน่ที่ขโมยไป เพราะไม่มีใครอื่นย่างกรายเข้ามาบริเวณนี้เลย ยิ่งคิดก็ยิ่งเห็นภาพ ยิ่งเห็นภาพก็ยิ่งเจ็บใจ เมื่อเห็นว่าไม่มีทางจะทำอะไรต่อไปได้ ก็ลงมือขนฟืนที่ผ่ากองสุมไว้เข้าไปเก็บยังใต้ถุนบ้าน พอขนไปใกล้จะหมด ก็พบว่าขวานที่ตนหาอยู่นั้นได้ถูกฟืนสุมทับอยู่ตรงนั้นเอง ไม่ได้หายไปไหน เขาดีใจมาก พร้อมกับตำหนิตัวเองที่วาดภาพเป็นตุเป็นตะ และเกิดความรู้สึกใหม่ขึ้นมาว่า ความจริงเด็กหนุ่มคนนั้นก็ไม่มีอะไรผิดปกติสักนิด ที่ว่าท่าทางหลุกหลิกนั้นดูจริง ๆ ก็ไม่เห็นมีอะไร สายตาที่ว่าไม่น่าไว้ใจนั้นพอพิจารณาให้ดีก็เป็นสายตาแบบธรรมดา ๆ นี่เอง

นิทานธรรมะ เรื่อง หัวใจพระอินทร์

นิทานสั้น เรื่อง หัวใจพระอินทร์

"นิทานธรรมะ" ประจำวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง หัวใจพระอินทร์
      ตำนานทางพุทธศาสนาได้กล่าวถึงพระอินทร์ไว้ว่า เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ เป็นคนใจบุญ ชอบชักชวนเพื่อน ๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่ส่วนรวมไว้มาก เช่น สร้างศาลาให้คนพัก สร้างถนนหนทาง ให้คนสัญจรไปมา เป็นต้น นอกจากนั้นได้สมาทานปฏิบัติตนอยู่ในหลักความดี ๗ ประการตลอดชีวิต ครั้นเมื่อตายจากโลกมนุษย์ไปแล้ว จึงได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ซึ่งเป็นเทพที่มีศักดิ์ใหญ่กว่าเทพทั้งหลาย ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
       หลักความดี ๗ ประการที่ปฏิบัติแล้วทำให้คนเป็นพระอินทร์นั้น ประกอบด้วย
๑. เลี้ยงดูบิดามารดาให้เป็นสุข
๒. เคารพนับถือผู้ใหญ่ในตระกูล
๓. พูดอ่อนหวาน ไม่หยาบคาย
๔. ไม่พูดส่อเสียดทำลายสามัคคี
๕. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชอบแบ่งปัน
๖. พูดคำจริงไม่พูดเท็จ
๗. ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ เรื่อง เหลือแต่ตัว"

นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ สั้นๆ เรื่อง เหลือแต่ตัว

"นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ เรื่อง เหลือแต่ตัว"... มีเรื่องเล่าว่า พ่อค้าคนหนึ่ง ได้เช่าลาเพื่อบรรทุกสินค้าไปขายยังต่างเมือง ขณะที่รอนแรมมากลางแดดที่ร้อนจัด เขาและเจ้าของลาที่มาด้วยจึงหยุดลาแล้วก็อาศัยเงาของลานั้นเป็นที่กำบังแดด สักครู่หนึ่งผู้เช่าลาก็กล่าวว่า “ท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะอาศัยร่มเงาของลาตัวนี้ เพราะเราได้เช่ามาเสียเงินให้ท่านแล้ว จงออกไปเสีย เราจะบังเงาลาคนเดียว” ฝ่ายเจ้าของลาก็แย้งขึ้นว่า “ท่านเช่าแต่ตัวลาต่างหาก ไม่ได้เช่าเงาของลา ถ้าเช่าหมดทั้งตัวและเงา ค่าเช่าจะต้องสูงกว่านี้ ดังนั้น เงาของลาจึงยังเป็นของเรา ท่านต่างหากที่จะต้องออกไปให้พ้น” ทั้งสองฝ่ายถกเถียงกันรุนแรงขึ้น สุดท้ายก็ชกต่อยกัน ลาซึ่งยืนอยู่ในที่นั้นก็พลอยถูกลูกหลงจากการวิวาทกันของพวกเขา มันจึงวิ่งหนีไป ทิ้งคนทั้งสองไว้กลางแดดนั่นเอง

        นิทาน ธรรมะ คติ สอน ใจ เรื่องนี้สอนว่า คนเห็นแก่ตัวในที่สุดอาจจะเหลือแต่ตัวได้ ดังคำที่ว่า
บริวารมาเพราะน้ำใจมี 
บริวารหนีเพราะน้ำใจลด 
บริวารหมดเพราะน้ำใจแห้ง 

นิทานธรรมะ เรื่อง คุณสมบัติผู้ดี

ธรรมะคติสอนใจ เรื่อง คุณสมบัติของผู้ดี

นิทานธรรมะ เรื่อง คุณสมบัติผู้ดี
เหตุจากละคร ไม่ว่าจะเป็นละครก่อนข่าว หรือละครหลังข่าว นิทานธรรมะจึงถือโอกาสนี้ ขออนุญาตนำเสนอและบอกเล่าเรื่อง "คุณสมบัติของผู้ดี" เชื่อว่าคอละคร คงคุ้นหูกันประจำ กับฉากที่ตัวร้ายชอบพูดกับนางเอก ประมาณว่า "ไม่มีคุณสมบัติของผู้ดี" ให้รีบออกไปจากบ้านฉัน หรือ "ไม่รู้สมบัติของผู้ดี" อย่ามาตีตัวเสมอกับฉัน อะไรประมาณนี้ นิทานธรรมะบล็อก จะแนะนำ บอกกล่าวให้พุทธศาสนิกชนทุกท่านให้ทราบว่า คุณสมบัติของผู้ดี จริงๆ แล้วต้องมีอะไรบ้าง และถ้าถามว่า "ผู้ดีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ?" คำตอบอาจไม่ตรงกัน เช่น บางคนอาจเล็งไปถึงชาติตระกูล บางคนอาจเห็นว่าต้องมีความรู้ดี มีมรรยาทดี เป็นต้น แต่...สำหรับในทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึง "คุณสมบัติของคนดี(ผู้ดี)" ที่ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ ไว้ครบถ้วน ซึ่งเรียกว่า "สัปปุริสธรรม" ๗ ประการ ได้แก่

       ๑. รู้จักเหตุ คือ รู้ว่าเมื่อทำเหตุเช่นนี้ย่อมได้รับผลอย่างนี้ เมื่อเห็นชัดอย่างนั้นแล้ว ก็เว้นเหตุชั่ว ประกอบแต่เหตุที่จะส่งผลดีเท่านั้น

       ๒. รู้จักผล คือ รู้ว่าผลที่ได้รับอย่างนี้มาจากสาเหตุนี้ แล้วยินดีรับผลเท่าที่ประกอบเหตุไว้ หรือเมื่อได้รับผลชั่วก็ไม่โวยวาย เข้าใจในสิ่งที่ผิดพลาดและยินดีที่จะแก้ไข

นิทานธรรมะ เรื่อง เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 3 ความดุร้าย

นิทานธรรมะคติสอนใจ ตอน ความดุร้าย

อ่านนิทานธรรมะ นิทานสั้นเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี เพราะไม่ใช่แค่นิทานสั้นๆ ให้ความสนุก แต่ยังให้ข้อคิด มีคติธรรมคำสอน ตามแนวทางแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับได้ว่า เป็นนิทานธรรมะคติสอนใจ นิทานธรรมะสั้น อ่านแล้วให้ความเพลิดเพลิน อ่านตอนไหนก็สนุก อ่านตอนไหนก็เพลิน  ทั้งหมดนี้มีใน นิทานธรรมะ และสำหรับวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๗ นิทานธรรมะบล็อก นำเสนอเรื่อง เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 3 ความดุร้าย
      เหตุแห่งความพินาศข้อที่ ๓ คือ จัณฑิกะ แปลว่า ความดุร้าย หมายถึง ความมีจิตใจเหี้ยมโหด ชอบทำร้ายผู้อื่น ชอบเห็นความพินาศฉิบหายของผู้อื่น ชอบทำให้ผู้อื่น เจ็บปวดทุกข์ระทม ชอบบีบคั้น บังคับเคี่ยวเข็ญ ให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เหล่านี้เป็นต้น คือลักษณะของความดุร้าย คนดุร้ายไม่จำเป็นต้องมีลักษณะเกรี้ยวกราด โผงผาง มีกิริยาวาจาดุดัน ตึงตัง โครมคราม เสมอไป คนดุร้ายอาจมี กิริยาเรียบร้อย พูดจาสุภาพนิ่มนวล หากแต่ว่าในใจเต็มไปด้วยความเหี้ยมโหด จ้องแต่จะทำความพินาศ เดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นเสมอ เข้าลักษณะปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ ส่วนคนที่มีลักษณะโผงผางตึงตัง บางคนอาจเป็นคนใจดีมีเมตตา เข้าทำนองที่ว่า ปากร้ายใจดี
      ความดุร้ายนั้น ย่อมไม่มีใครชอบ คนดุร้ายอยู่ที่ไหน ย่อมทำความหวาดหวั่นพรั่นพรึง ให้แก่ที่นั่น คนดุร้ายเข้าที่ไหน ที่นั่นก็หมดความสงบสุข ความดุร้าย แผ่อำนาจไปถึงไหน ความพินาศฉิบหาย ก็มีไปถึงนั่น คนดุร้ายนั้น เป็นนายก็ทำความพินาศให้แก่ลูกน้อง เป็นลูกน้อง ก็ทำความเดือดร้อน และความพินาศให้แก่นาย และแม้ไม่มีใครหรือสิ่งใดที่จะทำให้พินาศได้อีกแล้ว ในที่สุดคนดุร้าย นั้นก็ย่อมจะทำความพินาศให้แก่ตัวเองนั่นเอง ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว ความดุร้ายนั้น ย่อมทำความพินาศ ให้แก่ตัวเจ้าของ ความดุร้ายนั้น นั่นเอง ก่อนที่จะทำความพินาศให้แก่ผู้อื่น เช่นเดียวกับ ลูกระเบิดที่ต้องทำลายตัวเอง ก่อนที่จะทำลายสิ่งอื่น ความดุร้ายจึงเป็นเหตุแห่งความพินาศ ด้วยประการฉะนี้
      คุณธรรมที่จะแก้ความดุร้าย คือ

นิทานธรรมะ เรื่อง ตายเพราะปาก

นิทานธรรมะคติสอนใจ ตอน ตายเพราะปาก

[นิทานธรรมะ] ประจำวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง ตายเพราะปาก ... นานมาแล้ว ณ ตำบลหนึ่งในจังหวัดตาก มีชายคนหนึ่งชื่อลุงดำ ลุงดำมีความสามารถในการต้มเหล้าเถื่อน ซึ่งรสชาติที่แกทำเป็นที่ถูกอกถูกใจของชาวบ้านละแวกนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ใหญ่บ้านต่างจ้องที่จะจับแก แต่ยังไม่มีหลักฐานที่มากพอ จะจับแกได้ เพราะแกหาทางซ่อนหลักฐาน หลบหลีกได้ทุกครั้งไป ด้วยเหตุนี้ ลุงดำจึงดำรงชีพ ด้วยการต้มเหล้าเถื่อนเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นงานศพ หรืองานมงคล ลุงดำจะเข้าไปร่วมด้วยทุกครั้ง
  ครั้งหนึ่งเป็นวันบวชของหลานเพื่อนบ้าน ลุงดำเมามาช่วยงานแต่เช้า แต่แปลกที่ถึงแม้จะเมาก็ไม่เอ่ยถึงเหล้าที่แกต้ม ไม่มีใครรู้ว่าแกซ่อนเหล้า ไว้ที่ไหน แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจเคยสะกดรอยตามไปถึงบ้านก็ยังไม่รู้
  ผู้ใหญ่บ้านแนะนำให้ลุงดำรู้จักกับหลานชายแก ซึ่งมาจากกรุงเทพ ทั้งสองคุยกันถูกคอ เนื่องจากลุงดำพูดอะไร หลานชายคนนี้ก็ไม่ขัดคอ ชายหนุ่มเอ่ยถามว่า
"เขาลือกันว่า ลุงต้มเหล้าได้เก่ง แถมรสชาติยังดีอีกด้วย"
"ไม่ใช่ข่าวลือหรอกพ่อหนุ่ม" ลุงดำตอบอย่างภาคภูมิใจ
"ฉันมีอะไรอยากถามลุงซักหน่อย" ชายหนุ่มเอ่ยปาก
"ได้ซิหลานชาย ถามหลายอย่างก็ได้"
"ลุงต้มเหล้าเถื่อนอย่างนี้ไม่กลัวตำรวจจับบ้างหรือ"
"ลุงไม่กลัวหรอก ลุงทำมานานแล้ว ไม่มีใครจับได้"
"ลุงเก่งมากเลย ซ่อนเหล้าได้อย่างมิดชิด ไม่มีใครหาเจอ"
"การหากินแบบนี้มันต้องมีไหวพริบ หาทางหนีทีไล่ ไม่งั้นติดคุกหัวโตแน่"
"ฉันอยากเห็นกับตาว่าลุงทำยังไง ได้ยินแต่ข่าวที่ชาวบ้านเขาลือกัน"
"หลานชาย เรื่องแบบนี้อย่าไปเชื่อใครเขาง่ายๆ ถ้าไม่เห็นกับตาตัวเอง" แล้วแกก็พูดโอ้อวดเสียงอ้อแอ้ว่า
"หลานชายพูดถูกใจลุงมาก งานบวชเสร็จแล้วไปดูที่บ้านลุง ว่าเหล้าที่ลุงทำ เหมือนที่พ่อหนุ่มเคยกินมาหรือเปล่า"
"จะดีหรอ ถ้าตำรวจรู้เข้าจะเดือดร้อนถึงลุง"

นิทานธรรมะ เรื่อง เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 2 ความเกียจคร้าน

นิทานธรรมะ เรื่อง ความเกียนคร้าน

"นิทานธรรมะ" เรื่อง เหตุแห่งความพินาศ ข้อที่ 2 ความเกียจคร้าน... เหตุแห่งความพินาศข้อที่ ๒ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ คือ โกสัชชะ แปลว่า ความเกียจคร้าน หรือมักพูดกันว่าขี้เกียจ ลักษณะของ ความเกียจคร้าน ก็คือการไม่อยากทำอะไรทั้งนั้น โดยเฉพาะงาน ตามหน้าที่ และงานที่ควรทำ หรือต้องทำ เหตุผลที่คนเกียจคร้าน มักจะอ้าง ในการที่จะไม่ทำงาน ท่านว่ามักไม่ค่อยพ้นเรื่อง ๓ ประเภท คือ
     อ้างลมฟ้าอากาศ เช่น อ้างว่าหนาวจะตาย ร้อนจะตาย
    อ้างเวลา เช่นตอนนี้ ยังไม่ถึงเวลางาน วันนี้หมดเวลาแล้ว
   และ อ้างเรื่องกิน เช่น ตอนนี้กำลังหิว ขอกินก่อน ครั้นกินอิ่มแล้ว ก็อ้างต่อไปว่า ตอนนี้กำลังอิ่มอยู่ รอให้ข้าว เรียงเม็ดก่อน
    สรุปว่า คนขี้เกียจสามารถยกเหตุมาอ้างได้ทุกเรื่อง เพื่อที่จะไม่ต้องทำงาน นักปราชญ์ท่านว่า ค่าของคนนั้น อยู่ที่การงาน ดังคำกล่าวที่ว่า "ค่าของคน อยู่ที่ผลของงาน" คนที่ไม่ทำอะไรเลย เพราะความเกียจคร้าน ก็คือคนที่ไม่มีค่าอะไรเลยนั่นเอง คนที่มีความรู้สูงๆ มีความสามารถ มีฝีมือดีในการทำงาน แต่ถ้าขี้เกียจเสียแล้ว ก็หมดซึ่งคุณค่าและกลายเป็นคนไร้ค่าทันที ยิ่งถ้าเป็นคนขี้เกียจ มาแต่ต้นด้วยแล้ว การที่จะมีความรู้   มีความสามารถ ก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึงเลยทีเดียว ผู้รู้จึงกล่าวว่า "เกียจคร้าน ก็หาวิชาความรู้ไม่ได้ ไร้วิชาก็หาทรัพย์ไม่ได้ ไร้ทรัพย์ก็หาเพื่อนได้ยาก ไร้เพื่อนก็หาความสุขได้ยาก"   ชีวิตที่ไร้สุข ก็คือชีวิตที่ล้มเหลว นับเป็นความพินาศอย่างร้ายแรง ความเกียจคร้าน จึงเป็นเหตุแห่งความพินาศ ด้วยประการฉะนี้
      ความขี้เกียจนั้น เนื้อแท้ก็คืออาการ ที่ใจไม่สู้   ใจไม่ถึง ใจไม่กล้า ที่จะเผชิญกับ ความลำบาก ความเหน็ดเหนื่อย และความไม่สุขสบาย ในการที่จะต้องทำงาน หรือทำหน้าที่ต่าง ๆ คุณธรรมที่จะปราบ ความเกียจคร้านได้ ก็คือ วิริยะ หรือความขยันหมั่นเพียร คำว่า วิริยะ เป็นคำเดียวกับ วีระ ที่แปล ว่ากล้าหาญ ไม่กลัวอะไร คนที่มีวิริยะ จะไม่กลัวลมฟ้าอากาศ ไม่หลีกเลี่ยง วันเวลา และไม่คำนึงถึงว่า ท้องจะหิว จะอิ่ม สรุปว่า คนขยันหมั่นเพียร จะกล้าเผชิญ อุปสรรคทุกชนิด โดยไม่หวาดหวั่น นั่นคือหนทาง แห่งความสำเร็จในชีวิต
      ถ้าคนเราประพฤติตน เป็นคนเกียจคร้าน จะต้องพบกับ ความพินาศนานัปการ ตรงกันข้ามถ้ามี วิริยะ คือ ความขยัน หมั่นเพียร ก็จะประสบความสำเร็จในชีวิต สมความปรารถนาอย่างแน่นอน

อ่านนิทานธรรมะ นิทานเด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี เพราะเป็นนิทานธรรมะคติสอนใจ นิทานในแบบนิทานสั้น อ่านให้ความเพลิดเพลิน อ่านตอนเช้า อ่านตอนเทียง อ่านตอนเย็น หรือจะอ่านเป็นนิทานก่อนนอนก็ตามใจ  ทั้งหมดนี้มีใน นิทานธรรมะ

นิทานธรรมะ เรื่อง ผิดทาง

นิทานธรรมะสอนใจ เรื่อง ผิดทาง
  "นิทานธรรมะประจำวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง ผิดทาง" ... มีเรื่องเล่าว่า ชาวจีนคนหนึ่ง ต้องการจะเดินทางจากจงหยวนไปยังรัฐฉู่ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ แต่เขากลับนั่งรถม้ามุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ระหว่างทางมีผู้หวังดีบอกว่า รัฐฉู่อยู่ทางทิศใต้ เขากลับตอบว่า ไม่เป็นไร ม้าของข้าพเจ้า ฝีเท้าจัด ข้าพเจ้ามีเงินค่าเดินทางเยอะ และคนขับรถม้าของข้าพเจ้ามีความชำนาญมาก แล้วไม่ยอมฟังคำท้วงติงใด ๆ ไม่มองความผิดพลาดของตนเอง ยังคงมุ่งหน้าไปตามทิศทางที่ผิดต่อไป ในที่สุด กลายเป็นว่าม้าของเขายิ่งวิ่งดีเท่าไร เงินค่าเดินทางของเขายิ่งมากเท่าไร และคนขับรถม้าของเขายิ่งชำนาญเท่าไร เขาก็ยิ่งเดินทางห่างรัฐฉู่ออกไปมากเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความคิดที่ผิดแท้ ๆ

        รัฐฉู่ในเรื่องนี้ ขอเปรียบกับความสุขของคน อันประกอบด้วย ความมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ความสงบร่มเย็นในชีวิตครอบครัว และความสำเร็จในอาชีพการงาน ตลอดถึงความมั่งมีศรีสุขในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นยอดปรารถนาของคนทั้งหลาย แต่ความจริงในสังคมปัจจุบัน กลับปรากฏว่ายังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ดำเนินชีวิตสวนทางกับสิ่งที่ตนปรารถนานั้น เช่น อยากมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ แต่กลับสูบบุหรี่ ดื่มสุรา หรือเที่ยวเตร่หามรุ่งหามค่ำ อยากมีความสงบราบรื่นในครอบครัว และความสำเร็จในชีวิต แต่กลับไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบครัว เกียจคร้านการทำงาน เล่นการพนัน และติดพันมิตรชั่ว เป็นต้น ที่สำคัญ ถึงจะมีผู้ปรารถนาดีคอยแนะนำบอกทางที่ถูกให้ก็ไม่เชื่อฟัง ในที่สุดก็ไม่ต่างอะไรกับการเดินผิดทิศผิดทางของชาวจีนคนนั้น

"งดเหล้าเข้าพรรษา : ข้อคิดธรรมะ"

นิทานธรรมะ ตอน งดเหล้าเข้าพรรษา

ข้อคิดธรรมะ ตอน งดเหล้าเข้าพรรษา
      วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์ตั้งใจกำหนดลงไปว่า จะจำพรรษาอยู่ ณ วัดหรือที่ใดที่หนึ่งตามพุทธานุญาตตลอดไตรมาส โดยมีคำอธิษฐานซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า "ข้าพเจ้าเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ในวัดนี้" การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ คือ ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้ การอธิษฐานอยู่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์นั้น ชาวพุทธสามารถนำมาอธิษฐานจิตคิดทำความดี ในเทศกาลเข้าพรรษาได้เช่นกัน เช่น การถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม เจริญจิตภาวนาที่เคยปฏิบัติมาแล้วให้มากยิ่งกว่าเดิม หรืออธิษฐานจิตคิด ลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดื่มสุราอันเป็นเหตุให้เกิดความประมาท ทำให้สูญเสียชีวิตทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งต้องมีการรณรงค์ในโครงการ "เมาไม่ขับ" และใช้มาตรการคุมเข้มในการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ยานยนต์อย่างจริงจัง แต่เนื่องจากยังไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร คนยังไม่งดดื่มเหล้า แม้เมายังฝืนขับขี่ยานยนต์ จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมากทุกปี

       ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา การอธิษฐานใจเพื่อ ลด ละ เลิก การดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษา น่าจะมีผลดี คือช่วยลดการสูญเสียดังกล่าวได้ ทั้งนี้เพราะช่วงเข้าพรรษา ชาวพุทธส่วนหนึ่งนิยมบวชลูกหลานตามจารีตประเพณี ทำให้มีการงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย ผู้ที่เป็นพ่อแม่ญาติพี่น้องก็พลอยได้อาศัยใบบุญลูกหลานเข้าวัดทำบุญ หรืออธิษฐานงดเว้นอบายมุขตลอด ๓ เดือน จึงเป็นระยะเวลาลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี

ข้อคิดธรรมะ เรื่อง รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้

นิทานธรรมะ รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้

++รู้เท่าเอาไว้กัน รู้ทันเอาไว้แก้ ข้อคิดธรรมะเพื่อเป็นคติสอนใจ++
ประจำวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘

      เป็นที่ยอมรับกันว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่มีการพัฒนาและเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เช่น โทรศัพท์มือถือ นอกจากจะใช้สำหรับโทรออกและรับสายเข้าแล้ว ปัจจุบันนี้ ยังมีการพัฒนาให้สามารถถ่ายรูปได้ เล่นอินเตอร์เน็ต เล่นเกมส์ และอื่นๆ อีกมากมาย และด้วยเหตุผลที่มีความสามารถหลากหลาย จึงส่งผลให้มีราคาสูงขึ้น และทำให้ผู้บริโภคต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะนอกจากจะต้องคอยซื้อบัตรเติมเงินแล้ว ยังอาจจะต้องเสียเงินเพิ่ม เพื่อซื้อบริการเสริม อาทิ ซื้อเหรียญ ซื้อทีม เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้หากเราไม่รู้จักระมัดระวังก็อาจตกเป็นเหยื่อหรือตกเป็นทาสได้โดยไม่รู้ตัว จนทำให้เกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ เช่น ปัญหาหนี้สินหรือความสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

       พระท่านสอนไว้ว่า คนฉลาดต้องรู้จักระมัดระวังตัวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมาร ซึ่งเป็นอำนาจฝ่ายต่ำ ที่สังคมจัดขึ้นมาเพื่อหลอกล่อให้เราหลงใหลอยู่ตลอดเวลา บางครั้งต้องดิ้นรนแสวงหาโดยวิธีการที่ผิด เช่น ทุจริตคดโกง ปล้น จี้ เพื่อหาเงินมาซื้อสิ่งเหล่านั้นไว้สนองความต้องการของตนเอง

       วิธีการที่จะไม่ให้ตกเป็นเหยื่อนั้น ให้ยึดหลัก ๓ ประการ คือ

"นิทานธรรมะสอนใจ : รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา"

นิทานธรรมะ ตอน รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา

นิทานธรรมะสอนใจ 
ประจำวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง "รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา"

     ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกวางอาศัยอยู่ในป่า มีบริวารมากมาย วันหนึ่งกวางผู้เป็นน้องสาวพาลูกมาหาแล้วขอให้ช่วยสอนมายากวางหรือศิลปะในการดำเนินชีวิต

       พระโพธิสัตว์รับปากน้องสาวแล้วกำชับกวางผู้เป็นหลานให้มีความตั้งใจและขยันหมั่นเพียรในการเรียน กวางผู้เป็นหลานปฏิบัติตามที่ลุงบอกทุกประการ เมื่อมีเวลาว่างแม้กวางตัวอื่น ๆ จะวิ่งเล่นซุกซนไปตามเรื่อง แต่ตัวเองจะทบทวนบทเรียนและเอาใจใส่ต่อการเรียนอยู่ตลอดเวลา

       วันหนึ่ง กวางหนุ่มเที่ยวไปในป่าและติดกับดักของนายพราน กวางตัวอื่น ๆ ได้ยินเสียงก็ตกใจพากันวิ่งหนีเข้าป่าและไปบอกให้แม่ของกวางหนุ่มทราบ นางกวางตกใจมากจึงรีบไปหาพี่ชายผู้เป็นครูสอนและอ้อนวอนให้ ไปช่วยกวางหนุ่มผู้เป็นหลาน

       พระโพธิสัตว์พูดปลอบน้องสาวไม่ให้ตกใจเสียขวัญ และยืนยันว่ากวางหนุ่มผู้เป็นศิษย์เป็นผู้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน มีวิชาความรู้อยู่กับตัว จะต้องเอาตัวรอดได้อย่างแน่นอน

       เรื่องก็เป็นจริงอย่างที่พระโพธิสัตว์ว่า กวางหนุ่มได้ใช้อุบายแสร้งทำเหมือนตาย โดยนอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ตะกุยดินและบริเวณรอบ ๆ ให้กระจุยกระจาย ปล่อยอุจจาระและปัสสาวะให้ไหลออกมาเลอะเทอะ หัวฟุบ ลิ้นห้อย กลั้นลมหายใจให้ตัวพอง ตาเหลือก ทำหัวแข็งทื่อ ขณะเดียวกันก็มีพวกแร้งกาบินมาแอบคอยทีอยู่ใกล้ ๆ

       เมื่อนายพรานมาถึงก็ลองใช้นิ้วดีดท้องกวางดู คิดว่ากวางติดกับดักตั้งแต่เช้าจนขึ้นอืดเกือบจะเน่าแล้ว จึงแก้เชือกออก แล้วเดินไปเก็บใบไม้มาปูเพื่อเตรียมชำแหละ

นิทานธรรมะให้คติสอนใจ เรื่อง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี

นิทานธรรมะ เรื่อง รักวัวให้ผู้ก รักลูกให้ตี

รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เป็นนิทานธรรมะให้คติสอนใจ ประจำวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๘ ... มีสำนวนไทยบทหนึ่งว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ความหมายก็คือ ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามไว้ มิฉะนั้นวัวอาจจะถูกขโมยหรือหนีหายไปได้ ส่วนรักลูกให้ตีก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษเมื่อลูกผิดนั่นเอง โดยลูกในที่นี้ หมายถึงลูกที่อยู่ในวัยเด็ก พ่อแม่จึงต้องคอยว่ากล่าวตักเตือน จะปล่อยให้ลูกทำการใด ๆ ตามใจชอบมิได้ ดังนั้น ถ้าจำเป็นจริง ๆ แม้การทำโทษโดยการเฆี่ยนตีเพื่อให้หลาบจำก็เป็นสิ่งที่ใช้ได้ แต่ผู้รู้ให้ถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย โดยเมื่อจะลงมือเฆี่ยนตีนั้นท่านแนะวิธีปฏิบัติไว้ดังนี้

        ๑. อย่าเฆี่ยนตีพร่ำเพรื่อ เพราะเด็กที่โดนเฆี่ยนตีบ่อย ๆ มีแนวโน้มที่จะเกเรและต่อต้านมากยิ่งขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมบางอย่างที่สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องลงไม้ลงมือ เช่น การร้องไห้โวยวาย การปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น ให้ใช้การตักเตือนก็เพียงพอ

       ๒. อย่าเฆี่ยนตีโดยใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกหวาดกลัวและไม่กล้าเข้าใกล้พ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องระมัดระวังอย่าใช้กำลังกับลูกมากเกินไป และควรจะเฆี่ยนตีเมื่อลูกทำผิดซ้ำในเรื่องเดิมทั้ง ๆ ที่พ่อแม่ได้ตักเตือนไปแล้ว จึงจะเป็นการเฆี่ยนตีที่สมเหตุสมผล

        ๓. อย่าเฆี่ยนตีลูกต่อหน้าคนอื่น

"ธรรมะออนไลน์" ตอน คนชอบติ (นิทานธรรมะ)

นิทานธรรมะ

"ธรรมะออนไลน์" ประจำวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง คนชอบติ ... มีเรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่ง จะไปทำธุระในเมือง ระหว่างทางเดินผ่านไร่แตงโม ก็นึกติในใจว่า แตงโมนี้เถาเล็กนิดเดียวแต่ลูกใหญ่โตมโหฬาร ธรรมชาติช่างสร้างอะไรที่ไม่เข้าท่าจริง ๆ พอเดินไปอีก พบมะม่วงต้นใหญ่ จึงเข้าไปอาศัยร่มพักเอาแรง เพียงเริ่มเอนหลังก็เหลือบขึ้นไปเห็นลูกมะม่วง จึงคิดอีกว่า มะม่วงนี้ต้นใหญ่โตมโหฬารแต่กลับมีลูกเท่ากำปั้น ที่เคยคิดว่าผลงานของธรรมชาติไม่ได้เรื่องนั้นไม่ผิดจริง ๆ เวลาผ่านไปครู่เดียวยังไม่ทันม่อยหลับ มะม่วงลูกหนึ่งหล่นลงมากระแทกตรงดั้งจมูกของเขาอย่างพอดิบพอดี เขาเจ็บจนน้ำตาร่วง พอคลายความเจ็บปวด ความคิดหนึ่งก็แวบขึ้นมาว่า ธรรมชาติช่างสร้างอะไรต่ออะไรได้ถูกต้องทุกอย่าง เพราะถ้าสร้างลูกมะม่วงให้ใหญ่เท่าแตงโมเราคงตายไปแล้วแน่ ๆ

"นิทานธรรมะ เรื่อง ห้าอย่า"

นิทานธรรมะให้คติสอนใจ เรื่อง ห้าอย่า

นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง ห้าอย่า ... ทุกวันนี้ มีบางคนปรารถนาอะไร ก็มุ่งจะให้ได้ตามใจปรารถนา และเวลาที่กำหนด บางคนก็สร้างข่าวลือ เพื่อผลทางจิตวิทยา บางคนจะทำอะไร ก็มัวแต่ถือโชคเชื่อลาง บางคนก็เดินทางผิด บางแห่งก็ตัดสิทธิคนดี   เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความสับสน ทั้งในวงการต่างๆ ตลอดถึงสังคมทั่วๆ ไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้สังคมเกิดความสับสน และทุกคนอยู่อย่างมีความสุข จึงขอฝากเรื่องห้าอย่าไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้
       ๑. อย่าเร่งเวลา กิจบางอย่าง เรื่องบางอย่าง ต้องค่อยเป็นค่อยไป รีบร้อนจะเสียการ ดังคำโบราณที่ว่า "ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ" หรือ "ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม " ต้องรู้จักรอจังหวะและคอยโอกาส ดุจผลไม้บ่มแก๊ส
        ๒. อย่าบ้าข่าวลือ ข่าวลือมักเป็นข่าวไม่จริง ลือกันไป ลือกันมาก็เงียบ บางครั้งทั้งคนลือ และคนถูกลือ ได้รับผลกระทบทั้งคู่ เพราะฉะนั้น ข่าวลือจึงเป็นอันตราย อย่าใส่ใจและให้ความสำคัญ วิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด คือ  อย่าสร้างข่าวลือ อย่าเชื่อข่าวลือ และอย่านำไปลือ

"เข้าพรรษา" เข้าอย่างไรจึงได้บุญ

นิทานธรรมะ "วันเข้าพรรษา"

"เข้าพรรษา" เข้าอย่างไรจึงได้บุญ นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘  การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติที่กำหนดให้พระสงฆ์อธิษฐานพรรษา คือตั้งใจว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งโดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นตลอดระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เริ่มนับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันสิ้นสุดของการจำพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์มีเวลาปฏิบัติธรรมและศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
       การเข้าพรรษา แม้จะเป็นประเพณีสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่ชาวพุทธก็พากันถือโอกาสนี้บำเพ็ญกุศลหรือทำความดีเป็นกรณีพิเศษตลอดระยะเวลา ๓ เดือน เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา งดเหล้าหรืออบายมุข เป็นต้น ซึ่งเป็นความตั้งใจที่น่ายกย่อง แต่ความตั้งใจที่ดีนั้นจะสำเร็จได้ต้องมีหลักอธิษฐานธรรม คือเรื่องที่ใจต้องยึดมั่นเอาไว้ให้ได้ก่อนได้แก่

!*! นิทานธรรมะ เรื่อง คิดบวก

ปริศนาธรรมะ ตอน คิดบวก

*นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง คิดบวก ... ในโลกปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่นี้ มนุษย์ทุกคนต้องทำงานและดำรงชีพอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่มากระทบ เป็นผลทำให้เกิดความเครียดขึ้น และความเครียดนี้เอง ที่ส่งผลต่อทั้งความคิด สมอง ร่างกาย และจิตใจของเราทุกด้าน ส่วนใหญ่เป็นผลในแง่ลบ การที่เราสามารถมองโลกในแง่ดี คิดดี ในสภาวะที่มีแต่ความวุ่นวายแบบนี้ จะทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
  การปรับสภาพใจด้วยการมองโลกในแงดีนี้ ก็คือ การคิดเชิงบวกนั่นเอง การคิดเชิงบวก หมายถึง การพยายามหามุมมองที่แตกต่างออกไปจากมุมมองปกติที่เราเคยมองให้เป็นบวก ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตของเราเอง และผู้อื่น ซึ่งตรงกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สอนให้ใช้สติและปัญญาพินิตอย่างรู้เท่าทัน เช่น บางคนเคยคิดว่าทำไมตัวเราต้องทำงานหนักแทบทุกวัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นเขาช่างแสนสบาย ไม่เห็นทำงานหนักเหมือนตัวเราเลย เป็นต้น การคิดในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดการท้อแท้ ถ้าเราเปลี่ยนความคิดเสียใหม่ว่า การที่เราทำงานหนักกว่าคนอื่น แสดงว่า เรามีความสามารถ เป็นคนที่มีคุณค่า ด้วยการทำงานหนักนี้เอง จะช่วยให้เรามีประสบการณ์มากกว่าคนอื่น เพราะเมื่อไรที่เราคิดบวก งานที่ยากก็จะกลายเป็นง่ายไปด้วย เพราะได้กำลังใจที่ดีนั่นเอง
  เราไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางลมได้ แต่เราสามารถปรับใบเรือให้เข้ากับทิศทางลมได้ ดังนั้น

ข้อคิดวันออกพรรษา (ปริศนาธรรมะ)

ข้อคิดวันออกพรรษา (ปริศนาธรรมะ)

ข้อคิดวันออกพรรษา (ปริศนาธรรมะ/นิทานธรรมะ) ประจำวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๘ ... วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดการจำพรรษาตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตามปฏิทินทางจันทรคติ ในวันดังกล่าวพระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า ปวารณากรรม คือ การเปิดโอกาสให้ภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งนี้เพราะในระหว่างพรรษานั้น พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ จึงเป็นวิธีที่จะทำให้รู้ถึงข้อบกพร่องของตน ทั้งนี้ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือนก็ไม่ถือเอามาเป็นเรื่องที่จะทำให้แค้นเคืองกันภายหลัง ทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน ในการทำปวารณากรรมไปพร้อมกันด้วย ดังนั้น จึงเรียกวันสำคัญวันนี้ว่า "วันมหาปวารณา"

นิทานธรรมะ เรื่อง ถอยดีกว่า

นิทานธรรมะสั้นๆ เรื่อง ถอยดีกว่า

"นิทานธรรมะ" เรื่อง ถอยดีกว่า นิทานธรรมะคติสอนใจสั้นๆ ประจำวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๘ ... ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสวงหาหนทางตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาคือทรมานพระวรกายพระองค์เองอย่างหนักเพื่อให้บรรลุพระโพธิญาณตามที่ตั้งพระทัย และทรงพยายามอย่างนั้นเป็นเวลานานถึง ๖ ปี แต่ในที่สุด ก็ทรงทราบว่าการปฏิบัติเช่นนั้นไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ แต่เป็นการเดินผิดทาง จึงทรงถอยกลับหันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต จนได้บรรลุพระโพธิญาณตามที่ทรงมุ่งหวัง ทำให้เกิดประโยชน์แก่ชาวโลกอย่างยิ่งใหญ่มาจนทุกวันนี้

      ในระดับการครองชีวิตของปุถุชนก็มีหลายเรื่องที่ชวนให้คิดว่าเดินถูกทาง บางครั้งก็ด้วยเหตุผลว่าเมื่อทำแล้ว สนุก เพลิดเพลิน ลืมความทุกข์เสียได้ ดูคล้าย ๆ กับว่าเป็นคุณแก่ชีวิต เช่นการหมกมุ่นในอบายมุข ได้แก่ ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการละเล่น เล่นการพนัน ติดพันเพื่อนชั่ว ทำตัวเกียจคร้าน แม้บางครั้งจะรู้ว่าไม่ดี แต่อีกใจหนึ่งก็ยังคิดว่าไม่เป็นไร แค่นิด ๆ หน่อย ๆ เท่านั้น สุดท้ายก็ถลำลึกจนชีวิตตกอับ ครอบครัวล่มสลาย ตัวอย่างเช่นนี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป

นิทานธรรมะ เรื่อง พลังแฝง

นิทานธรรมะคติสอนใจสั้นๆ

นิทานธรรมะ เรื่อง พลังแฝง นิทานธรรมะสั้นๆ ให้คติสอนใจ ประจำวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๘ .... มีการทดลองเกี่ยวกับพลังแฝงที่มีอยู่ในตัวสัตว์ ณ สถานที่แห่งหนึ่ง โดยการเลี้ยงลูกช้างที่เกิดใหม่ ด้วยการตีตรวนขาแล้วล่ามโซ่ไว้กับหลักไม้ตลอดเวลา เมื่อเวลาผ่านไป ลูกช้างได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยถูกพันธนาการให้อยู่กับโซ่ตรวจและหลักที่ปักไว้เป็นเวลานานจนเกิดเป็นความเคยชิน จึงทำให้ช้างไม่สามารถสลัดให้หลุดพ้นแล้วไปไหนมาไหนได้ อยู่มาวันหนึ่งเกิดไฟไหม้ป่าบริเวณใกล้ๆ ช้างตัวดังกล่าวได้ใช้พลังที่มีอยู่สลัดโซ่ตรวนและหลักจนหลุดขาดกระเด็นแล้วหนีเข้าป่าไปได้
  การทดลองดังกล่าว สรุปได้ว่า ช้างมีพลังแฝงอยู่ในตัวของมันเอง แต่เพราะความเคยชินจากการถูกพันธนาการไว้เป็นเวลา จึงไม่สามารถแสดงพลังนั้นออกมาได้ มนุษย์เราก็เช่นเดียวกัน เกิดมาพร้อมกับพลังอันมหาศาล แต่นำออกมาใช้งานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เหลือเป็นจำนวนมากยังคงเป็นพลังแฝงอยู่ภายใน พลังแฝงจึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถนำพลังแฝงออกมาใช้ได้เป็นเพราะมีความเคยชินเป็นกำแพงขวางกั้น มีความคิดในแง่ลบเป็นโซ่ตรวนพันธนาการไว้ ดังนั้น หากใครต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตจึงต้องทลายกำแพงที่ขวางกั้นและโซ่ตรวจที่ผูกมัดพลังแฝงจำนวนมหาศาลในตัวให้ได้ด้วยวิธีการ ๓ วิธี คือ

นิทานธรรมะ เรื่อง เกาผิดที่คัน

นิทานธรรมคติสอนใจ เรื่อง เกาผิดที่คัน

นิทานธรรมะ เรื่อง เกาผิดที่คัน นิทานธรรมะมีคติสอนใจประจำวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง เกาผิดที่คัน... นักศึกษาหญิงคนหนึ่ง เกิดความวิตกกังวลกับการสอบครั้งสำคัญที่จะมีในวันรุ่งขึ้น จึงเข้าไปหาพระสงฆ์รูปหนึ่งที่วัด เพื่อขอให้ท่านสวดมนต์อวยชัยให้พร ให้โชคดีในการสอบ ท่านได้เมตตาช่วยเหลือโดยคิดเพียงว่า เพื่อทำให้เธอคลายกังวลและเกิดความมั่นใจในการสอบ หลังจากวันนั้น นักศึกษาสาวคนนั้นก็ไม่เคยย่างกรายเข้าไปในวัดนั้นอีกเลย ได้ยินแต่คำบอกจากเพื่อนๆ ว่า หลังจากสอบเสร็จ นักศึกษาสาวคนนนั้น เที่ยวโพนทะนาไปทั่วว่า พระวัดนี้ไม่ได้เรื่อง สวดมนต์ก็ไม่ถูกวิธี ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้สอบตก แต่ความจริงแล้ว เพื่อนๆ ของเธอ บอกว่า เธอแทบจะไม่ได้ดูหนังสือเลย ชอบเที่ยวแต่ นี่ต่างหากที่ทำให้สอบตก ท่านผู้รู้จึงเปรียบเทียบเหตุการณ์ดังกล่าวว่า การโทษคนอื่นนั้น เหมือนคนเกิดอาการคันขึ้นที่หลัง แต่ดันไปเกาที่หัว อาการคันจึงไม่หาย เรียกว่า เกาผิดที่คัน

นิทานธรรมะ เรื่อง ต้นไทรกับต้นอ้อ

นิทานธรรมะมีคติสอนใจ เรื่อง ต้นไทรกับต้นอ้อ

นิทานธรรมะ เรื่อง ต้นไทรกับต้นอ้อ นิทานธรรมะมีคติสอนใจ ประจำวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๘ ... มีนิทานเล่าว่า ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งเกิดอยู่ริมแม่น้ำ คืนวันหนึ่ง ฝนตกหนักและพายุพัดอย่างแรง ทำให้ต้นไทรนั้นไม่สามารถต้านได้ จึงหักโค่นลงลอยมาติดตลิ่งใกล้กับต้นอ้อ ส่วนต้นอ้อยังคงยืนต้นเป็นปกติ วันรุ่งขึ้น ต้นไทรเห็นต้นอ้อเป็นปกติดีจึงถามว่า เมื่อคืนนี้ ฝนตกหนักพายุพัดแรงทำให้เราหักโค่นลง ส่วนพวกท่านซึ่งเป็นเพียงต้นไม้เล็ก ๆ แม้จะเทียบกับกิ่งก้านของเราก็ยังไม่ได้ เหตุไฉนจึงยังอยู่เป็นปกติดี หรือว่าพายุไม่ได้พัดมาถึงที่นี่ ต้นอ้อจึงตอบว่า พายุพัดมาถึงที่นี่เหมือนกัน แต่พวกเราเป็นต้นไม้อ่อน เมื่อลมพัดแรงมา เราก็เอนลู่ไปตามลม ปล่อยให้ลมพัดผ่านเราไปเสีย เราจึงไม่หักโค่น ต้นไทรได้ฟังดังนั้นก็นึกว่า ถึงเราเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่ไม่รู้จักโอนอ่อนผ่อนตามแรงลม ตั้งหน้าต้านอยู่อย่างเดียว ลมมีแรงมากกว่าจึงพัดเอาเราโค่นล้มได้ ส่วนต้นอ้อเหล่านี้ถึงเป็นต้นไม้เล็ก ๆ แต่ก็รู้จักโอนอ่อนผ่อนตาม จึงไม่หักโค่นเหมือนต้นไม้ใหญ่เช่นเรา

นิทานธรรมะ เรื่อง วจีประสาน (การพูดเพื่อประสานความเข้าใจ ประสานความสามัคคี)


นิทานธรรมะสั้นๆ ประจำวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง วจีประสาน ...
             ในครั้งพุทธกาล หลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ บรรดาผู้นำแคว้นต่าง ๆ ในประเทศอินเดียยุคนั้นถึงขั้นยกกำลังเข้าประจันหน้ากันเพื่อจะทำสงครามแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เพราะเจ้าผู้ครองกรุงกุสินารา ซึ่งเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงไม่ยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แคว้นอื่น ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อโทณะ ได้กล่าววจีประสานขึ้นต่อหน้าผู้แทนแคว้นเหล่านั้นใจความว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งแห่งเราทั้งหลาย พระองค์เป็นขันติวาท ทรงยกย่องความอดทนอดกลั้นว่าเป็นตบะอย่างยอด การที่พวกเราจะปรารภพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์เป็นเหตุ แล้วประหัตประหารกันเสียเองหาควรไม่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เราทั้งปวงจงพรักพร้อมกันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วน ให้เสมอกันทุกพระนคร พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจะได้แพร่หลายไปทั่วทุกทิศ สถิตเป็นประโยชน์สุขแก่มหาชนส่วนใหญ่ สมดังพุทธจริยาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ด้วยวาทะแห่งโทณพราหมณ์ทำให้แคว้นต่าง ๆ ยอมหันหน้ามาเจรจากัน ยินยอมแบ่งพระบรมสารีริกธาตุด้วยความความเต็มใจ ยุติเหตุแห่งไฟสงครามได้อย่างเด็ดขาด

นิทานธรรมะ เรื่อง ต้นกล้วย


นิทานธรรมะ ประจำวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง ต้นกล้วย ... ตามลักษณะทางพฤษศาสตร์ กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากมาย เกี่ยวพันกับชีวิตและวัฒนธรรมของสังคมไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งประโยชน์ของต้นกล้วยก็มีมากมาย เช่น ผลสุก ใช้บดเป็นอาหารสำหรับเด็กแรกเกิด ใช้ทำขนมกล้วยบวชชี กล้วยแขก กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม กล้วยทอด ส่วนหัวปลี นำมาทอดมันหัวปลี ต้มข่าไก่ใส่หัวปลี ก้านกล้วย นำมาทำเชือกกล้วยไว้รัดของ รัดฟอนข้าว และเป็นของเล่นของเด็กในสมัยก่อน ใบกล้วย หรือที่เรียกกันติดปากว่า ใบตอง ใช้ห่ออาหารคาวหวาน ทำงานฝีมือ จำพวกบายศรี กระทง เป็นต้น ลำต้น ใช้เป็นอาหารสัตว์ ส่วนของลำต้นที่เรียกว่า หยวกอ่อนใช้ทำอาหาร และงานฝีมือต่างๆ ใช้ทำกระทง และราก เป็นยาสมุนไพรแก้อาการท้องเสียได้
  สำหรับแง่คิดทางธรรม กล้วยยังให้ข้อคิดที่เป็นปริศนาธรรมสามารถน้อมนำมาเป็นคติธรรมสอนใจได้ หลายประการ คือ

{นิทานธรรมะ เรื่อง หม้อดินใบร้าว}


นิทานธรรมะ เรื่อง หม้อดินใบร้าว โดยนิทานธรรมะบล็อก นำเสนอนิทานธรรมะสั้นๆ แต่มีปริศนาธรรมแฝงไว้ ให้ข้อคิดธรรมะ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไมว่าจะอ่านเป็นนิทานก่อนนอน นิทานสำหรับเด็กก็ได้ เพราะนี่คือ "นิทานธรรมะ  ประจำวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๘ เรื่อง หม้อดินใบร้าว" ... 
   ชาวชาวอินเดียคนหนึ่ง ช่วงสองปีที่ผ่านมา ผู้คนจะพบจนชินตาว่า บนบ่าของเขามีหม้อดินใบใหญ่วางอยู่ข้างละใบ หม้อดินใบหนึ่งมีรอยร้าว ขณะที่อีกใบสมบูรณ์สวยงาม ไร้ที่ติ หม้อใบสวยสามารถบรรจุน้ำได้เต็มเปี่ยม จากลำธารจนถึงบ้านเจ้านาย ขณะที่อีกใบหนึ่งนั้น เมื่อมาถึงปลายทางกลับเหลือน้ำแค่ครึ่งเดียว เท่ากับว่า ชายผู้นี้ขนน้ำได้เที่ยวละหม้อครึ่งอยู่ทุกครั้ง หม้อดินใบสวยรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ครบถ้วน ส่วนหม้อดินใบร้าว นอกจากอดไม่ได้ที่จะรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจในความไม่สมประกอบของตนเองแล้ว ยังรู้สึกผิดกับการทำหน้าที่ได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกด้วย
  หลังจากสองปีเต็ม ที่แบกความทุกข์ระทมขมขื่นเอาไว้ วันหนึ่ง หม้อดินใบร้าวจึงตัดสินใจเอ่ยกับคนหาบน้ำว่า
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...

ธรรมะเรื่องล่าสุด

Recent Posts Widget